สําหรับเมืองไทยแล้ว ทุกคำพูด ทุกความเคลื่อนไหว ของ
เจ้าสัวซีพี-ธนินท์ เจียรวนนท์ ย่อมอยู่ในความสนใจเสมอเพราะนั่นคือแนวทาง
คือการรุกคืบ ที่มักสร้างปรากฏการณ์อันลือลั่นเสมอ
เหมือนล่าสุดที่
"เจ้าสัวซีพี"
ออกมาแจกแจงถึงกระแสข่าวที่ถูกโหมกระพือว่ากำลังทุ่มเงินมหาศาลถึง 3 แสนล้านบาท เพื่อซื้อธุรกิจเทสโก้ โลตัส
ในประเทศไทยทั้งหมดคืนสู่อ้อมอก
รวมถึงความต้องการเป็นหุ้นส่วนสำคัญใน LH Bank ของ อนันต์ อัศวโภคิน แห่งแลนด์แอนด์เฮ้าส์
ไม่ว่า 3 แสนล้านบาทสำหรับดีลซื้อ "เทสโก้ โลตัส" ในเมืองไทยจะถูกหรือแพง จะคุ้มหรือไม่ และเป็นตัวเลขมูลค่าซื้อขายจริงตรงกับใจฟากฝั่ง "เทสโก้" ตามที่นักวิเคราะห์ดีลธุรกิจ และค้าปลีกประเมินกันตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือไม่
วันที่เปิดประตูพบสื่อมวลชนด่วนจี๋แบบไม่เคยปรากฏมาก่อนเพื่อแถลงข้อสงสัยท่ามกลางกระแสข่าวต่างๆ ที่ออกมา "เจ้าสัวธนินท์" ออกตัวว่า จนถึงวันนี้ยังไม่ได้เจรจาหรือพบกับผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ "เทสโก้ โลตัส" และยังไม่ได้ยินการประกาศขาย
"แต่ถ้าหากจะขาย ผมก็สนใจและพร้อมที่จะซื้อ เพราะนโยบายของผมสำหรับธุรกิจค้าปลีกนั้นจะดำเนินธุรกิจหรือซื้ออะไรที่ไม่ขัดกัน เอื้อประโยชน์กัน และทำให้ของถูกลง"
และเขามองว่าโมเดลธุรกิจของเทสโก้ โลตัสกับแม็คโครนั้น "ไม่ขัดกัน"
แม้จะออกตัวว่าไม่เคยพูดคุยทาบทาม กระนั้นก็ตามดูเหมือนว่าอภิมหาเจ้าสัวเมืองไทยรายนี้ได้แบไต๋-ควักใจ ออกมาเต็มประตูแล้วว่า "อยากได้"
"โลตัสเป็นเหมือนลูก ลูกที่เราเลี้ยง เราก็รัก แต่เมื่อเกิดวิกฤตปี 2540 จำเป็นต้องขายของดีให้คนอื่นเพื่อรักษาธุรกิจหลัก ที่ผ่านมาไม่เคยพูดคุยกับซีอีโอคนใหม่ แต่ได้หารือกับซีอีโอคนเก่าเมื่อครั้งงานฉลองโลตัสครบ 25 ปีในเมืองไทยเมื่อเดือนก่อน"
คงไม่ต้องบอกว่าอาณาจักรเทสโก้ โลตัส ในเมืองไทยใหญ่โตขนาดไหน ดูง่ายๆ จากธุรกิจหลากหลายรูปแบบ อาทิ ไฮเปอร์มาร์เก็ต, เอ็กซ์ตร้า, ดีพาร์ตเมนต์สโตร์, คุ้มค่า, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด, เอ็กซ์เพรส, ร้านสะดวกซื้อ 365 และล่าสุดคือโลตัสพลัสมอลล์ รวมสาขาทั้งสิ้น 1,800 แห่ง พื้นที่ขายและเช่ารวม 2 ล้าน ตร.ม. กับพนักงานอีกกว่า 36,000 คน
ขณะที่ผลประกอบการในรอบ 1 ปี สิ้นสุด ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 เทสโก้ โลตัส แจ้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ว่า มีรายได้รวมประมาณ 204,191 ล้านบาท กำไรสุทธิประมาณ 9,089 ล้านบาท
เห็นชัดๆ ว่ายอดขายที่สูงถึง 2 แสนล้านบาทเศษ ส่วนผลกำไรหย่อนหมื่นล้านไปไม่กี่มากน้อย
นั่นทำให้เจ้าสัวซีพีออกตัวอย่างเต็มปาก
"ถ้ามีโอกาสลงทุนแล้วได้ประโยชน์เราก็ลงทุน แต่ถ้าลงทุนแล้วขาดทุนก็ไม่เอา วิธีของผมคือ ถ้าคุณเก่ง ผมถือหุ้นแค่ 10% ก็พอ เพราะพอเติบโต 5 เท่า ผมก็โตเป็น 100% แล้ว อย่าง เทสโก้ โลตัส ถ้าเขาจะขาย ผมก็สนใจและพร้อมที่จะซื้อ หรือถ้าเขาจะให้แค่ถือหุ้นผมก็เอา เพราะว่าเป็นของผมมาก่อน ลูกที่ผมเลี้ยงมาก่อนผมก็รัก"
ไม่เพียงธุรกิจ "ค้าปลีก" ที่จะเข้ามาเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนกลุ่มซีพี แต่ยังมี "จิ๊กซอว์" ธุรกิจการค้าขายบนอินเตอร์เน็ต (อี-คอมเมิร์ซ) และการขนส่ง (โลจิสติกส์) ที่เจ้าสัวแสนล้านอย่าง "ธนินท์" วางหมากไว้ต่อยอดการเติบโตในอนาคต
ธุรกิจเหล่านี้ล้วนเป็นธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรง
ทั้งยังเติมเต็มสินค้าเกษตร และอาหารที่ซีพีครอบครองตลาดทั้งเมืองไทยและทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการเร่งเกมเคลื่อนทัพทางธุรกิจอย่าง "อะเกรสซีพ" ของกลุ่มซีพีที่เตรียมยึดโยงสร้างเครือข่ายช่องทางขาย "ค้าปลีก-ค้าส่ง" ได้สร้างความหวาดหวั่นให้กับวงการธุรกิจไม่น้อย สำหรับการกินรวบและผูกขาดตลาด
ไม่ว่าสะดวกซื้อ 7-11 ที่มีรายได้แต่ละปีกว่า 2.17 แสนล้าน, ค้าส่งแม็คโครที่มีกระแสเงินสดหมุนเวียน 1.28 แสนล้านต่อปี หรือกระทั่งลูกรักที่อยากดึงกลับมาสู่อ้อมกอด "เทสโก้ โลตัส" ที่รายได้รวมล่าสุดถึง 2 แสนล้าน
ผู้บริหารระดับสูงแวดวงธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ฉายภาพความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของตลาดค้าปลีกนี้ ว่า หากกลุ่มซีพีตัดสินใจซื้อเทสโก้ โลตัส ได้จริงจะส่งผลให้สภาพการแข่งขันในตลาดลดลง เพราะเป็นการผูกขาดตลาดด้วยการครองส่วนแบ่งในอุตสาหกรรมค้าปลีกเกินกว่า 50%
"ถ้าดีลนี้เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าอย่างไรก็ส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างแน่นอน ซึ่งอยากให้ทางหน่วยงานภาครัฐเข้ามาตรวจสอบดูแลหากซีพีเข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส จริงๆ ว่าทำให้ซีพีถือครองธุรกิจค้าปลีกในประเทศเกินกว่า 50% หรือไม่ เชื่อว่าน่าจะมีกฎหมายกำกับดูแลเรื่องการผูกขาดตลาดอยู่แล้ว"
สอดคล้องกับแหล่งข่าวอีกรายที่ฉายภาพว่า ทุกวันนี้เฉพาะแค่เซเว่น อีเลฟเว่น ก็มีอำนาจการต่อรองค่อนข้างสูงอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อได้เทสโก้ โลตัสมารวมในพอร์ตและถ้ารวมฝ่ายจัดซื้อเป็นทีมเดียวกันจะยิ่งเพิ่มอำนาจต่อรองทำให้ซัพพลายเออร์ต้องปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านการซื้อขายกิจการให้เหตุผลว่า นอกจากปัญหาเรื่องอำนาจเหนือตลาด ซึ่งอาจตีความได้ว่าการซื้อโลตัส ทำให้ซีพีกินรวบตลาดค้าปลีก จนสามารถชี้นกเป็นไม้ได้อย่างสบายๆ ซีพีต้องฝ่าอุปสรรคอีกหลายด้าน
สำคัญที่สุดเงินทุนมหาศาลหลายแสนล้านที่ต้องกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เนื่องจากที่ผ่านมากิจการในเครือซีพี กู้ยืมเงินในประเทศมาขยายธุรกิจจำนวนมาก ที่อาจใกล้เกินเพดาน
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร "สูตรธุรกิจ" ของเจ้าสัวธนินท์พอสรุปได้ว่า ล้วนไม่ยอมพลาดและเห็นโอกาสในทุกตลาด
"ตลาดในโลกนี้เป็นของซีพี วัตถุดิบในโลกนี้เป็นของซีพี คนเก่งในโลกนี้เป็นของซีพี เงินในโลกนี้เป็นของซีพี แต่อยู่ที่ว่าเราใช้เป็นหรือเปล่า เขายอมให้เราใช้หรือเปล่า"
คือคำพูดของเจ้าสัวซีพีที่ชวนให้ตีความเป็นอย่างยิ่ง
รวมถึงความต้องการเป็นหุ้นส่วนสำคัญใน LH Bank ของ อนันต์ อัศวโภคิน แห่งแลนด์แอนด์เฮ้าส์
ไม่ว่า 3 แสนล้านบาทสำหรับดีลซื้อ "เทสโก้ โลตัส" ในเมืองไทยจะถูกหรือแพง จะคุ้มหรือไม่ และเป็นตัวเลขมูลค่าซื้อขายจริงตรงกับใจฟากฝั่ง "เทสโก้" ตามที่นักวิเคราะห์ดีลธุรกิจ และค้าปลีกประเมินกันตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือไม่
วันที่เปิดประตูพบสื่อมวลชนด่วนจี๋แบบไม่เคยปรากฏมาก่อนเพื่อแถลงข้อสงสัยท่ามกลางกระแสข่าวต่างๆ ที่ออกมา "เจ้าสัวธนินท์" ออกตัวว่า จนถึงวันนี้ยังไม่ได้เจรจาหรือพบกับผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ "เทสโก้ โลตัส" และยังไม่ได้ยินการประกาศขาย
"แต่ถ้าหากจะขาย ผมก็สนใจและพร้อมที่จะซื้อ เพราะนโยบายของผมสำหรับธุรกิจค้าปลีกนั้นจะดำเนินธุรกิจหรือซื้ออะไรที่ไม่ขัดกัน เอื้อประโยชน์กัน และทำให้ของถูกลง"
และเขามองว่าโมเดลธุรกิจของเทสโก้ โลตัสกับแม็คโครนั้น "ไม่ขัดกัน"
แม้จะออกตัวว่าไม่เคยพูดคุยทาบทาม กระนั้นก็ตามดูเหมือนว่าอภิมหาเจ้าสัวเมืองไทยรายนี้ได้แบไต๋-ควักใจ ออกมาเต็มประตูแล้วว่า "อยากได้"
"โลตัสเป็นเหมือนลูก ลูกที่เราเลี้ยง เราก็รัก แต่เมื่อเกิดวิกฤตปี 2540 จำเป็นต้องขายของดีให้คนอื่นเพื่อรักษาธุรกิจหลัก ที่ผ่านมาไม่เคยพูดคุยกับซีอีโอคนใหม่ แต่ได้หารือกับซีอีโอคนเก่าเมื่อครั้งงานฉลองโลตัสครบ 25 ปีในเมืองไทยเมื่อเดือนก่อน"
คงไม่ต้องบอกว่าอาณาจักรเทสโก้ โลตัส ในเมืองไทยใหญ่โตขนาดไหน ดูง่ายๆ จากธุรกิจหลากหลายรูปแบบ อาทิ ไฮเปอร์มาร์เก็ต, เอ็กซ์ตร้า, ดีพาร์ตเมนต์สโตร์, คุ้มค่า, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด, เอ็กซ์เพรส, ร้านสะดวกซื้อ 365 และล่าสุดคือโลตัสพลัสมอลล์ รวมสาขาทั้งสิ้น 1,800 แห่ง พื้นที่ขายและเช่ารวม 2 ล้าน ตร.ม. กับพนักงานอีกกว่า 36,000 คน
ขณะที่ผลประกอบการในรอบ 1 ปี สิ้นสุด ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 เทสโก้ โลตัส แจ้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ว่า มีรายได้รวมประมาณ 204,191 ล้านบาท กำไรสุทธิประมาณ 9,089 ล้านบาท
เห็นชัดๆ ว่ายอดขายที่สูงถึง 2 แสนล้านบาทเศษ ส่วนผลกำไรหย่อนหมื่นล้านไปไม่กี่มากน้อย
นั่นทำให้เจ้าสัวซีพีออกตัวอย่างเต็มปาก
"ถ้ามีโอกาสลงทุนแล้วได้ประโยชน์เราก็ลงทุน แต่ถ้าลงทุนแล้วขาดทุนก็ไม่เอา วิธีของผมคือ ถ้าคุณเก่ง ผมถือหุ้นแค่ 10% ก็พอ เพราะพอเติบโต 5 เท่า ผมก็โตเป็น 100% แล้ว อย่าง เทสโก้ โลตัส ถ้าเขาจะขาย ผมก็สนใจและพร้อมที่จะซื้อ หรือถ้าเขาจะให้แค่ถือหุ้นผมก็เอา เพราะว่าเป็นของผมมาก่อน ลูกที่ผมเลี้ยงมาก่อนผมก็รัก"
ไม่เพียงธุรกิจ "ค้าปลีก" ที่จะเข้ามาเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนกลุ่มซีพี แต่ยังมี "จิ๊กซอว์" ธุรกิจการค้าขายบนอินเตอร์เน็ต (อี-คอมเมิร์ซ) และการขนส่ง (โลจิสติกส์) ที่เจ้าสัวแสนล้านอย่าง "ธนินท์" วางหมากไว้ต่อยอดการเติบโตในอนาคต
ธุรกิจเหล่านี้ล้วนเป็นธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรง
ทั้งยังเติมเต็มสินค้าเกษตร และอาหารที่ซีพีครอบครองตลาดทั้งเมืองไทยและทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการเร่งเกมเคลื่อนทัพทางธุรกิจอย่าง "อะเกรสซีพ" ของกลุ่มซีพีที่เตรียมยึดโยงสร้างเครือข่ายช่องทางขาย "ค้าปลีก-ค้าส่ง" ได้สร้างความหวาดหวั่นให้กับวงการธุรกิจไม่น้อย สำหรับการกินรวบและผูกขาดตลาด
ไม่ว่าสะดวกซื้อ 7-11 ที่มีรายได้แต่ละปีกว่า 2.17 แสนล้าน, ค้าส่งแม็คโครที่มีกระแสเงินสดหมุนเวียน 1.28 แสนล้านต่อปี หรือกระทั่งลูกรักที่อยากดึงกลับมาสู่อ้อมกอด "เทสโก้ โลตัส" ที่รายได้รวมล่าสุดถึง 2 แสนล้าน
ผู้บริหารระดับสูงแวดวงธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ฉายภาพความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของตลาดค้าปลีกนี้ ว่า หากกลุ่มซีพีตัดสินใจซื้อเทสโก้ โลตัส ได้จริงจะส่งผลให้สภาพการแข่งขันในตลาดลดลง เพราะเป็นการผูกขาดตลาดด้วยการครองส่วนแบ่งในอุตสาหกรรมค้าปลีกเกินกว่า 50%
"ถ้าดีลนี้เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าอย่างไรก็ส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างแน่นอน ซึ่งอยากให้ทางหน่วยงานภาครัฐเข้ามาตรวจสอบดูแลหากซีพีเข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส จริงๆ ว่าทำให้ซีพีถือครองธุรกิจค้าปลีกในประเทศเกินกว่า 50% หรือไม่ เชื่อว่าน่าจะมีกฎหมายกำกับดูแลเรื่องการผูกขาดตลาดอยู่แล้ว"
สอดคล้องกับแหล่งข่าวอีกรายที่ฉายภาพว่า ทุกวันนี้เฉพาะแค่เซเว่น อีเลฟเว่น ก็มีอำนาจการต่อรองค่อนข้างสูงอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อได้เทสโก้ โลตัสมารวมในพอร์ตและถ้ารวมฝ่ายจัดซื้อเป็นทีมเดียวกันจะยิ่งเพิ่มอำนาจต่อรองทำให้ซัพพลายเออร์ต้องปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านการซื้อขายกิจการให้เหตุผลว่า นอกจากปัญหาเรื่องอำนาจเหนือตลาด ซึ่งอาจตีความได้ว่าการซื้อโลตัส ทำให้ซีพีกินรวบตลาดค้าปลีก จนสามารถชี้นกเป็นไม้ได้อย่างสบายๆ ซีพีต้องฝ่าอุปสรรคอีกหลายด้าน
สำคัญที่สุดเงินทุนมหาศาลหลายแสนล้านที่ต้องกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เนื่องจากที่ผ่านมากิจการในเครือซีพี กู้ยืมเงินในประเทศมาขยายธุรกิจจำนวนมาก ที่อาจใกล้เกินเพดาน
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร "สูตรธุรกิจ" ของเจ้าสัวธนินท์พอสรุปได้ว่า ล้วนไม่ยอมพลาดและเห็นโอกาสในทุกตลาด
"ตลาดในโลกนี้เป็นของซีพี วัตถุดิบในโลกนี้เป็นของซีพี คนเก่งในโลกนี้เป็นของซีพี เงินในโลกนี้เป็นของซีพี แต่อยู่ที่ว่าเราใช้เป็นหรือเปล่า เขายอมให้เราใช้หรือเปล่า"
คือคำพูดของเจ้าสัวซีพีที่ชวนให้ตีความเป็นอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น