ที่มา คัดจากนิตยสารสารคดี ปีที่ 12 ฉบับที่ 140 ประจำเดือนตุลาคม 2539 หน้า 90-112 เขียนโดย สุวภา แก้วสุช
*********************************************************************************
ผมได้อ่านงานเขียนที่บันทึกเหตุการณ์ที่ผ่านมาเมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว เห็นเป็นบันทึกที่มีรายละเอียดค่อนข้างชัดเจน ทำให้ผมซึ่งเป็นวัยรุ่นในขณะนั้น กำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ สงขลา ได้รำลึกถึงอดีตได้ค่อนข้างอย่างชัดเจน จึงอยากให้พวกเราได้อ่านดู ว่าน่าตื่นเต้นขนาดไหน สำหรับคนที่มีอายุอยู่ในช่วงนั้น และบางท่านที่มีการกล่าวถึงในบันทึกนี้ก็กลายมาเป็นผู้ใหญ่ในภาคการเมืองของไทยในปัจจุบัน
รายละเอียดย้อนอดีต เหตุการณ์ 6 ตุลา 19ความหอมหวานแห่งชัยชนะ
ก่อนจะกล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 คงเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องกล่าวโยงไปถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นักศึกษาประชาชนไทยได้แสดง “พลังประชาชนและประชาธิปไตย”
อันเป็นพลังที่ส่งผลให้ทิศทางการเมืองและสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว ผู้นำเผด็จการ 3 คนซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าในประเทศขณะนั้นคือ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด จอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกฯ รัฐมนตรีมหาดไทย ผู้บัญชาการทหารบก และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายจอมพลถนอมและบุตรเขยจอมพลประภาส ต้องเดินทางออกจากประเทศไทย
ชัยชนะของขบวนการนักศึกษาและประชาชนที่สามารถโค่นรัฐบาลเผด็จการให้พ้นจากอำนาจได้ ทำให้บรรยากาศการเมืองไทยเปลี่ยนจาก “ยุคมืดของเผด็จการ” เป็น “ยุคทอง” ของการต่อสู้เพื่อเอกราช ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม ความตื่นตัวในสิทธิประชาธิปไตยขยายตัวอย่างรวดเร็วจากห้องเรียนในสถานศึกษา สู่โรงงานและท้องไร่ท้องนารวมทั้งตามถนนหนทางทั่วไป
ช่วงนั้นขบวนการนักศึกษาได้รับความชื่นชมยกย่องจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งคาดหวังว่าเมื่อสามารถกำจัดผู้นำเผด็จการให้พ้นจากอำนาจได้แล้ว สังคมไทยควรเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชนิดถอนรากถอนโคน โดยมองข้ามความจริงที่ว่า แม้ผู้นำเผด็จการจะถูกกำจัดไปแล้ว แต่แกนโครงสร้างทางอำนาจของเผด็จการยังคงอยู่ เพียงถอยฉากไปฟักตัวรอเวลาเหมาะสมที่จะเติบโตขึ้นมาอีก
เรื่องนี้มีผู้เปรียบอำนาจการปกครองระบอบเผด็จการของเมืองไทยขณะนั้นว่า เหมือนตึกที่มีรากฐานมั่นคง เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เป็นเพียงพายุใหญ่ที่พัดกระเบื้อง 3 แผ่นหลุดปลิวไปเท่านั้นเมื่อขับไล่ผู้ปกครองกลุ่มเก่าไป ก็จะมีผู้ปกครองกลุ่มใหม่เข้ามาช่วงชิงดอกผลจากการต่อสู้ของนิสิตนักศึกษาประชาชนโดยพยายามทุกวิถีทางที่จะฟื้นอำนาจเผด็จการอย่างเก่าขึ้นมาอีก
ความจริงเรื่องนี้เองที่ทำให้สังคมไทยในเวลาต่อมาแบ่งแยกออกเป็นสองขั้ว (มีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น ฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับฝ่ายก้าวหน้า ฝ่ายขวากับฝ่ายซ้าย ฯลฯ) อันทำให้เกิดข้อขัดแย้งมากมายในสังคมไทย และเป็นประเด็นให้เกิดความรุนแรงอย่างที่สุดในอีก 3 ปีต่อมา
หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 คลี่คลายลงขบวนการนักศึกษามีบทบาทเป็นแกนกลางเชื่อมประสานการต่อสู้ของกรรมกรและชาวนาไทยเข้าด้วยกัน รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม
เพื่อฉายภาพสังคมช่วงนั้นให้เห็นชัดเจนขึ้น จึงขอนำข้อมูลจากบทความเรื่อง “ใครก่อเหตุการณ์ 6 ตุลา” โดย ศรพรหม วาศสุรางค์ ในหนังสือ “อย่าเป็นเพียงตำนาน” ของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเสนอดังนี้
ช่วง 2 เดือนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 นั้น กรรมกรนัดหยุดงานเพิ่มมากขึ้นกว่า 300 ครั้ง และในปีถัดมากระแสการนัดหยุดงานก็พุ่งสูงขึ้นมากกว่า 700 ครั้ง ถึงขนาดสามารถกล่าวได้ว่า ขบวนการกรรมกรกว่าร้อยละ 80 เคยนัดหยุดงานในช่วงเวลาดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น ปัญหาการนัดหยุดงานของกรรมกรเกิดจากสภาพความบีบคั้นแร้นแค้นที่สะสมมานานจนเกิดแรงระเบิดขึ้นในระยะดังกล่าว ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องขอเพิ่มค่าจ้างและสวัสดิการ รวมทั้งหลักประกันในการทำงาน จนกระทั่งปี 2517 กรรมกรก็ชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง สามารถเรียกร้องให้รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ออกประกาศกำหนดค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศได้สำเร็จ และนำไปสู่การออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานในปีถัดมา กระแสการเคลื่อนไหวของกรรมกรที่ถี่ขึ้น ได้นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพแรงงานในวิสาหกิจต่างๆ แล้วเติบโตขยายตัวก่อตั้งองค์กรกลางสหภาพแรงงาน และองค์การสภาลูกจ้างแรงงานในที่สุด
ส่วนการเคลื่อนไหวของชาวนาชาวไร่ในชนบทนั้น หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ชาวนาชาวไร่ผู้ประสบความเดือดร้อนมาช้านานได้รวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาชาวนา ตั้งแต่ปี2517 จนถึงเดือนพฤษภาคม ชาวนาจำนวนมากได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องหนี้สินและปัญหาการครอบครองที่ดิน ปลายเดือนมิถุนายน 2517 ชาวนาได้จัดชุมนุมใหญ่เป็นครั้งแรกที่ท้องสนามหลวง และชุมนุมกันอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ในที่สุดก็มีการก่อตั้งองค์กรของชาวนาขึ้นอย่างเป็นทางการในชื่อ “สหพันธ์ชาวนาชาวไร่”
การเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่เป็นธรรมในสังคมของกลุ่มผู้ทุกข์ยากในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ได้พัฒนาไปพร้อมกับอุดมการณ์สังคมนิยมที่แพร่หลายอยู่ในเวลานั้น โดยเฉพาะแนวคิดสังคมนิยมแบบจีนนั้นได้รับการเผยแพร่อย่างมาก เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาสมัย 14 ตุลา 16 กล่าวยอมรับว่าสังคมไทยเริ่มแยกออกเป็นสองขั้วตั้งแต่ประมาณกลางปี 2517 เป็นต้นมา
ขั้วหนึ่งคือกลุ่มปฏิรูป ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษา ครูอาจารย์ นักหนังสือพิมพ์ กรรมกร และชาวนา กลุ่มขั้วนี้ต้องการความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสถาบันทางการเมือง รูปแบบวิธีการเก็บภาษี เรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน นโยบายต่างประเทศ และสัมพันธภาพของข้าราชการกับชาวบ้าน
อีกขั้วหนึ่งคือกลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอำนาจเก่าอย่างทหาร ชนชั้นสูงบางกลุ่ม ชนชั้นกลางบางพวก ชาวบ้านบางส่วน และนักเรียนอาชีวะส่วนหนึ่ง กลุ่มขั้วนี้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการ เป็นสิ่งที่สังคมไทยรับไม่ได้
เหตุที่สังคมไทยเริ่มแบ่งเป็นสองขั้วสองฝ่ายนั้น มีสาเหตุมาจากปัญหาของประเทศที่หาทางออกไม่ได้
ฝ่ายขบวนการนักศึกษาจึงเริ่มหันมาพิจารณาว่าอุดมการณ์สังคมนิยมอาจเป็นทางออกของสังคมไทย
ในระยะนั้นแนวความคิดที่เรียกร้องให้นักศึกษาประสานกับกรรมกรชาวนาเพื่อ “รับใช้ประชาชน” เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป นอกจากนั้นในเรื่องของศิลปะ ดนตรี วรรณกรรม และละคร ต่างก็ปวารณาตัวเข้า “รับใช้ประชาชน” ด้วยกันทั้งสิ้น ในวงการหนังสือ มีการพิมพ์หนังสือต้องห้ามเช่น โฉมหน้าศักดินาไทย , กงจักรปีศาจ รวมถึงผลงานของฝ่ายสังคมนิยม เช่น สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตง การปฏิวัติเลนิน ฯลฯ ออกเผยแพร่อย่างคึกคัก ทั้งที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลเผด็จการเคยสั่งห้ามพิมพ์เผยแพร่
ท่ามกลางสภาพที่ก่อให้เกิดความสั่นคลอนและหวาดเกรงจะสูญเสียผลประโยชน์ในหมู่ผู้มีอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ แทนที่คนกลุ่มนี้จะหันมาแก้ปัญหาสังคมเศรษฐกิจและการเมืองให้เกิดความเป็นธรรมต่อคนหมู่มาก หรือหันมาร่วมมือสร้างประเทศไทยให้มีเอกราชและเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ตรงกันข้ามคนกลุ่มดังกล่าวซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยมกลับเพ่งเล็งว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาประชาชนได้สร้างความวุ่นวายให้สังคม และมองการเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่เป็นธรรมว่า เป็นการกระทำของคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีวิธีการจัดการเพียงวิธีเดียว คือ ต้องใช้ความรุนแรงเข้าทำลาย
ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2517 เป็นต้นมา กลุ่มอำนาจเก่าที่เสียขวัญคราวเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ก็ฟื้นตัวและเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านพลังของนักศึกษาประชาชน
โดยแยกสลายพลังนักเรียนอาชีวะออกจากขบวนการนักศึกษา แล้วจัดตั้งกลุ่มกระทิงแดงเพื่อคอยก่อกวนขบวนการนักศึกษา ในปี 2518 เกิดกลุ่มนวพล ปี 2519 เกิดชมรมวิทยุเสรี ชมรมแม่บ้าน ฯลฯ ตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา
นักศึกษาและประชาชนเริ่มถูกฝ่ายตรงกันข้ามใช้ความรุนแรงตอบโต้ เช่น
ผู้นำชาวนาที่ทำงานในสหพันธ์ชาวนาชาวไร่กว่า 30 คนถูกสังหาร เมื่อล่วงเข้าปี 2519
การสังหารทางการเมืองยิ่งเกิดขึ้นอย่างเปิดเผย ตั้งแต่การสังหารอมเรศ ไชยสะอาด ฝ่ายการเงินของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สังหาร ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้หันมาเล่นการเมือง โดยเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
ตลอดจนการขว้างระเบิดใส่นักศึกษาประชาชนที่เดินขบวนต่อต้านฐานทัพอเมริกาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2519 เป็นต้น เหตุฆาตกรรมแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับตัวคนร้ายมาลงโทษได้
ส่วนความเคลื่อนไหวด้านการเมืองนั้น หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว
รัฐบาลนายสัญญาได้ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชนที่เดินขบวนในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปลายปี 2517 พร้อมทั้งกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 26 มกราคม 2518 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์โดยการนำของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้รับเลือกมากที่สุด 72 ที่นั่ง แต่ไม่ได้เสียงข้างมากในสภา ม.ร.ว.เสนีย์จึงจัดตั้งรัฐบาลผสม
แต่ม.ร.ว.เสนีย์เป็นนายกฯ ได้เพียง 18 วัน รัฐบาลก็ไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาฯ ในวันแถลงนโยบาย เก้าอี้นายกรัฐมนตรีจึงตกอยู่กับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แห่งพรรคกิจสังคม ซึ่งมีที่นั่งในสภาฯ เพียง 18 ที่นั่งเท่านั้น
รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บริหารประเทศด้วยการใช้นโยบายให้ผู้มีรายได้น้อยขึ้นรถเมล์ฟรีและรักษาพยาบาลฟรี มุ่งให้คนมีงานทำทั่วถึงภายใน 5 ปี โครงการเงินผัน 2,500 ล้านบาท และให้ทหารสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากประเทศไทยภายในเวลา 1 ปี ในส่วนสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านนั้น ในเดือนพฤษภาคม 2518 ข่าวการปลดปล่อยอินโดจีนด้วยชัยชนะของคอมมิวนิสต์ได้เขย่าขวัญรัฐบาลและชนชั้นปกครองของไทย ความกลัวและเกลียดคอมมิวนิสต์ในหมู่คนไทยเป็นไปอย่างแผ่กว้างและลึกซึ้ง
รัฐบาลของม.ร.ว.คึกฤทธิ์เดินทางไปกรุงปักกิ่งเพื่อเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลจีนเป็นครั้งแรกนับแต่จีนเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้รับการต้อนรับจากนายเติ้งเสี่ยวผิงอย่างดียิ่ง นายกรัฐมนตรีของไทยได้เข้าพบและสนทนากับประธานเหมาเจ๋อตงนานกว่า 1 ชั่วโมง จนนายแพทย์จีนต้องขอยุติการสนทนา
บรรยากาศในเมืองไทยนั้น ฝ่ายอำนาจเก่าได้โฆษณาชวนเชื่อว่า พวกอื่นที่ไม่ใช่พวกของตน เป็นพวกที่ต้องการต่อต้านและล้มล้างสถาบันกษัตริย์ หรือ “ไม่ใช่คนไทย” ในขณะเดียวกันก็ปรากฏ “ขบวนการขวาพิฆาตซ้าย” ผู้นำนักศึกษา ชาวนา ชาวไร่ และกรรมกรหลายคนถูกลอบสังหาร
ในช่วงเดือนสิงหาคมได้เกิดเหตุทหารพรานบุกบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
เดือนมกราคม 2519 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ประกาศยุบสภา โดยอ้างว่าถูก ส.ส.กดดันมาก
การเลือกตั้งทั่วไปถูกกำหนดขึ้นในวันที่ 4 เมษายน 2519 ซึ่งนับเป็นการเลือกตั้งที่มีความรุนแรงมาก
ชั่วเวลา 3 เดือนที่หาเสียงเลือกตั้ง มีการฆ่ากันตายถึงกว่า 30 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
บ่อยครั้งที่การปราศรัยหาเสียงถูกขัดจังหวะด้วยลูกระเบิด พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายถูกโจมตีมากที่สุด
หัวคะแนนของพรรคฝ่ายก้าวหน้าถูกลอบฆ่าตายในเขตนอกเมือง
ที่ทำการของพรรคพลังใหม่ซึ่งเป็นพรรคที่ต้องการปฏิรูปถูกวางระเบิด
และเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญผู้คนมากเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519 เมื่อคนร้ายลอบสังหาร ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน
ผลการเลือกตั้งวันที่ 4 เมษายน 2519 พลิกความคาดหมาย เพราะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ผู้ประกาศยุบสภาเพื่อหวังเพิ่มที่นั่งของพรรคกิจสังคม กลับไม่ได้รับเลือกตั้ง พรรคที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุดคือพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช มีโอกาสได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง นักวิชาการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองช่วงนี้ว่า ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งได้แสดงความเป็นอนุรักษนิยมตามประเพณีดั้งเดิม และพอใจในความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าความเปลี่ยนแปลงที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์และพรรคการเมืองฝ่ายขวาอื่นๆ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง
ในขณะที่พรรคฝ่ายซ้ายพ่ายแพ้อย่างหมดรูป โดยที่นั่งของพรรคสังคมนิยม 2 พรรคและพรรคพลังใหม่ ลดลงจาก 37 ที่นั่งเหลือเพียง 6 ที่นั่ง หรือจากร้อยละ 15 มาเป็นร้อยละ 2 ของจำนวนที่นั่งทั้งหมดในสภา
การแตกแยกทางความคิด
มิถุนายน 2519
นายสุธรรม แสงประทุม ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.)
บุคคลผู้นี้ในอีกไม่นานนักได้กลายเป็น 1 ใน 19 นักโทษการเมืองคดี 6 ตุลา
สุธรรมได้บันทึกสถานการณ์บ้านเมืองขณะนั้นไว้ในหนังสือ “ผมผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคมมาได้อย่างไร?” ว่า
ช่วงต้นปี 2519 ก่อนเขาได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
สถานการณ์ทุกอย่างกำลังก้าวไปสู่ความเลวร้ายทุกขณะ
จากการก่อกวนสร้างสถานการณ์ของกลุ่มบุคคลที่ต้องการจะนำระบอบเผด็จการมากดหัวประชาชนไทยอีกครั้งหนึ่ง
27 มิ.ย.
กิตติวุฒโฑภิกขุให้สัมภาษณ์หนังสือจตุรัสว่า การฆ่าพวกซ้ายหรือพวกคอมมิวนิสต์ไม่บาป โดยให้เหตุผลว่า
ใครก็ตามที่ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือว่าเป็นมาร มิใช่มนุษย์
ดังนั้นการฆ่าคอมมิวนิสต์จึงไม่บาป แต่เป็นการฆ่ามาร ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องทำ
การฆ่านั้นหากเป็นการฆ่าเพื่อประเทศชาติแล้ว
แม้จะเป็นบาปแต่ก็ได้บุญในแง่ของการปกป้องประเทศจากศัตรูมากกว่าจะได้บาป
กิตติวุฒโฑเปรียบเทียบการฆ่านี้ว่าเหมือนการฆ่าปลาถวายพระ การฆ่าปลาเป็นบาป
แต่การนำปลานั้นมาตักบาตรถวายพระ ถือว่าเป็นบุญมากกว่า
กรกฎาคม 2519
2 ก.ค.
กลุ่มกระทิงแดงและสหพันธ์นักศึกษาครูแห่งประเทศไทย
จัดนิทรรศการต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่หน้าตึกที่ทำการของศูนย์นิสิตฯ กล่าวหาศูนย์นิสิตฯ
ว่าตกเป็นเครื่องมือของคอมมิวนิสต์
ในวันเดียวกันที่ท้องสนามหลวง ศูนย์นิสิตฯ จัดอภิปรายเรื่องปัญหาข้าวสารแพง
ระหว่างนั้นกลุ่มกระทิงแดงเข้าก่อกวนด้วยการปาอิฐ หิน และไม้ ขึ้นไปบนเวที นายสุธรรม แสงประทุม
พูดบนเวทีว่า การมาชุมนุมของกรรมการ ศนท.ชุดนี้อาจจะเป็นชุดสุดท้าย แต่เราพร้อมยืนตายคาเวทีการต่อสู้
สิงหาคม 2519
15 ส.ค.
เวลา 17.45 น. มีรายงานข่าวจากกองตรวจคนเข้าเมืองว่า มีบุคคลใช้ชื่อในหนังสือเดินทางว่า พี. จารุเสถียร
เดินทางเข้าประเทศโดยสายการบินไชน่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ CI 819 จากไทเป
หลังจากนั้นมีรถเก๋งคันหนึ่งเข้าไปรับโดยไม่ได้ผ่านขั้นตอนของกองตรวจคนเข้าเมือง
ภายหลังทราบว่าเป็นจอมพลประภาส จารุเสถียร
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จอมพลประภาส จารุเสถียร กลับเข้าเมืองไทยจริง
แต่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน กำลังให้ตำรวจสันติบาลสืบหาตัวอยู่
18.30 น. พ.ท.อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ออกรายการวิทยุยานเกราะ
เรียกร้องให้จอมพลประภาสมอบตัวเพื่อสู้คดีในศาล และเตือนให้ประชาชนระวังการสร้างสถานการณ์จากฝ่ายซ้าย
รวมทั้งรัฐบาลต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างยุติธรรม
จะปล่อยให้นักศึกษาประชาชนใช้วิธีศาลประชาชนไม่ได้เด็ดขาด
17 ส.ค.
16.00 น. ศนท.ร่วมกับแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จัดชุมนุมใหญ่ที่ท้องสนามหลวง
เพื่อขับไล่จอมพลประภาส ในตอนค่ำ ตัวแทนผู้ชุมนุมเข้าพบนายกฯ
เพื่อสอบถามท่าทีของรัฐบาลในการจัดการปัญหา
19 ส.ค.
01.00 น. รัฐบาลออกแถลงการณ์มีใจความว่า ตามที่จอมพลประภาสได้ลักลอบเข้าประเทศไทย รัฐบาลได้ส่งผู้แทนคือ
พล.อ.ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา และ พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ ไปเจรจากับจอมพลประภาส จอมพลประภาสกล่าวว่า
เข้าเมืองไทยมาเพื่อรักษาโรคต้อหินและโรคหัวใจโต
ก่อนหน้านี้พยายามรักษาที่กรุงไทเปแล้วแต่อาการทรุดลงเรื่อยๆ จึงขอกลับมารักษาที่ประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีความประสงค์ที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ด้วย
ช่วงเช้าที่บริเวณลานโพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการชุมนุมประท้วงจอมพลประภาส เวลา 11.30 น.
นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ผู้หนึ่งนำญาติวีรชนและผู้ร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เข้าแจ้งความที่ สน.ชนะสงคราม
ให้ดำเนินการกับจอมพลประภาส 2 ข้อหา คือ เป็นผู้บงการฆ่าคนตาย และกระทำผิดต่อหน้าที่
ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้โมหะจริต
20-21 ส.ค.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายเป็นศูนย์รวมการชุมนุมต่อต้านกรณีจอมพลประภาสกลับเข้าประเทศไทย
กลุ่มกระทิงแดงและสหพันธ์นักศึกษาครูแห่งประเทศไทยก่อเหตุวุ่นวายโดยขว้างระเบิดขวดและระเบิดพลาสติกเข้าใ
ส่ที่ชุมนุม
22 ส.ค.
จอมพลประภาสเดินทางออกจากประเทศไทยเวลา 14.23 น. โดยเครื่องบินพิเศษจากท่าอากาศยานกองทัพอากาศ
ไปยังสถานพำนัก ณ กรุงไทเป การชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงสลายตัว
กันยายน 2519
19 ก.ย.
จอมพลถนอม กิตติขจร บรรพชาเป็นสามเณรที่สิงคโปร์ แล้วเดินทางเข้าประเทศไทย หลังจากนั้น พล.ต.ต.นิยม
กาญจนวัฒน์ ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมือง นำสามเณรถนอมนั่งรถเบนซ์ตรงไปยังวัดบวรฯ
มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยตลอดทาง พล.ต.ต.นิยมกล่าวว่า
การเดินทางเข้ามาของสามเณรถนอมในครั้งนี้ได้แจ้งให้รัฐบาลทราบทุกระยะ
ส่วนจอมพลถนอมจะพำนักอยู่ในประเทศไทยนานเท่าใดยังไม่ทราบแน่นอน
12.00 น. จอมพลถนอมเสร็จสิ้นพิธีอุปสมบท ได้รับฉายา สุกิตติขจโรภิกขุ
ที่ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการ ศนท. จัดประชุมกลุ่มพลังต่างๆ 165
กลุ่ม ได้ผลวิเคราะห์ว่า กรณีจอมพลถนอมเดินทางเข้าประเทศไทยเป็นเกมที่ละเอียดซับซ้อน
เพราะใช้ศาสนาประจำชาติเป็นเครื่องบังหน้า ดังนั้น
ศนท.จึงต้องสุขุมและให้โอกาสแก่รัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจแก้ปัญหาก่อน ในที่ประชุมมีการตั้งข้อสังเกตกันมาก
คือ
1.การเข้ามาครั้งนี้เป็นแผนการของกลุ่มบุคคลที่ต้องการทำรัฐประหาร
2.ก่อนเข้ามามีการเตรียมตัวกันอย่างพร้อมเพรียง บุคคลในคณะรัฐบาลไปรับถึงสนามบิน
และให้บวชได้ที่วัดบวรฯ
3.จอมพลถนอมใช้ศาสนาเป็นเครื่องบังหน้า ทำให้ศาสนาต้องมัวหมอง
ขณะที่ทาง ศนท.รอดูท่าทีของฝ่ายรัฐบาล ได้เกิดกระแสโจมตีการเคลื่อนไหวของ ศนท.อย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะสถานีวิทยุยานเกราะ ถึงกับมีการเรียกร้องให้รัฐบาลฆ่าประชาชนสัก 30,000 คนเพื่อคนจำนวน 43
ล้านคน
20 ก.ย.
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เสนอให้ออกกฎหมายพิเศษขับพระถนอม/
ทหารออกประกาศว่าจะไม่เข้าไปยุ่งและไม่มีการปฏิวัติ/ พระกิตติวุฒโฑกล่าวว่านักศึกษาต้องการขับไล่พระ
มีแต่คอมมิวนิสต์เท่านั้นที่ไล่พระ/ สถานีวิทยุยานเกราะและหนังสือพิมพ์ดาวสยามออกข่าวโจมตี ศนท.
และไม่ให้ประชาชนไปร่วมชุมนุมกับ ศนท.
21 ก.ย.
กลุ่มกระทิงแดงปาระเบิดใส่บริษัททัวร์ ที เอส ที ซึ่งสถานีวิทยุยานเกราะออกข่าวว่าบริษัทดังกล่าวเป็นของศนท.
23 ก.ย.
13.10 น. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ประกาศลาออกกลางสภา เพราะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองได้
และรัฐบาลไม่อาจเสนอกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตราที่ 47
ซึ่งบัญญัติว่าจะเนรเทศบุคคลที่มีสัญชาติไทยไม่ได้
สถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศให้ตำรวจจับกุมนักศึกษาที่ออกติดโปสเตอร์ประท้วงกรณีพระถนอม
24 ก.ย.
01.00 น. บุคคลกลุ่มหนึ่งประมาณ 20 คน นั่งรถจี๊ปและรถสองแถวมุ่งหน้าไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ด้านท่าพระจันทร์ ทำลายป้ายที่ปิดประกาศขับไล่พระถนอม
นิสิตจุฬาฯ ถูกชายฉกรรจ์ประมาณ 20
คนรุมทำร้ายขณะออกไปติดโปสเตอร์ต่อต้านพระถนอมที่บริเวณป้ายรถเมล์หน้าหอพักจุฬาฯ เป็นผลให้นายเสถียร
สุนทรจำเนียร ถูกตีที่ศีรษะและถูกแทงที่ลำตัวจนบาดเจ็บสาหัส ส่วนนิสิตอีก 2 คนถูกทำร้ายและรูดทรัพย์
08.00 น. ร.ต.ท.วัชรา คีรีรัตน์ ร้อยเวรสถานีตำรวจภูธรนครปฐม ได้รับแจ้งว่าพบศพชาย 2
คนถูกแขวนคอที่ประตูทางเข้าที่ดินจัดสรร บริเวณบ้านหมู่ 2 ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม
หลังจากชันสูตรพลิกศพแล้วพบว่าทั้งสองคือ นายชุมพร ทุมไมย และนายวิชัย เกษศรีพงษา
อดีตนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำงานอยู่ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตนครปฐม
เป็นสมาชิกแนวร่วมประชาชนนครปฐม สภาพศพมีรอยมัดที่มือ ที่คอมีรอยมัดแขวนด้วยเชือกไนล่อน
แพทย์ชันสูตรพบว่าตายมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง ผลการสืบสวนพบว่า
ก่อนตายบุคคลทั้งสองกำลังติดโปสเตอร์ประท้วงต่อต้านพระถนอม
แต่ตำรวจบิดเบือนคดีว่าเป็นเพราะสาเหตุผิดใจกับที่ทำงาน (ในวันที่ 6 ต.ค. ตำรวจ 5
คนถูกจับในข้อหาสมคบฆ่าแขวนคอช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐม แต่ต่อมาก็ถูกปล่อยตัวไปอย่างเงียบๆ)
26 ก.ย.
กิตติวุฒโฑภิกขุและนายวัฒนา เขียววิมล (กลุ่มนวพล) ไปเยี่ยมพระถนอมที่วัดบวรฯ เวลา 22.30 น.
อ้างว่ามาสนทนาธรรม และว่าการเข้ามาบวชของพระถนอมนั้นบริสุทธิ์
27 ก.ย.
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำรวจเปิดเผยผลการชันสูตรพลิกศพช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐมว่า
ทั้งสองถูกทำร้ายรัดคอให้ตายเสียก่อน แล้วจึงนำศพมาแขวนคอ
15.00 น. ศนท.และกลุ่มพลังต่างๆ จัดชุมนุมที่ท้องสนามหลวงอย่างสงบตามสิทธิแห่งรัฐธรรมนูญ
มีประชาชนนับหมื่นคนเข้าร่วม โดยเรียกร้องให้จัดการให้พระถนอมเดินทางออกนอกประเทศและจับกุมฆาตกรสังหาร 2
ช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐมโดยด่วน ขณะดำเนินการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมนายบดินทร์ เอี่ยมศิลา
สมาชิกกลุ่มกระทิงแดงได้ที่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า พบระเบิด ที.เอ็น.ที.ที่ร้ายแรงขนาดทำลายตึกใหญ่ได้
จึงคุมตัวไว้ดำเนินคดี
ศนท.ส่งคนไปเจรจากับนายกฯ แต่เลขานุการนายกฯ ไม่ให้เข้าพบ เวลาสามทุ่มเศษ
นายสุธรรมและคณะจึงกลับมาที่สนามหลวงเพื่อบอกกับที่ชุมนุมว่าผิดหวังมาก และว่าจะสู้ต่อไป โดย
ศนท.จะให้เวลารัฐบาลตัดสินใจถึงเที่ยงวันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม
ถ้ารัฐบาลไม่ตัดสินใจแก้ปัญหาก็จะเคลื่อนไหวทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดพร้อมกัน ที่ชุมนุมสลายตัวเมื่อเวลา 21.45 น.
กลุ่มกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้านจำนวนหนึ่งอ้างตัวเข้าอารักขาพระถนอมที่วัดบวรฯ
ที่สงขลามีการชุมนุมต่อต้านพระถนอม ส่วนที่หาดใหญ่มีผู้นำงูพิษมาปล่อยกลางที่ชุมนุม
และยิงปืนใส่ที่ชุมนุมก่อนสลายตัว
30 ก.ย.
ตัวแทนกลุ่มต่อต้าน ศนท. 13 กลุ่ม อันประกอบด้วย ขบวนการปฏิรูปแห่งชาติ สหพันธ์นักศึกษาครูแห่งประเทศไทย
ชมรมอาชีวะอิสระ สหพันธ์ครูอาชีวะ กลุ่มกรรมกรเสรี กลุ่มค้างคาวไทย กลุ่มวิหคสายฟ้า (19) กลุ่มเพชรไทย
กลุ่มพิทักษ์ไทย กลุ่มสหภาพแรงงานเอกชน สภาคณาจารย์มหาวิทยาลัย และองค์การประชาชนแห่งประเทศไทย
ร่วมกันแถลงว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ศนท. สภาแรงงานแห่งประเทศไทย และนักการเมืองฝ่ายซ้าย
ได้ถือเอากรณีพระถนอมเป็นการก่อความไม่สงบขึ้นในประเทศ ถึงขั้นทำลายวัดบวรนิเวศฯ และล้มล้างรัฐบาล
ทางกลุ่มจึงมีมติว่าจะร่วมกันป้องกันรักษาวัดบวรฯ ทุกวิถีทาง และหากมีการล้มล้างรัฐบาล
ทางกลุ่มจะวางตัวเป็นกลาง
นายสมศักดิ์ ขวัญมงคล หัวหน้ากลุ่มกระทิงแดง กล่าวว่าหากมีการเดินขบวนมายังวัดบวรฯ
ทางกลุ่มกระทิงแดงจะอารักขาวัดบวรฯ มิใช่อารักขาพระถนอม และขอให้ ศนท.ยุติการเคลื่อนไหวเสีย
และให้อยู่ในขอบเขต หากจะชุมนุมให้อยู่ที่สนามหลวงหรือธรรมศาสตร์ อย่าเดินขบวนเป็นอันขาด
นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการ ศนท. กล่าวว่า ศูนย์นิสิตฯ
จะกระทำทุกอย่างเพื่อต่อต้านเผด็จการเพื่อคนทั้งประเทศ การที่กลุ่มกระทิงแดงจะต่อต้านขัดขวางศูนย์ฯ นั้น
ถือได้ว่ากลุ่มกระทิงแดงเป็นเครื่องมือของเผด็จการ คอยรับใช้และปกป้องเผด็จการ
ตุลาคม 2519
2 ต.ค.
นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการ ศนท. พร้อมตัวแทนของกลุ่มต่างๆ จำนวน 10 คน เข้าพบนายกฯ
เพื่อขอคำตอบเกี่ยวกับพระถนอม ภายหลังการเข้าพบ นายสุธรรมแถลงว่า นายกฯ
ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะให้พระถนอมออกนอกประเทศเมื่อไร ดังนั้นกลุ่มพลังต่างๆ จะเคลื่อนไหวต่อไป
โดยจะขยายวงออกไปอย่างกว้างขวาง และจะเรียกชุมนุมประชาชนที่ท้องสนามหลวงวันที่ 4 ต.ค.
ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล กลุ่มนักเรียนนักศึกษาและประชาชนประมาณ 400 คน เดินทางไปให้กำลังใจญาติวีรชน 14
ตุลา 16 ที่อดอาหารประท้วงพระถนอม ปรากฏว่ามีกลุ่มผู้ต่อต้านประมาณ 20
คนใช้เครื่องขยายเสียงโจมตีแล้วขับรถผ่านไป ส่วนผู้มาให้กำลังใจยืนไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์
14 ตุลา 16 แล้วสลายตัว
ที่เชียงใหม่ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หยุดเรียนและเดินขบวนไปชุมนุมที่สนามท่าแพ
และออกแถลงการณ์ให้รัฐบาลแก้ไขกรณีพระถนอมโดยเร่งด่วน
ที่นครปฐม แนวร่วมประชาชนนครปฐมออกแถลงการณ์โจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าบิดเบือนคดีการสังหาร 2
ช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐม ทั้งๆ
ที่หลักฐานจากพยานหลายปากยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจนำบุคคลทั้งสองไปซ้อมที่สถานีตำรวจภูธรนครปฐม
โดยมีนายตำรวจระดับสารวัตรร่วมด้วย จึงขอให้รัฐบาลเร่งจับกุมฆาตกรมาดำเนินคดีโดยเร็วที่สุด
นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หยุดสอบประท้วง
3 ต.ค.
ฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศยืนยันให้นักศึกษาเข้าสอบไล่ภาคที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2519 หากผู้ใดไม่เข้าสอบถือว่าขาดสอบ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หน้า 4 คอลัมน์ “ไต้ฝุ่น” เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า “ไต้ฝุ่น” มีข้อความว่า
“หากเมืองไทยจะมีนายกรัฐมนตรีใหม่อีก ทำนายทายทักกันได้ว่าจะไม่ใช่คนในสกุลปราโมชอีกแล้ว
อาจจะเป็นหนึ่งในสามของคนวัย 52 เล็งกันไว้จากสภาปฏิรูป ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ เกษม จาติกวณิช
หรือประภาศน์ อวยชัย คนนี้ซินแสดูโหงวเฮ้งแล้วบอกว่าฮ้อ” (ข้อความจากคอลัมน์นี้ โดยเฉพาะการใช้คำว่า
“สภาปฏิรูป” ซึ่งเป็นคำที่คณะผู้ก่อการยึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในเย็นวันที่ 6 ตุลา 19
ใช้แทนคำว่า “คณะปฏิวัติ” ทำให้หลายฝ่ายเพ่งเล็งมากว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ไม่ใช่อุบัติเหตุทางการเมืองไทย แต่เป็นเหตุการณ์ที่ถูกวางแผนไว้ล่วงหน้าให้เกิดความวุ่นวาย เพื่อที่คณะปฏิรูปฯ จะเข้ายึดอำนาจควบคุมความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เกี่ยวกับข้อเพ่งเล็งนี้ นายชวน หลีกภัยเคยนำไปปราศรัยว่า “…พี่น้องครับ ผมทบทวนถ้อยคำให้ท่านฟังอีกครั้งหนึ่ง“เล็งกันไว้จากสภาปฏิรูปฯ” หนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม ซึ่งนักเขียนจะเขียนกันได้ก็ไม่เกินประมาณวันที่ 2 แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปนั้นได้มีการเตรียมกันมาแล้ว และข่าวนี้ได้รั่วไหลมาสู่หนังสือพิมพ์ นักหนังสือพิมพ์บางคนถึงได้เขียนคำว่าสภาปฏิรูป และมีการคาดหมายว่าคนที่จะมาเป็นนายกฯ นั้นเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา แต่เขาไม่ได้พูดถึงอาจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร เขาพูดถึงอาจารย์ประภาศน์ อวยชัย นี่หมายความว่าอย่างไร หมายความว่าเหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคมนั้น สภาปฏิรูปได้เตรียมการที่จะปฏิรูปแล้ว ได้มีการรวมกลุ่มกันแล้วและความลับอันนี้ได้รั่วไหลมาสู่ปากหูของหนังสือพิมพ์ จึงได้มีการเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา…”
11.40 น. ญาติวีรชนที่อดข้าวประท้วงรัฐบาลกรณีพระถนอมมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลา
ได้ย้ายสถานที่ประท้วงจากหน้าทำเนียบรัฐบาลเข้าไปอยู่ในลานโพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนื่องจากไม่ได้รับความสะดวกและถูกก่อกวนจากกลุ่มต่างๆ
4 ต.ค.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงเช้ามีการสอบวิชาภาษาไทยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคณะ
แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ยอมเข้าห้องสอบ กลับรวมตัวชุมนุมกันที่ลานโพประมาณ 500 คน
มีการอภิปรายกรณีพระถนอม และการฆาตกรรมช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐม
ช่วงเที่ยงชุมนุมนาฏศิลป์และการละครแสดงละครล้อเลียนเหตุกา
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นายช่างใหญ่
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/169055 ที่มา คัดจากนิตยสารสารคดี ปีที่ 12 ฉบับที่ 140 ประจำเดือนตุลาคม 2539 หน้า 90-112 เขียนโดย สุวภา แก้วสุช
ผมได้อ่านงานเขียนที่บันทึกเหตุการณ์ที่ผ่านมาเมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว เห็นเป็นบันทึกที่มีรายละเอียดค่อนข้างชัดเจน ทำให้ผมซึ่งเป็นวัยรุ่นในขณะนั้น กำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ สงขลา ได้รำลึกถึงอดีตได้ค่อนข้างอย่างชัดเจน จึงอยากให้พวกเราได้อ่านดู ว่าน่าตื่นเต้นขนาดไหน สำหรับคนที่มีอายุอยู่ในช่วงนั้น และบางท่านที่มีการกล่าวถึงในบันทึกนี้ก็กลายมาเป็นผู้ใหญ่ในภาคการเมืองของไทยในปัจจุบัน
รายละเอียด ย้อนอดีต เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ความหอมหวานแห่งชัยชนะ
ก่อนจะกล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 คงเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องกล่าวโยงไปถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นักศึกษาประชาชนไทยได้แสดง “พลังประชาชนและประชาธิปไตย”
อันเป็นพลังที่ส่งผลให้ทิศทางการเมืองและสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว ผู้นำเผด็จการ 3 คนซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าในประเทศขณะนั้นคือ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด จอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกฯ รัฐมนตรีมหาดไทย ผู้บัญชาการทหารบก และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายจอมพลถนอมและบุตรเขยจอมพลประภาส ต้องเดินทางออกจากประเทศไทย
ชัยชนะของขบวนการนักศึกษาและประชาชนที่สามารถโค่นรัฐบาลเผด็จการให้พ้นจากอำนาจได้ ทำให้บรรยากาศการเมืองไทยเปลี่ยนจาก “ยุคมืดของเผด็จการ” เป็น “ยุคทอง” ของการต่อสู้เพื่อเอกราช ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม ความตื่นตัวในสิทธิประชาธิปไตยขยายตัวอย่างรวดเร็วจากห้องเรียนในสถานศึกษา สู่โรงงานและท้องไร่ท้องนารวมทั้งตามถนนหนทางทั่วไป
ช่วงนั้นขบวนการนักศึกษาได้รับความชื่นชมยกย่องจากคนส่วนใหญ่ซึ่งคาดหวังว่าเมื่อสามารถกำจัดผู้นำเผด็จการให้พ้นจากอำนาจได้แล้วสังคมไทยควรเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชนิดถอนรากถอนโคน โดยมองข้ามความจริงที่ว่า แม้ผู้นำเผด็จการจะถูกกำจัดไปแล้ว แต่แกนโครงสร้างทางอำนาจของเผด็จการยังคงอยู่ เพียงถอยฉากไปฟักตัวรอเวลาเหมาะสมที่จะเติบโตขึ้นมาอีก
เรื่องนี้มีผู้เปรียบอำนาจการปกครองระบอบเผด็จการของเมืองไทยขณะนั้นว่า เหมือนตึกที่มีรากฐานมั่นคง เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เป็นเพียงพายุใหญ่ที่พัดกระเบื้อง 3 แผ่นหลุดปลิวไปเท่านั้น
เมื่อขับไล่ผู้ปกครองกลุ่มเก่าไป ก็จะมีผู้ปกครองกลุ่มใหม่เข้ามาช่วงชิงดอกผลจากการต่อสู้ของนิสิตนักศึกษาประชาชน
โดยพยายามทุกวิถีทางที่จะฟื้นอำนาจเผด็จการอย่างเก่าขึ้นมาอีก
ความจริงเรื่องนี้เองที่ทำให้สังคมไทยในเวลาต่อมาแบ่งแยกออกเป็นสองขั้ว (มีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น ฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับฝ่ายก้าวหน้า ฝ่ายขวากับฝ่ายซ้าย ฯลฯ) อันทำให้เกิดข้อขัดแย้งมากมายในสังคมไทย และเป็นประเด็นให้เกิดความรุนแรงอย่างที่สุดในอีก 3 ปีต่อมา
หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 คลี่คลายลงขบวนการนักศึกษามีบทบาทเป็นแกนกลางเชื่อมประสานการต่อสู้ของกรรมกรและชาวนาไทยเข้าด้วยกัน รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม
เพื่อฉายภาพสังคมช่วงนั้นให้เห็นชัดเจนขึ้น จึงขอนำข้อมูลจากบทความเรื่อง “ใครก่อเหตุการณ์ 6 ตุลา” โดย ศรพรหม วาศสุรางค์ ในหนังสือ “อย่าเป็นเพียงตำนาน” ของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเสนอดังนี้
ช่วง 2 เดือนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 นั้น กรรมกรนัดหยุดงานเพิ่มมากขึ้นกว่า 300 ครั้ง และในปีถัดมากระแสการนัดหยุดงานก็พุ่งสูงขึ้นมากกว่า 700 ครั้ง ถึงขนาดสามารถกล่าวได้ว่า ขบวนการกรรมกรกว่าร้อยละ 80 เคยนัดหยุดงานในช่วงเวลาดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น
ปัญหาการนัดหยุดงานของกรรมกรเกิดจากสภาพความบีบคั้นแร้นแค้นที่สะสมมานานจนเกิดแรงระเบิดขึ้นในระยะดังกล่าว ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องขอเพิ่มค่าจ้างและสวัสดิการ รวมทั้งหลักประกันในการทำงาน จนกระทั่งปี 2517
กรรมกรก็ชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง สามารถเรียกร้องให้รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ออกประกาศกำหนดค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศได้สำเร็จ และนำไปสู่การออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานในปีถัดมา
กระแสการเคลื่อนไหวของกรรมกรที่ถี่ขึ้น ได้นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพแรงงานในวิสาหกิจต่างๆ แล้วเติบโตขยายตัวก่อตั้งองค์กรกลางสหภาพแรงงาน และองค์การสภาลูกจ้างแรงงานในที่สุด
ส่วนการเคลื่อนไหวของชาวนาชาวไร่ในชนบทนั้น หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16ชาวนาชาวไร่ผู้ประสบความเดือดร้อนมาช้านานได้รวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาชาวนา ตั้งแต่ปี2517 จนถึงเดือนพฤษภาคม ชาวนาจำนวนมากได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องหนี้สินและปัญหาการครอบครองที่ดิน ปลายเดือนมิถุนายน 2517 ชาวนาได้จัดชุมนุมใหญ่เป็นครั้งแรกที่ท้องสนามหลวง และชุมนุมกันอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ในที่สุดก็มีการก่อตั้งองค์กรของชาวนาขึ้นอย่างเป็นทางการในชื่อ “สหพันธ์ชาวนาชาวไร่”
การเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่เป็นธรรมในสังคมของกลุ่มผู้ทุกข์ยากในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ได้พัฒนาไปพร้อมกับอุดมการณ์สังคมนิยมที่แพร่หลายอยู่ในเวลานั้น โดยเฉพาะแนวคิดสังคมนิยมแบบจีนนั้นได้รับการเผยแพร่อย่างมาก เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาสมัย 14 ตุลา 16 กล่าวยอมรับว่าสังคมไทยเริ่มแยกออกเป็นสองขั้วตั้งแต่ประมาณกลางปี 2517 เป็นต้นมา
ขั้วหนึ่งคือกลุ่มปฏิรูป ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษา ครูอาจารย์ นักหนังสือพิมพ์ กรรมกร และชาวนา กลุ่มขั้วนี้ต้องการความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสถาบันทางการเมือง รูปแบบวิธีการเก็บภาษี เรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน นโยบายต่างประเทศ และสัมพันธภาพของข้าราชการกับชาวบ้าน
อีกขั้วหนึ่งคือกลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอำนาจเก่าอย่างทหาร ชนชั้นสูงบางกลุ่ม ชนชั้นกลางบางพวก ชาวบ้านบางส่วน และนักเรียนอาชีวะส่วนหนึ่ง กลุ่มขั้วนี้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการ เป็นสิ่งที่สังคมไทยรับไม่ได้
เหตุที่สังคมไทยเริ่มแบ่งเป็นสองขั้วสองฝ่ายนั้น มีสาเหตุมาจากปัญหาของประเทศที่หาทางออกไม่ได้
ฝ่ายขบวนการนักศึกษาจึงเริ่มหันมาพิจารณาว่าอุดมการณ์สังคมนิยมอาจเป็นทางออกของสังคมไทย
ในระยะนั้นแนวความคิดที่เรียกร้องให้นักศึกษาประสานกับกรรมกรชาวนาเพื่อ “รับใช้ประชาชน” เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป นอกจากนั้นในเรื่องของศิลปะ ดนตรี วรรณกรรม และละคร ต่างก็ปวารณาตัวเข้า “รับใช้ประชาชน” ด้วยกันทั้งสิ้น ในวงการหนังสือ มีการพิมพ์หนังสือต้องห้ามเช่น โฉมหน้าศักดินาไทย
กงจักรปีศาจ รวมถึงผลงานของฝ่ายสังคมนิยม เช่น สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตง การปฏิวัติเลนิน ฯลฯ ออกเผยแพร่อย่างคึกคัก ทั้งที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลเผด็จการเคยสั่งห้ามพิมพ์เผยแพร่
ท่ามกลางสภาพที่ก่อให้เกิดความสั่นคลอนและหวาดเกรงจะสูญเสียผลประโยชน์ในหมู่ผู้มีอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ แทนที่คนกลุ่มนี้จะหันมาแก้ปัญหาสังคมเศรษฐกิจและการเมืองให้เกิดความเป็นธรรมต่อคนหมู่มาก
หรือหันมาร่วมมือสร้างประเทศไทยให้มีเอกราชและเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตรงกันข้าม
คนกลุ่มดังกล่าวซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยมกลับเพ่งเล็งว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาประชาชนได้สร้างความวุ่นวายให้สังคม และมองการเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่เป็นธรรมว่า เป็นการกระทำของคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีวิธีการจัดการเพียงวิธีเดียว คือ ต้องใช้ความรุนแรงเข้าทำลาย
ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2517 เป็นต้นมา กลุ่มอำนาจเก่าที่เสียขวัญคราวเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ก็ฟื้นตัวและเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านพลังของนักศึกษาประชาชน
โดยแยกสลายพลังนักเรียนอาชีวะออกจากขบวนการนักศึกษา แล้วจัดตั้งกลุ่มกระทิงแดงเพื่อคอยก่อกวนขบวนการนักศึกษา ในปี 2518 เกิดกลุ่มนวพล ปี 2519 เกิดชมรมวิทยุเสรี ชมรมแม่บ้าน ฯลฯ ตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา นักศึกษาและประชาชนเริ่มถูกฝ่ายตรงกันข้ามใช้ความรุนแรงตอบโต้ เช่น
ผู้นำชาวนาที่ทำงานในสหพันธ์ชาวนาชาวไร่กว่า 30 คนถูกสังหาร เมื่อล่วงเข้าปี 2519
การสังหารทางการเมืองยิ่งเกิดขึ้นอย่างเปิดเผย ตั้งแต่การสังหารอมเรศ ไชยสะอาด ฝ่ายการเงินของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สังหาร ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้หันมาเล่นการเมือง โดยเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
ตลอดจนการขว้างระเบิดใส่นักศึกษาประชาชนที่เดินขบวนต่อต้านฐานทัพอเมริกาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2519 เป็นต้น เหตุฆาตกรรมแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับตัวคนร้ายมาลงโทษได้
ส่วนความเคลื่อนไหวด้านการเมืองนั้น หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว รัฐบาลนายสัญญาได้ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชนที่เดินขบวนในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปลายปี 2517 พร้อมทั้งกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 26 มกราคม 2518 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์โดยการนำของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้รับเลือกมากที่สุด 72 ที่นั่ง แต่ไม่ได้เสียงข้างมากในสภา ม.ร.ว.เสนีย์จึงจัดตั้งรัฐบาลผสม แต่ม.ร.ว.เสนีย์เป็นนายกฯ ได้เพียง 18 วัน รัฐบาลก็ไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาฯ ในวันแถลงนโยบาย เก้าอี้นายกรัฐมนตรีจึงตกอยู่กับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แห่งพรรคกิจสังคม ซึ่งมีที่นั่งในสภาฯ เพียง 18 ที่นั่งเท่านั้น
รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บริหารประเทศด้วยการใช้นโยบายให้ผู้มีรายได้น้อยขึ้นรถเมล์ฟรีและรักษาพยาบาลฟรี มุ่งให้คนมีงานทำทั่วถึงภายใน 5 ปี โครงการเงินผัน 2,500 ล้านบาท และให้ทหารสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากประเทศไทยภายในเวลา 1 ปี ในส่วนสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านนั้น ในเดือนพฤษภาคม 2518 ข่าวการปลดปล่อยอินโดจีนด้วยชัยชนะของคอมมิวนิสต์ได้เขย่าขวัญรัฐบาลและชนชั้นปกครองของไทย ความกลัวและเกลียดคอมมิวนิสต์ในหมู่คนไทยเป็นไปอย่างแผ่กว้างและลึกซึ้ง
รัฐบาลของม.ร.ว.คึกฤทธิ์เดินทางไปกรุงปักกิ่งเพื่อเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลจีนเป็นครั้งแรกนับแต่จีนเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้รับการต้อนรับจากนายเติ้งเสี่ยวผิงอย่างดียิ่ง นายกรัฐมนตรีของไทยได้เข้าพบและสนทนากับประธานเหมาเจ๋อตงนานกว่า 1 ชั่วโมง จนนายแพทย์จีนต้องขอยุติการสนทนา
บรรยากาศในเมืองไทยนั้น ฝ่ายอำนาจเก่าได้โฆษณาชวนเชื่อว่า พวกอื่นที่ไม่ใช่พวกของตน เป็นพวกที่ต้องการต่อต้านและล้มล้างสถาบันกษัตริย์ หรือ “ไม่ใช่คนไทย” ในขณะเดียวกันก็ปรากฏ “ขบวนการขวาพิฆาตซ้าย” ผู้นำนักศึกษา ชาวนา ชาวไร่ และกรรมกรหลายคนถูกลอบสังหาร
ในช่วงเดือนสิงหาคมได้เกิดเหตุทหารพรานบุกบ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
เดือนมกราคม 2519 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ประกาศยุบสภา โดยอ้างว่าถูก ส.ส.กดดันมาก
การเลือกตั้งทั่วไปถูกกำหนดขึ้นในวันที่ 4 เมษายน 2519 ซึ่งนับเป็นการเลือกตั้งที่มีความรุนแรงมาก
ชั่วเวลา 3 เดือนที่หาเสียงเลือกตั้ง มีการฆ่ากันตายถึงกว่า 30 ศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
บ่อยครั้งที่การปราศรัยหาเสียงถูกขัดจังหวะด้วยลูกระเบิด พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายถูกโจมตีมากที่สุด
หัวคะแนนของพรรคฝ่ายก้าวหน้าถูกลอบฆ่าตายในเขตนอกเมือง
ที่ทำการของพรรคพลังใหม่ซึ่งเป็นพรรคที่ต้องการปฏิรูปถูกวางระเบิด
และเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญผู้คนมากเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519 เมื่อคนร้ายลอบสังหาร ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน
ผลการเลือกตั้งวันที่ 4 เมษายน 2519 พลิกความคาดหมาย เพราะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ผู้ประกาศยุบสภาเพื่อหวังเพิ่มที่นั่งของพรรคกิจสังคม กลับไม่ได้รับเลือกตั้ง พรรคที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุดคือพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช มีโอกาสได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง นักวิชาการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองช่วงนี้ว่า ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งได้แสดงความเป็นอนุรักษนิยมตามประเพณีดั้งเดิม และพอใจในความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าความเปลี่ยนแปลงที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์และพรรคการเมืองฝ่ายขวาอื่นๆ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง
ในขณะที่พรรคฝ่ายซ้ายพ่ายแพ้อย่างหมดรูป โดยที่นั่งของพรรคสังคมนิยม 2 พรรคและพรรคพลังใหม่ ลดลงจาก 37 ที่นั่งเหลือเพียง 6 ที่นั่ง หรือจากร้อยละ 15 มาเป็นร้อยละ 2 ของจำนวนที่นั่งทั้งหมดในสภา
การแตกแยกทางความคิด
มิถุนายน 2519
นายสุธรรม แสงประทุม ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.)
บุคคลผู้นี้ในอีกไม่นานนักได้กลายเป็น 1 ใน 19 นักโทษการเมืองคดี 6 ตุลา
สุธรรมได้บันทึกสถานการณ์บ้านเมืองขณะนั้นไว้ในหนังสือ “ผมผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคมมาได้อย่างไร?” ว่า
ช่วงต้นปี 2519 ก่อนเขาได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
สถานการณ์ทุกอย่างกำลังก้าวไปสู่ความเลวร้ายทุกขณะ
จากการก่อกวนสร้างสถานการณ์ของกลุ่มบุคคลที่ต้องการจะนำระบอบเผด็จการมากดหัวประชาชนไทยอีกครั้งหนึ่ง
27 มิ.ย.
กิตติวุฒโฑภิกขุให้สัมภาษณ์หนังสือจตุรัสว่า การฆ่าพวกซ้ายหรือพวกคอมมิวนิสต์ไม่บาป โดยให้เหตุผลว่า
ใครก็ตามที่ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือว่าเป็นมาร มิใช่มนุษย์
ดังนั้นการฆ่าคอมมิวนิสต์จึงไม่บาป แต่เป็นการฆ่ามาร ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่ของคนไทยที่จะต้องทำ
การฆ่านั้นหากเป็นการฆ่าเพื่อประเทศชาติแล้ว
แม้จะเป็นบาปแต่ก็ได้บุญในแง่ของการปกป้องประเทศจากศัตรูมากกว่าจะได้บาป
กิตติวุฒโฑเปรียบเทียบการฆ่านี้ว่าเหมือนการฆ่าปลาถวายพระ การฆ่าปลาเป็นบาป
แต่การนำปลานั้นมาตักบาตรถวายพระ ถือว่าเป็นบุญมากกว่า
กรกฎาคม 2519
2 ก.ค.
กลุ่มกระทิงแดงและสหพันธ์นักศึกษาครูแห่งประเทศไทย
จัดนิทรรศการต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่หน้าตึกที่ทำการของศูนย์นิสิตฯ กล่าวหาศูนย์นิสิตฯ
ว่าตกเป็นเครื่องมือของคอมมิวนิสต์
ในวันเดียวกันที่ท้องสนามหลวง ศูนย์นิสิตฯ จัดอภิปรายเรื่องปัญหาข้าวสารแพง
ระหว่างนั้นกลุ่มกระทิงแดงเข้าก่อกวนด้วยการปาอิฐ หิน และไม้ ขึ้นไปบนเวที นายสุธรรม แสงประทุม
พูดบนเวทีว่า การมาชุมนุมของกรรมการ ศนท.ชุดนี้อาจจะเป็นชุดสุดท้าย แต่เราพร้อมยืนตายคาเวทีการต่อสู้
สิงหาคม 2519
15 ส.ค.
เวลา 17.45 น. มีรายงานข่าวจากกองตรวจคนเข้าเมืองว่า มีบุคคลใช้ชื่อในหนังสือเดินทางว่า พี. จารุเสถียร
เดินทางเข้าประเทศโดยสายการบินไชน่าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ CI 819 จากไทเป
หลังจากนั้นมีรถเก๋งคันหนึ่งเข้าไปรับโดยไม่ได้ผ่านขั้นตอนของกองตรวจคนเข้าเมือง
ภายหลังทราบว่าเป็นจอมพลประภาส จารุเสถียร
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จอมพลประภาส จารุเสถียร กลับเข้าเมืองไทยจริง
แต่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน กำลังให้ตำรวจสันติบาลสืบหาตัวอยู่
18.30 น. พ.ท.อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ออกรายการวิทยุยานเกราะ
เรียกร้องให้จอมพลประภาสมอบตัวเพื่อสู้คดีในศาล และเตือนให้ประชาชนระวังการสร้างสถานการณ์จากฝ่ายซ้าย
รวมทั้งรัฐบาลต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างยุติธรรม
จะปล่อยให้นักศึกษาประชาชนใช้วิธีศาลประชาชนไม่ได้เด็ดขาด
17 ส.ค.
16.00 น. ศนท.ร่วมกับแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จัดชุมนุมใหญ่ที่ท้องสนามหลวง
เพื่อขับไล่จอมพลประภาส ในตอนค่ำ ตัวแทนผู้ชุมนุมเข้าพบนายกฯ
เพื่อสอบถามท่าทีของรัฐบาลในการจัดการปัญหา
19 ส.ค.
01.00 น. รัฐบาลออกแถลงการณ์มีใจความว่า ตามที่จอมพลประภาสได้ลักลอบเข้าประเทศไทย รัฐบาลได้ส่งผู้แทนคือ
พล.อ.ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา และ พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ ไปเจรจากับจอมพลประภาส จอมพลประภาสกล่าวว่า
เข้าเมืองไทยมาเพื่อรักษาโรคต้อหินและโรคหัวใจโต
ก่อนหน้านี้พยายามรักษาที่กรุงไทเปแล้วแต่อาการทรุดลงเรื่อยๆ จึงขอกลับมารักษาที่ประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีความประสงค์ที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ด้วย
ช่วงเช้าที่บริเวณลานโพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการชุมนุมประท้วงจอมพลประภาส เวลา 11.30 น.
นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ผู้หนึ่งนำญาติวีรชนและผู้ร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 เข้าแจ้งความที่ สน.ชนะสงคราม
ให้ดำเนินการกับจอมพลประภาส 2 ข้อหา คือ เป็นผู้บงการฆ่าคนตาย และกระทำผิดต่อหน้าที่
ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้โมหะจริต
20-21 ส.ค.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายเป็นศูนย์รวมการชุมนุมต่อต้านกรณีจอมพลประภาสกลับเข้าประเทศไทย
กลุ่มกระทิงแดงและสหพันธ์นักศึกษาครูแห่งประเทศไทยก่อเหตุวุ่นวายโดยขว้างระเบิดขวดและระเบิดพลาสติกเข้าใ
ส่ที่ชุมนุม
22 ส.ค.
จอมพลประภาสเดินทางออกจากประเทศไทยเวลา 14.23 น. โดยเครื่องบินพิเศษจากท่าอากาศยานกองทัพอากาศ
ไปยังสถานพำนัก ณ กรุงไทเป การชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงสลายตัว
กันยายน 2519
19 ก.ย.
จอมพลถนอม กิตติขจร บรรพชาเป็นสามเณรที่สิงคโปร์ แล้วเดินทางเข้าประเทศไทย หลังจากนั้น พล.ต.ต.นิยม
กาญจนวัฒน์ ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมือง นำสามเณรถนอมนั่งรถเบนซ์ตรงไปยังวัดบวรฯ
มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยตลอดทาง พล.ต.ต.นิยมกล่าวว่า
การเดินทางเข้ามาของสามเณรถนอมในครั้งนี้ได้แจ้งให้รัฐบาลทราบทุกระยะ
ส่วนจอมพลถนอมจะพำนักอยู่ในประเทศไทยนานเท่าใดยังไม่ทราบแน่นอน
12.00 น. จอมพลถนอมเสร็จสิ้นพิธีอุปสมบท ได้รับฉายา สุกิตติขจโรภิกขุ
ที่ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการ ศนท. จัดประชุมกลุ่มพลังต่างๆ 165
กลุ่ม ได้ผลวิเคราะห์ว่า กรณีจอมพลถนอมเดินทางเข้าประเทศไทยเป็นเกมที่ละเอียดซับซ้อน
เพราะใช้ศาสนาประจำชาติเป็นเครื่องบังหน้า ดังนั้น
ศนท.จึงต้องสุขุมและให้โอกาสแก่รัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจแก้ปัญหาก่อน ในที่ประชุมมีการตั้งข้อสังเกตกันมาก
คือ
1.การเข้ามาครั้งนี้เป็นแผนการของกลุ่มบุคคลที่ต้องการทำรัฐประหาร
2.ก่อนเข้ามามีการเตรียมตัวกันอย่างพร้อมเพรียง บุคคลในคณะรัฐบาลไปรับถึงสนามบิน
และให้บวชได้ที่วัดบวรฯ
3.จอมพลถนอมใช้ศาสนาเป็นเครื่องบังหน้า ทำให้ศาสนาต้องมัวหมอง
ขณะที่ทาง ศนท.รอดูท่าทีของฝ่ายรัฐบาล ได้เกิดกระแสโจมตีการเคลื่อนไหวของ ศนท.อย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะสถานีวิทยุยานเกราะ ถึงกับมีการเรียกร้องให้รัฐบาลฆ่าประชาชนสัก 30,000 คนเพื่อคนจำนวน 43
ล้านคน
20 ก.ย.
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เสนอให้ออกกฎหมายพิเศษขับพระถนอม/
ทหารออกประกาศว่าจะไม่เข้าไปยุ่งและไม่มีการปฏิวัติ/ พระกิตติวุฒโฑกล่าวว่านักศึกษาต้องการขับไล่พระ
มีแต่คอมมิวนิสต์เท่านั้นที่ไล่พระ/ สถานีวิทยุยานเกราะและหนังสือพิมพ์ดาวสยามออกข่าวโจมตี ศนท.
และไม่ให้ประชาชนไปร่วมชุมนุมกับ ศนท.
21 ก.ย.
กลุ่มกระทิงแดงปาระเบิดใส่บริษัททัวร์ ที เอส ที ซึ่งสถานีวิทยุยานเกราะออกข่าวว่าบริษัทดังกล่าวเป็นของศนท.
23 ก.ย.
13.10 น. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ประกาศลาออกกลางสภา เพราะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองได้
และรัฐบาลไม่อาจเสนอกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตราที่ 47
ซึ่งบัญญัติว่าจะเนรเทศบุคคลที่มีสัญชาติไทยไม่ได้
สถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศให้ตำรวจจับกุมนักศึกษาที่ออกติดโปสเตอร์ประท้วงกรณีพระถนอม
24 ก.ย.
01.00 น. บุคคลกลุ่มหนึ่งประมาณ 20 คน นั่งรถจี๊ปและรถสองแถวมุ่งหน้าไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ด้านท่าพระจันทร์ ทำลายป้ายที่ปิดประกาศขับไล่พระถนอม
นิสิตจุฬาฯ ถูกชายฉกรรจ์ประมาณ 20
คนรุมทำร้ายขณะออกไปติดโปสเตอร์ต่อต้านพระถนอมที่บริเวณป้ายรถเมล์หน้าหอพักจุฬาฯ เป็นผลให้นายเสถียร
สุนทรจำเนียร ถูกตีที่ศีรษะและถูกแทงที่ลำตัวจนบาดเจ็บสาหัส ส่วนนิสิตอีก 2 คนถูกทำร้ายและรูดทรัพย์
08.00 น. ร.ต.ท.วัชรา คีรีรัตน์ ร้อยเวรสถานีตำรวจภูธรนครปฐม ได้รับแจ้งว่าพบศพชาย 2
คนถูกแขวนคอที่ประตูทางเข้าที่ดินจัดสรร บริเวณบ้านหมู่ 2 ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม
หลังจากชันสูตรพลิกศพแล้วพบว่าทั้งสองคือ นายชุมพร ทุมไมย และนายวิชัย เกษศรีพงษา
อดีตนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำงานอยู่ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตนครปฐม
เป็นสมาชิกแนวร่วมประชาชนนครปฐม สภาพศพมีรอยมัดที่มือ ที่คอมีรอยมัดแขวนด้วยเชือกไนล่อน
แพทย์ชันสูตรพบว่าตายมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง ผลการสืบสวนพบว่า
ก่อนตายบุคคลทั้งสองกำลังติดโปสเตอร์ประท้วงต่อต้านพระถนอม
แต่ตำรวจบิดเบือนคดีว่าเป็นเพราะสาเหตุผิดใจกับที่ทำงาน (ในวันที่ 6 ต.ค. ตำรวจ 5
คนถูกจับในข้อหาสมคบฆ่าแขวนคอช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐม แต่ต่อมาก็ถูกปล่อยตัวไปอย่างเงียบๆ)
26 ก.ย.
กิตติวุฒโฑภิกขุและนายวัฒนา เขียววิมล (กลุ่มนวพล) ไปเยี่ยมพระถนอมที่วัดบวรฯ เวลา 22.30 น.
อ้างว่ามาสนทนาธรรม และว่าการเข้ามาบวชของพระถนอมนั้นบริสุทธิ์
27 ก.ย.
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำรวจเปิดเผยผลการชันสูตรพลิกศพช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐมว่า
ทั้งสองถูกทำร้ายรัดคอให้ตายเสียก่อน แล้วจึงนำศพมาแขวนคอ
15.00 น. ศนท.และกลุ่มพลังต่างๆ จัดชุมนุมที่ท้องสนามหลวงอย่างสงบตามสิทธิแห่งรัฐธรรมนูญ
มีประชาชนนับหมื่นคนเข้าร่วม โดยเรียกร้องให้จัดการให้พระถนอมเดินทางออกนอกประเทศและจับกุมฆาตกรสังหาร 2
ช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐมโดยด่วน ขณะดำเนินการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมนายบดินทร์ เอี่ยมศิลา
สมาชิกกลุ่มกระทิงแดงได้ที่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า พบระเบิด ที.เอ็น.ที.ที่ร้ายแรงขนาดทำลายตึกใหญ่ได้
จึงคุมตัวไว้ดำเนินคดี
ศนท.ส่งคนไปเจรจากับนายกฯ แต่เลขานุการนายกฯ ไม่ให้เข้าพบ เวลาสามทุ่มเศษ
นายสุธรรมและคณะจึงกลับมาที่สนามหลวงเพื่อบอกกับที่ชุมนุมว่าผิดหวังมาก และว่าจะสู้ต่อไป โดย
ศนท.จะให้เวลารัฐบาลตัดสินใจถึงเที่ยงวันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม
ถ้ารัฐบาลไม่ตัดสินใจแก้ปัญหาก็จะเคลื่อนไหวทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดพร้อมกัน ที่ชุมนุมสลายตัวเมื่อเวลา 21.45 น.
กลุ่มกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้านจำนวนหนึ่งอ้างตัวเข้าอารักขาพระถนอมที่วัดบวรฯ
ที่สงขลามีการชุมนุมต่อต้านพระถนอม ส่วนที่หาดใหญ่มีผู้นำงูพิษมาปล่อยกลางที่ชุมนุม
และยิงปืนใส่ที่ชุมนุมก่อนสลายตัว
30 ก.ย.
ตัวแทนกลุ่มต่อต้าน ศนท. 13 กลุ่ม อันประกอบด้วย ขบวนการปฏิรูปแห่งชาติ สหพันธ์นักศึกษาครูแห่งประเทศไทย
ชมรมอาชีวะอิสระ สหพันธ์ครูอาชีวะ กลุ่มกรรมกรเสรี กลุ่มค้างคาวไทย กลุ่มวิหคสายฟ้า (19) กลุ่มเพชรไทย
กลุ่มพิทักษ์ไทย กลุ่มสหภาพแรงงานเอกชน สภาคณาจารย์มหาวิทยาลัย และองค์การประชาชนแห่งประเทศไทย
ร่วมกันแถลงว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ศนท. สภาแรงงานแห่งประเทศไทย และนักการเมืองฝ่ายซ้าย
ได้ถือเอากรณีพระถนอมเป็นการก่อความไม่สงบขึ้นในประเทศ ถึงขั้นทำลายวัดบวรนิเวศฯ และล้มล้างรัฐบาล
ทางกลุ่มจึงมีมติว่าจะร่วมกันป้องกันรักษาวัดบวรฯ ทุกวิถีทาง และหากมีการล้มล้างรัฐบาล
ทางกลุ่มจะวางตัวเป็นกลาง
นายสมศักดิ์ ขวัญมงคล หัวหน้ากลุ่มกระทิงแดง กล่าวว่าหากมีการเดินขบวนมายังวัดบวรฯ
ทางกลุ่มกระทิงแดงจะอารักขาวัดบวรฯ มิใช่อารักขาพระถนอม และขอให้ ศนท.ยุติการเคลื่อนไหวเสีย
และให้อยู่ในขอบเขต หากจะชุมนุมให้อยู่ที่สนามหลวงหรือธรรมศาสตร์ อย่าเดินขบวนเป็นอันขาด
นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการ ศนท. กล่าวว่า ศูนย์นิสิตฯ
จะกระทำทุกอย่างเพื่อต่อต้านเผด็จการเพื่อคนทั้งประเทศ การที่กลุ่มกระทิงแดงจะต่อต้านขัดขวางศูนย์ฯ นั้น
ถือได้ว่ากลุ่มกระทิงแดงเป็นเครื่องมือของเผด็จการ คอยรับใช้และปกป้องเผด็จการ
ตุลาคม 2519
2 ต.ค.
นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการ ศนท. พร้อมตัวแทนของกลุ่มต่างๆ จำนวน 10 คน เข้าพบนายกฯ
เพื่อขอคำตอบเกี่ยวกับพระถนอม ภายหลังการเข้าพบ นายสุธรรมแถลงว่า นายกฯ
ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะให้พระถนอมออกนอกประเทศเมื่อไร ดังนั้นกลุ่มพลังต่างๆ จะเคลื่อนไหวต่อไป
โดยจะขยายวงออกไปอย่างกว้างขวาง และจะเรียกชุมนุมประชาชนที่ท้องสนามหลวงวันที่ 4 ต.ค.
ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล กลุ่มนักเรียนนักศึกษาและประชาชนประมาณ 400 คน เดินทางไปให้กำลังใจญาติวีรชน 14
ตุลา 16 ที่อดอาหารประท้วงพระถนอม ปรากฏว่ามีกลุ่มผู้ต่อต้านประมาณ 20
คนใช้เครื่องขยายเสียงโจมตีแล้วขับรถผ่านไป ส่วนผู้มาให้กำลังใจยืนไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์
14 ตุลา 16 แล้วสลายตัว
ที่เชียงใหม่ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หยุดเรียนและเดินขบวนไปชุมนุมที่สนามท่าแพ
และออกแถลงการณ์ให้รัฐบาลแก้ไขกรณีพระถนอมโดยเร่งด่วน
ที่นครปฐม แนวร่วมประชาชนนครปฐมออกแถลงการณ์โจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าบิดเบือนคดีการสังหาร 2
ช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐม ทั้งๆ
ที่หลักฐานจากพยานหลายปากยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจนำบุคคลทั้งสองไปซ้อมที่สถานีตำรวจภูธรนครปฐม
โดยมีนายตำรวจระดับสารวัตรร่วมด้วย จึงขอให้รัฐบาลเร่งจับกุมฆาตกรมาดำเนินคดีโดยเร็วที่สุด
นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หยุดสอบประท้วง
3 ต.ค.
ฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศยืนยันให้นักศึกษาเข้าสอบไล่ภาคที่ 1 ประจำปีการศึกษา
2519 หากผู้ใดไม่เข้าสอบถือว่าขาดสอบ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หน้า 4 คอลัมน์ “ไต้ฝุ่น” เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า “ไต้ฝุ่น” มีข้อความว่า
“หากเมืองไทยจะมีนายกรัฐมนตรีใหม่อีก ทำนายทายทักกันได้ว่าจะไม่ใช่คนในสกุลปราโมชอีกแล้ว
อาจจะเป็นหนึ่งในสามของคนวัย 52 เล็งกันไว้จากสภาปฏิรูป ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ เกษม จาติกวณิช
หรือประภาศน์ อวยชัย คนนี้ซินแสดูโหงวเฮ้งแล้วบอกว่าฮ้อ” (ข้อความจากคอลัมน์นี้ โดยเฉพาะการใช้คำว่า
“สภาปฏิรูป” ซึ่งเป็นคำที่คณะผู้ก่อการยึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในเย็นวันที่ 6 ตุลา 19
ใช้แทนคำว่า “คณะปฏิวัติ” ทำให้หลายฝ่ายเพ่งเล็งมากว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา 19
ไม่ใช่อุบัติเหตุทางการเมืองไทย แต่เป็นเหตุการณ์ที่ถูกวางแผนไว้ล่วงหน้าให้เกิดความวุ่นวาย
เพื่อที่คณะปฏิรูปฯ จะเข้ายึดอำนาจควบคุมความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เกี่ยวกับข้อเพ่งเล็งนี้ นายชวน
หลีกภัยเคยนำไปปราศรัยว่า “…พี่น้องครับ ผมทบทวนถ้อยคำให้ท่านฟังอีกครั้งหนึ่ง
“เล็งกันไว้จากสภาปฏิรูปฯ” หนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม
ซึ่งนักเขียนจะเขียนกันได้ก็ไม่เกินประมาณวันที่ 2 แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปนั้นได้มีการเตรียมกันมาแล้ว
และข่าวนี้ได้รั่วไหลมาสู่หนังสือพิมพ์ นักหนังสือพิมพ์บางคนถึงได้เขียนคำว่าสภาปฏิรูป
และมีการคาดหมายว่าคนที่จะมาเป็นนายกฯ นั้นเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา แต่เขาไม่ได้พูดถึงอาจารย์ธานินทร์
กรัยวิเชียร เขาพูดถึงอาจารย์ประภาศน์ อวยชัย นี่หมายความว่าอย่างไร หมายความว่าเหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคมนั้น สภาปฏิรูปได้เตรียมการที่จะปฏิรูปแล้ว ได้มีการรวมกลุ่มกันแล้ว
และความลับอันนี้ได้รั่วไหลมาสู่ปากหูของหนังสือพิมพ์ จึงได้มีการเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา…”
11.40 น. ญาติวีรชนที่อดข้าวประท้วงรัฐบาลกรณีพระถนอมมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลา
ได้ย้ายสถานที่ประท้วงจากหน้าทำเนียบรัฐบาลเข้าไปอยู่ในลานโพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนื่องจากไม่ได้รับความสะดวกและถูกก่อกวนจากกลุ่มต่างๆ
4 ต.ค.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงเช้ามีการสอบวิชาภาษาไทยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคณะ
แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ยอมเข้าห้องสอบ กลับรวมตัวชุมนุมกันที่ลานโพประมาณ 500 คน
มีการอภิปรายกรณีพระถนอม และการฆาตกรรมช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐม
ช่วงเที่ยงชุมนุมนาฏศิลป์และการละครแสดงละครล้อเลียนเหตุกา
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นายช่างใหญ่
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/169055
**********************************************************
ฟังอ.สุรชัย อธิบาย ก็จะปะติดปะต่อ ได้ง่ายขึ้นที่เพจนี้ค่ะ คลิป # 69 ค่ะ
เพลงฉ่อยชาววัง
- หน้าแรก
- About Admin
- FB Page
- Our Mission
- Videos
- Veerapat
- ๋JAKRAPOP
- กฏของมัวร์
- บทความทั้งหมด
- ฟังไว้จะได้หายโง่
- BBC.Articles
- วีดีโอเกี่ยวกับ การยุบพรรค
- Yingluck Shinawatra : This is unlawful
- โรงเรียนการเมือง Democraticregime
- แด่นักสู้ธุลีดินชาวไทย
- สงครามเวียดนาม สู่ตำนานเมียเช่า
- ฉีกหน้ากากผู้มากบารมี 2557
- อะไรคือระบอบทักษิณ (ฉบับเต็ม)
- เสียงบนบัตรเลือกตั้ง
- ลั่นกลองรบ
- วาทะกรรมเผาบ้าน เผาเมือง
- ยุทธการ "รุมยิงนกในกรง"
- เวทีดีเบตไทยรัฐทีวี "เลือกตั้ง 62
- คลิปเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ
- จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เปลี่ยนแปลงมาสู่ระบอบประชาธิปไตย
- สุทิน คลังแสง( แก้ไข)
- ตลาดวิชา อนาคตใหม่
- My Man
- ช่อ สุดยอดถล่ม "ไวรัส รัฐประหาร
- ใครฆ่าร.8
- สถาบัน กับการเมืองในปัจจุบัน
- ตาสว่าง
- ยึดทรัพย์ทักษิณ
- ธงชัย วินิจจะกูล
- ศสจ. ผูผลักดัน เพดานเสรีภาพมาทั้งชีวิต!
- Netiwit talk to Time
- เพลงปีศาจ
- ปืนปิดปาก ประหารชีวิต ที่สุดของเผด็จการ
- interview the king no.10
- ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี
- เพลงฉ่อยชาววัง
- คุณรู้จัก "สลิ่ม" ไหม??
- ประชุมสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ
- น้อง อั่งอั๊ง
- เสวนา“ รัฐไทยจะอยู่อย่างไรเมื่อมีรัฐสวัสดิการ
- WHAT HAVE I DONE WRONG
- โบว์คือใครคะ
- 🌺 Politics Gossip for admin
- โหด ซาดิสม์
- ความจริง สองด้าน ระหว่าง พี่น้อง "ตู่-เต้น
- ถนอมบวชเณรกลับไทย สาเหตุ 6 ต.ค. 19
- ขบวนการสกัดกั้นพิธาด้วยหุ้น ITV
- ธนาธร
- ธนาธร สอนบัญชี
- 🌹🌹ดร.ปวิน
- ธนาธร "ประเทศไทยควรได้อะไร"
- 14 ตุลา มหาวิปโยค
- PIYABUTR
- 6ตุลา19 'เหี้ยมอย่างสัตว์'
- ปู่แอ๊ด
- Piyabutr Saengkanokkul
- สมยศ พฤกษาเกษมสุข ชีวิตของนักโทษ ม.112
- 🌹🌹How to Start a Revolution
- 🌹🌹ก้าวไกลส่งต่อรุ่นสาม
- อ. ลอย สัมภาษณ์ หนูหริ่ง
- 🌹🌹ปราศรัยเดือด! 4 แกนนำ อนาคตใหม่
- 🌹🌹พวงทอง ภวัครพันธุ์
- 🌹🌹ชีวิตของ บรรยง พงษ์พานิช
วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น