เพลงฉ่อยชาววัง

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

สนทนากับ“ช่อ พรรณิการ์”

รสนาพูดเรื่องพรรคส้มเป็นรบ. ได้

https://www.facebook.com/share/r/1Pmr84sZ87/


-------

ชาตินี้ก็ไม่ได้เป็นรบ.

https://www.facebook.com/share/r/15FvW6kYRh/


-----

รู้หรือยังมีทหารไว้ทำไม

https://www.facebook.com/share/r/16bFHkfqmz/


ตระกูลชินวัตร จบเห่ทั้งตระกูล

https://www.facebook.com/share/r/1M1mnnm2ho/


3 ทางออกของแพทองธาร

https://www.facebook.com/share/r/1LkWKuMQ2C/

250 ก็รบ.พรรคเดียวไม่ได้

https://www.facebook.com/share/v/16nRi9XwRR/


มั่นใจในเท้ง ฟังเรื่อง เท้งVSพิธา

https://www.facebook.com/share/r/19Z3kMk4en/


ดีลลับนายกคนกลาง ตัวอย่างอานันท์ ปัญญารชุน

https://www.facebook.com/share/r/16jxymu51J/

พูดเถียงกับทอมเป็นเพราะ

https://www.facebook.com/share/r/1Amg87rRTA/


ตู่นักปราศัยโดนคุณช่อตบซะตายคาจอเลย

https://www.facebook.com/watch?v=1019854979957360

--------

คณช่อตอบได้ชัดเจนมาก พรรคการเมืองที่จะอยู่ในใจ ของปชช.ได้คือยึดหลักการ

และอุดมการณ์ ไม่แกว่งไปตามกระแส เรื่องจริยธรรมก็แค่ข้ออ้างและเครื่องมือของ

ชนชั้นปกครองที่นำมาใช้ ซึ่งพวกนี้ก็ไม่ได้สูงส่งกว่าปชช.คนธรรมดาอะไรเลย

ที่ผ่านมาก็ได้เห็นประเภท ที่เขาเรียกกันว่าคนดีย์เป็นเช่นไร ตราบที่ระบบการปกครองยังเป็นเช่นนี้ซึ่งไม่รู้จะเรียกมันว่าระบบอะไรดี บ้านเมืองคงมองไม่เห็นอนาคต นอกจากเห็น

แต่ตวามล้มเหลวและพังในที่สุด

--------

คนแก่เอาแต่ใจ555 อยากให้ทำแบบนั้นแบบนี้ ไม่ถูกใจประท้วง😆😆 น่าจะไปตั้งพรรคการเมืองแล้วก็ไปสู้ในสภาแบบเขา อยากได้แบบไหนก็ไปสู้เอาในสภาสิครับ


--------

ไม่ผิดหวังเลยสักครั้งเดียว แกนนำ ประชาชน คุณภาพทุกคนจริงๆ

--------

สู้ด้วยหลักเกณ สู้อยุ่ในกรอบกติกา แต่กลับโดนตัดสิทธิ์ทางการเมือง -ต่างกันกับอีกฝั่ง ทำทุกอย่างให้ได้มาซึ่งอำนาจ จะผิดจะถูกไม่สน จะเหยียบหัวใครขึ้นมาหรือตัดหัวใครไม่สนใจ ขอแค่ให้ได้มาซึ่งอำนาจที่ตัวเองต้องการ ทุกวันนี้ยังนั่งลอยหน้าลอยตาอยุ่ในสภาไม่อายลูกหลานตัวเอง กุละเชื่อเลย

--------

เงินบริจากเอาไปให้แม่ทับภาก2แล้วรึยังไอ้ตู่
ประชาชนเฝ้ารอดูอยู่นะที่พวกบอกว่าบริจากได้50ล้านบาท เขามาประชุมประมาณ28000กว่าตัวจ่ายหัว1000บาท

--------


--------


--------


--------

--------


วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ระบบศาลในประเทศไทย




               




ผู้เรียบเรียง :

คณาธิป ไกยชน, วิทยากรชำนาญการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ

แหล่งที่มา :

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการ

ศาลเป็นองค์กรของรัฐที่ใช้อำนาจตุลาการในการตัดสินข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย และเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการอำนวยความยุติธรรมในสังคม อาทิ ทำหน้าที่ยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นหลักประกันสำหรับประชาชนว่าจะได้รับการพิจารณาคดีตามกฎหมายอย่างเป็นธรรมและเสมอภาค ทำให้ระบบกฎหมายมีความมั่นคงแน่นอนและสามารถบังคับใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข

การจำแนกรูปแบบของระบบศาลในต่างประเทศสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ 

1) ระบบศาลเดี่ยว เป็นระบบที่ศาลยุติธรรมมีอำนาจตีความกฎหมายและพิจารณาตัดสินคดีทุกประเภท ทั้งคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง ฯลฯ ซึ่งเป็นระบบศาลที่นิยมใช้ในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณี (Common Law) เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น และ

2) ระบบศาลคู่ เป็นระบบศาลที่ให้อำนาจตัดสินคดีที่มีมากกว่าหนึ่งศาล กล่าวคือ เป็นระบบศาลที่มีศาลปกครองเป็นศาลพิเศษมีอำนาจพิจารณาคดีปกครองโดยเฉพาะแยกออกจากศาลยุติธรรม ซึ่งศาลยุติธรรมไม่ได้มีอำนาจในคดีทุกประเภทเหมือนระบบศาลเดี่ยว โดยระบบศาลดังกล่าวนิยมใช้ในประเทศแถบยุโรปที่ใช้ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร (Civil Law) เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี เป็นต้น

ระบบศาลของประเทศไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยมีพ่อขุนหรือกษัตริย์ทรงใช้อำนาจทางการศาลด้วยพระองค์เอง และมีผู้แทนพระองค์ที่เรียกว่า “ตระลาการ” ทำหน้าที่วางหลักเกณฑ์การพิจารณาและพิพากษาคดี ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยามีศาลเกิดขึ้นหลากหลายประเภท เช่น ศาลความอุทธรณ์หรือศาลหลวง ศาลอาชญาราษฎร์หรือศาลราษฎร์ ศาลอาชญาจักร ศาลแพ่งวัง ศาลแพ่งกลาง เป็นต้น 


และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการปฏิรูปการศาลไทยและสถาปนากระทรวงยุติธรรม โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบศาลใหม่ ยุบรวมและโอนศาลทั้งหลายมาสังกัดกระทรวงยุติธรรม ยกเว้นศาลทหารที่ยังคงสังกัดกระทรวงกลาโหม 


จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นเป็นครั้งแรกแยกออกจากศาลยุติธรรม จึงทำให้ระบบศาลไทยเปลี่ยนจากระบบศาลเดี่ยวเป็นระบบศาลคู่ เนื่องจากมีการแบ่งแยกขอบเขตอำนาจระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองอย่างเด็ดขาด

               

ในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ได้กำหนดให้มี 4 ศาล ได้แก่

ศาลยุติธรรม 

ศาลปกครอง 

ศาลรัฐธรรมนูญ และ

ศาลทหาร มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้

ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น โดยโครงสร้างของศาลยุติธรรมแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ

1) ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นทั่วไป และศาลชำนัญพิเศษ มี 5 ศาล ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลภาษีอากร ศาลล้มละลาย ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และศาลแรงงาน

2) ศาลอุทธรณ์ ประกอบด้วย ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ และ

3) ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดเพียงศาลเดียว มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้เสนอต่อศาลฎีกาได้โดยตรง และพิจารณาคดีที่อุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษา คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามที่กฎหมายกำหนด

ศาลปกครอง 

เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากศาลยุติธรรม เนื่องจากศาลปกครองใช้ระบบไต่สวนในการดำเนินคดี กล่าวคือ ศาลปกครองมีอำนาจแสวงหาข้อเท็จจริงอื่นใดได้ โดยไม่จำเป็นต้องรับฟังเฉพาะคู่กรณีทั้งสองฝ่าย การใช้ระบบพิจารณาคดีดังกล่าวมีสาเหตุมาจากคดีปกครองซึ่งนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากการออกกฎเกณฑ์ หรือการออกคำสั่งของฝ่ายปกครองที่สามารถดำเนินการได้เองฝ่ายเดียว โดยไม่ได้อยู่บนหลักของความเสมอภาคกัน และพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่จะใช้ในศาลเกือบทั้งหมดอยู่ในความดูแลหรือครอบครองของฝ่ายปกครอง ดังนั้น หากการค้นหาข้อเท็จจริงยึดหลักเคร่งครัดว่าคู่กรณีต้องพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างของตนเช่นเดียวกับคดีในศาลยุติธรรม ย่อมไม่เป็นธรรมแก่คู่กรณีที่เป็นเอกชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะฟ้องคดี ทั้งนี้ โครงสร้างของศาลปกครองแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ 

1) ศาลปกครองสูงสุด ซึ่งจัดตั้งขึ้นในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียง และ

 2) ศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่ ศาลปกครองกลาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียง และศาลปกครองในภูมิภาค


ศาลรัฐธรรมนูญ 

เป็นศาลที่ทำหน้าที่สำคัญในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสถานะ “ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ” นอกจากนี้ ยังมีอำนาจและหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันกับทุกองค์กร โดยการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน กล่าวคือ ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม

ศาลทหาร 

เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา วางบทลงโทษทหารที่กระทำความผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา โดยแบ่งตามสถานการณ์ได้ 2 ประเภท ได้แก่ 

ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ หมายถึง ศาลทหารในภาวการณ์รบหรือการสงคราม หรือมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก ทำให้ศาลทหารต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็วเด็ดขาดยิ่งกว่าในเวลาปกติ โดยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาใด ๆ เพิ่มเติมอีกได้ตามที่ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ประกาศไว้ และ

ศาลทหารในเวลาปกติ หมายถึง ศาลทหารที่มีอยู่ในช่วงเวลาที่บ้านเมืองมีความสงบไม่มีศึกสงคราม จะมีการพิจารณาพิพากษาคดีที่สามารถอุทธรณ์และฎีกาได้ แบ่งเป็น 3 ชั้นศาล ประกอบด้วย

1) ศาลทหารชั้นต้น เป็นศาลที่เทียบได้กับศาลชั้นต้นของศาลพลเรือนมี 4 ประเภท ได้แก่ ศาลทหารกรุงเทพ ศาลมณฑลทหาร ศาลจังหวัดทหาร และศาลประจำหน่วยทหาร

2) ศาลทหารกลาง เป็นศาลที่เทียบได้กับศาลอุทธรณ์ของศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารชั้นต้น และ

3) ศาลทหารสูงสุด เป็นศาลที่เทียบได้กับศาลฎีกาของศาลพลเรือน มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่มีการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลทหาร โดยคดีที่ศาลทหารสูงสุดได้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วถือว่าเป็นที่สุด 

กล่าวโดยสรุป ระบบศาลในประเทศไทยมีการจัดแบ่งประเภทอย่างชัดเจนสะท้อนให้เห็นถึงการได้รับอิทธิพลจากแนวคิดระบบศาลคู่ของต่างประเทศ ซึ่งการแบ่งขอบเขตอำนาจของแต่ละศาลเป็นอิสระจากกัน มีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาคดีแต่ละประเภทได้รับการวินิจฉัยโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายและลักษณะคดีที่มีลักษณะเฉพาะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดด้วยวิธีพิจารณาที่เหมาะสม 

ดังนั้น การเสนอคดีต่อศาลจะต้องพิจารณาก่อนว่า เป็นคดีประเภทใดและอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด เพราะหากเสนอคดีไม่ถูกต้องตามระบบศาล ศาลนั้นย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้โดยชอบด้วยกฎหมาย 

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

อ. ปวิณพูดถูกที่สุด

 คนทั่วไปแม่งจะมองเรื่องนี้จากมุมเดียว เรื่องของการเป็นเหยื่อตุลาการภิวัฒน์ นับตั้งแต่สมัคร สมชาย ยิ่งลักษณ์ เศรษฐา จนมาถึงแพทองธาร แล้วครวญครางว่าถูกรังแก ใช่ พวกคุณถูกรังแก แต่ถ้าเราจะมองอึกมุมหนึ่ง

  พรรคเพื่อไทยมีโอกาสหลายครั้งในการ fix ปัญหานี้ โดยเฉพาะในยุคแพทองธารที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ถ้ากล้าลุกขึ้นมาแก้ไข เลิกเล่นบทเหยื่อ วันนี้รัฐบาลนี้อาจไม่ลงเอยแบบนี้ 

ที่ไม่ยอมลุกขึ้นมาแก้ก็เพราะแม่ง ไม่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม เพราะแม่งมองแต่ประโยชน์ของชินวัตร

เพราะคิดว่าการไม่ลุกขึ้นมางัดข้อ อาจจะทำให้อีลีทไทย/เจ้าไทยให้โอกาสทางการเมือง 

นี่มึงจะโง่กันอีกกี่ครั้ง พอลงเอยแบบนี้ ก็โทษอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ แต่ไม่เคยตำหนิตัวเอง 

อีพวกนางแบกก็จะอ้างว่า ขนาดทำตัวเชื่องอย่างนี้ยังโดนกำจัด ถ้าลุกขึ้นมาสู้ก็คงตๅยห่า

 โถ e🐃 จะทำตัวเชื่องหรือลุกขึ้นสู้ เค้าก็กำจัดมึงอยู่ดีค่ะ

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือ องค์กรของรัฐที่มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยมีลักษณะพิเศษคือความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน ไม่ถูกแทรกแซงจากองค์กรอื่นหรือสถาบันการเมืองใดๆ 

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2560 ประกอบด้วย: 

1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.):

มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งและดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม 

2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน:(ระวังสับสนกับ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินออมบุดสแมน

ผู้ตรวจการแผ่นดิน คือ บุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน มีหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเสนอแนะแนวทางแก้ไข 

3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.):

มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 

4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.):

มีหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการเงินการคลังของรัฐ 

5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.):

มีหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 

องค์กรเหล่านี้มีความสำคัญในการเป็นกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สร้างความโปร่งใส และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน 

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2568

“ทุ่งสังหาร” ในทางการเมือง

 ครม.อิ๊งค์ 1/2

สู่โซน ทุ่งสังหาร

กองเชียร์รัฐบาลโล่งใจไปเปลาะหนึ่ง หลังได้เห็นท่าทีแข็งกร้าว สีหน้าท่าทางที่ดูดุดันของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ในการแถลงใช้นโยบาย “การปราบอาชญากรรมข้ามชาติพุ่งเป้าไปที่กัมพูชา” ช่วยลดอุณหภูมิร้อนแรงของ “ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล” ไปได้หลายองศา

หลังต้องทนเห็นผู้นำกัมพูชาใช้ “ชาตินิยม” เป็นเครื่องมือทางการเมือง กำหนดให้ไทย “จากเพื่อนบ้านเป็นผู้รุกรานเขตแดน” นานเกือบครึ่งเดือน ก็ยังไม่เห็นเจตจำนงที่จะตอบโต้ หรือชี้แจงกลับ

วิเคราะห์กันว่าท่าทีที่แข็งกร้าวของนายกฯ ที่คนบ่นกันว่า “รู้สึกช้า” แทบไม่มีมาตรการการเมืองใดๆ มา “ตอบโต้” ผู้นำกัมพูชาเลย จะไม่เกิดขึ้นหรอก หากไม่มีกรณี “คลิปหลุด” เสียงสนทนาของ น.ส.แพทองธาร กับสมเด็จฮุน เซน ผู้มีบารมีแห่งการเมืองกัมพูชา

ความ “แข็งกร้าว” ก็เพื่อแก้เกมทางการเมือง จากอาการเสียความชอบธรรมจากการเมืองภายในของไทยเอง

แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ในภาพรวมของรัฐบาลดีขึ้นนัก เพราะจนถึงวันนี้ 2 ผู้นำกัมพูชายังคงใช้ความเชี่ยวกรากทางการเมือง ทำสงครามข้อมูลข่าวสาร แม้แต่วิจารณ์แทรกแซงการเมืองไทยโดยตรงอยู่หลายครั้ง

ขณะที่ของไทยเอง วันนี้คนมองนายกฯไทยป้อแป้ ปล่อยให้ฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้คุมเกม อยู่ในบทฮีโร่ฉายเดี่ยวนโยบายชายแดนเสียอย่างนั้น

อันที่จริง เรื่องประเทศเพื่อนบ้านว่าปวดหัวแล้ว ยังเล็กไปเลยเมื่อเทียบกับปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลกที่คุกรุ่นอยู่ในขณะนี้

สงครามวันนี้ใกล้ตัวคนไทยกว่าที่คิด เพราะวิกฤตพลังงานส่งผลกระทบต่อ “ความเปราะบาง” ทางเศรษฐกิจและสังคมไทยแบบทันที ยังไม่นับปัญหา “กำแพงภาษีทรัมป์” ซึ่งไทยเราโดนเต็มๆ จนถึงวันนี้ยังมองไม่เห็นแสงสว่าง

ส่วนปัญหาภายในประเทศวันนี้อยู่ในระดับ “สาหัส” ภาพเศรษฐกิจระดับมหภาคไร้ความหวัง

ครม.อิ๊งค์ 1/2” ขาดทรัพยากรในการขับเคลื่อนประเทศ นโยบายเรือธงของรัฐบาลหลายเรื่องไม่สามารถทำได้ตามที่หาเสียง การลงทุนเบาบาง ไร้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจใหม่ๆ มาขับเคลื่อน ตลาดหุ้นบอบบาง ไม่สามารถเป็นความหวังให้กับนักลงทุนได้

ขณะภาพเศรษฐกิจจุลภาคยิ่งหนัก ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ประเทศ มาตรการแก้หนี้ของรัฐบาลแม้เจตนาดี แต่จนวันนี้แล้วพิสูจน์ว่าไม่เพียงพอ หนี้ครัวเรือนไม่มีทีท่าลดลง คนมีเงินไม่กล้าใช้ คนไม่มีเงินก็ไม่รู้จะไปหามาจากไหน

ไม่นับปัญหารายวัน ทั้งยาเสพติด การศึกษา สาธารณสุข ส่องไปทางไหนก็เจอแต่ความ “เปราะบางของสังคม”

รัฐบาลเพื่อไทยครองอำนาจกว่า 2 ปีแล้ว ก็ยังไม่สามารถบรรเทาปัญหาไปได้ จนมีคนเปรียบว่า “ผิดจากยุคไทยรักไทย”

แต่ที่หนักสุดสำหรับ “ครม.อิ๊งค์ 1/2” คือ “ปัญหาการเมือง”

1. ปัญหา “พรรคร่วมรัฐบาล”

หลังภูมิใจไทยถอนตัว “ครม.อิ๊งค์ 1/2” มีสถานะเป็นรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ แม้จะรู้กันว่ามี ส.ส.ฝ่ายค้านปันใจ พร้อมยกมือโหวตให้ ความอ่อนแอของรัฐบาลยังเกิดจากปัญหาภายในของพรรคร่วมรัฐบาลเอง ทั้งปัญหาภายในประชาธิปัตย์ และโดยเฉพาะ “รวมไทยสร้างชาติ” ที่มีการแบ่งข้างเป็น 2 ก๊กใหญ่ ด้วยจำนวน ส.ส.ในมือใกล้เคียงกัน

ก๊กหนึ่งอยู่ในตำแหน่งมาก่อน แต่มีอำนาจต่อรองทางการเมืองมาก หากถอนตัวรัฐบาลก็ล่ม อีกก๊กหนึ่งอำนาจต่อรองน้อยกว่า แต่ก็ช่วยงานค่ายสีแดงอย่างจริงจัง แต่ได้รับการตอบแทนด้อยกว่า เป็นอีกปัญหาที่รอวันปะทุ

ปัญหาของรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำคือล้มง่าย อาจเจอกลเกมฝ่ายตรงข้ามให้เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองได้ง่าย

โดยรวมก็คือรัฐบาลส่อไร้เสถียรภาพ-อ่อนแอ นั่นเอง

2. ปัญหาจาก “ฝ่ายแค้น”

พรรคภูมิใจไทยและพลังประชารัฐ ต่างก็เคยร่วมรัฐบาลเพื่อไทยตามปฏิญญาช็อกมินต์ ก่อนจะออกจากการร่วมรัฐบาลกลางทางกลายมาเป็นฝ่ายแค้น

ขั้วสีน้ำเงินมีจำนวน ส.ส. นักการเมืองท้องถิ่นอยู่ในมือจำนวนมาก พลันที่พ้นจากรัฐบาลก็ยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลทันที ภายใต้การบัญชาการของ 2 น. เนวิน ชิดชอบ และ น.หนู อนุทิน ชาญวีรกูล ที่พกความแค้นมาเต็มอัตราจากการถูกชิงเก้าอี้ รมว.มหาดไทย

ต้องไม่ลืมอีกหนึ่งเครื่องมือของค่ายสีน้ำเงินคือ “สภาบน” ซึ่งวันนี้เปิดเกม เดินหน้าชน ครม.อิ๊งค์ 1/2 ด้วยการยื่นถอดถอนออกจากนายกฯ รวมถึงความสามารถในการสกัด ขัดขวางกฎหมายต่างๆของรัฐบาล ที่จะเข้มข้นระบายความแค้นหนักมากจากนี้

อีกหนึ่งฝ่ายแค้นคือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็ออกมาขี่คลื่นกระแสรักชาติถล่ม ครม.อิ๊งค์ 1/2 ล่าสุด ก็สั่ง ส.ส.ในสังกัด ร่วมลงชื่อเปิดอภิปรายรัฐบาลแบบสุดลิ่มทิ่มประตู

แน่นอนว่า “ฝ่ายแค้น” ไม่ได้มีศักยภาพแค่การเล่นงานเพื่อไทยผ่านการเมืองในระบบ แต่ที่ชำนาญจริงคือช่องทางนอกระบบที่ทำงานอย่างสอดประสานกันต่างหาก

3. ปัญหาจาก “ฝ่ายค้าน”

ครม.อิ๊งค์ 1/2 ยังต้องเจอกับการทำงานของขั้วสีส้ม ศัตรูทางการเมืองอันดับ 1 ของฝ่ายอนุรักษนิยม กับบทบาทฝ่ายค้าน ที่แม้จะถูกนิติสงครามเล่นงานจนต้องถูกยุบพรรคแต่กลับไม่ส่งผลกระทบต่อความนิยมทางการเมืองของค่ายสีส้ม

นี่คือเหตุผลที่ทั้งๆ ที่มีการกดดันให้ น.ส.แพทองธารลาออกรับผิดชอบมากมาย แต่นายจักรภพ เพ็ญแข หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของ รบ.เพื่อไทย คนสนิทนายทักษิณ ชินวัตร ก็ออกมายอมรับตรงประเด็นเลยว่า ยุบไม่ได้

ถ้ายุบและเลือกตั้งใหม่ก็แพ้สีส้มขาดลอย การเดินหน้าอยู่ต่อ อย่างน้อยยังมี “โอกาสทำงาน” กู้คะแนนคืน

4. ปัญหาจาก “ม็อบฝ่ายขวา”

วันนี้การชุมนุมของฝ่ายอนุรักษนิยมเกิดขึ้นจริง มีการระดมทรัพยากรในการชุมนุมเกิดขึ้นแล้ว

แน่นอนว่าการชุมนุมเพียงครั้งเดียวยังวัดอะไรไม่ได้มาก คนชั้นกลางส่วนใหญ่ยังไม่ได้เข้าร่วม



แต่ประเด็นคือฝ่ายขวาไทยใช้โอกาสที่รัฐบาลผิดพลาดมาเป็นเงื่อนไขในการขยับ “รุกคืบในทางการเมือง” ต่อตระกูลชินวัตร



แน่นอนว่าหากรัฐบาลแก้เกมไม่ทัน พลังของม็อบฝ่ายขวาจะยิ่งขยายใหญ่ขึ้น

ซึ่งหากย้อนดูประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวที่ผ่านมา ความน่ากังวลของการเคลื่อนไหวเช่นนี้ก็คือ ความเสี่ยงในการเรียกร้องหาระบบที่ “ประชาธิปไตย” ลดน้อยลง




5. ปัญหาจาก “นิติสงคราม”

รอบนี้ ครม.อิ๊งค์ 1/2 เดินหน้าสู่สมรภูมินิติสงครามแบบเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะกับกรณีคลิปเสียง กลายเป็นคำร้องทั้งทางตรงและทางอ้อมหวังล้มให้ลงจากเก้าอี้นายกฯ

ด่านแรกเริ่มจาก ส.ว.ยื่นเอาผิดจริยธรรมผ่านช่องทางองค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช. พร้อมๆ กับประธานวุฒิสภาใช้ช่องทางยื่นศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้พ้นจากหน้าที่ และขอให้สั่งยุติปฏิบัติหน้าที่กรณีรับคำร้อง ยังไม่นับสารพัดนักร้องที่ต่อคิวยื่นเอาผิดนายกฯ

ขณะที่ตัวนายทักษิณในฐานะผู้นำจิตวิญญาณเพื่อไทยก็กำลังถูกรุกคืบอย่างหนักจากกรณีชั้น 14

ผลจากนิติสงครามนี้เองที่เป็นเรื่องน่าห่วงสำหรับเพื่อไทย เพราะหากย้อนอดีตรัฐบาลไทยรักไทย พลังประชาชน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กระทั่งนายเศรษฐา ทวีสิน ก็ถูกนิติสงครามประหารชีวิตทางการเมืองทั้งสิ้น

ชัดเจนว่าวันนี้ค่ายสีแดงเลือกเดินหน้าต่อ ด้วยมั่นใจว่ายังหวังใช้งบประมาณทำผลงานกอบกู้คะแนนนิยมคืนมาบ้าง แต่ก็มีคำถามตามมาว่า คะแนนนิยมจะกลับคืนมาทันไหม เมื่อเทียบกับความชอบธรรมที่เสียไป ไม่นับสารพัดปัญหาที่รออยู่
ตรงกันข้าม ด้วยเงื่อนไขการเมืองวันนี้ อดคิดไม่ได้ว่ามีโอกาสจะ “ดิ่งลงยิ่งกว่าเดิม”

ครม.อิ๊ง 1/2 จะมีปัญหาเรื่องเสถียรภาพตามมา ความอ่อนแอของฝ่ายการเมือง จะยิ่งทำให้ฝ่ายข้าราชการเกียร์ว่าง ฝ่ายอำนาจนิยมเข้มแข็ง

วิกฤตยิ่งลุกลาม เมื่อถึงวันนั้น การเลือกยุบสภาก็เสี่ยงว่าอาจจะสายเกินไปเช่นกัน

จากนี้ของ ครม.อิ๊งค์ 1/2 จึงไม่ง่าย จะทำอะไรก็กลัวไปหมด จะถอยหลังก็ไม่ได้ เพราะเต็มไปด้วยศัตรูเคยทำร้าย จะเดินหน้าต่อก็เป็นการเดินฝ่าดงระเบิด ไม่รู้จะไปได้ไกลแค่ไหน

ไม่ใช่แค่กับดักระเบิดที่รอเล่นงานรัฐบาล วันนี้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลได้ยกระดับ เปิดหน้าออกมายืนถือระเบิดมือให้เห็นชัดๆ พร้อมเขวี้ยงใส่รัฐบาลได้ตลอดเวลา

ครม.อิ๊งค์ 1/2 วันนี้จึงเปรียบเสมือนกำลังอยู่ใน “ทุ่งสังหาร” ในทางการเมืองหากมองให้กว้าง ที่น่าห่วงมากกว่ารัฐบาลก็คือ “ระบบการเมืองประชาธิปไตย”

บทเรียนที่ผ่านมาเห็นชัดว่า ฝ่ายอำนาจนิยมไม่เพียงสร้างเครื่องมือเพื่อกำจัดรัฐบาลเพื่อไทย แต่เป้าหมายจริงๆ ของการสร้างสภาวะ “ทุ่งสังหารทางการเมือง” คือ “สังหารประชาธิปไตยทั้งระบบ” นั่นเอง

CR:

https://www.matichon.co.th/weekly/column/article_848760


วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2568

การลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับมนุษยชาติ

ผู้หญิงคนนี้สวยจัง นี่คือ #การลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับมนุษยชาติ
💞💝🌹ᔕᑌᑕᕼ ᗩ ᗷEᗩᑌTIᖴᑌᒪ ᗪOᑎᗩTIOᑎ❤️💝🌹

ในวัย 93 ปี ดร. รูธ กอตเทสแมน ได้เปลี่ยนแปลงอนาคตของวงการแพทย์ด้วยการกระทำอันพิเศษเพียงครั้งเดียว เธอเป็นนักการศึกษามาช้านานและเป็นภรรยาม่ายของเดวิด กอตเทสแมน นักลงทุนมหาเศรษฐี เธอบริจาคเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ให้กับวิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในบรองซ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในการบริจาคเงินให้กับโรงเรียนแพทย์มากที่สุด การบริจาคของเธอ #จะทำให้ค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนแพทย์ทุกคน #ฟรีทั้งในปัจจุบันและอนาคต

นี่ไม่ใช่แค่ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่เป็นการลงทุนที่เปลี่ยนชีวิตนักเรียน ซึ่งไม่เช่นนั้นหลายคนอาจจบการศึกษาโดยมีหนี้สินกว่า 200,000 ดอลลาร์ โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของนิวยอร์กซิตี้ และขณะนี้จะให้โอกาสแพทย์ในอนาคตได้มุ่งเน้นไปที่การแพทย์ ไม่ใช่เงิน

รูธ กอตเทสแมนปฏิเสธที่จะให้ชื่อของเธอปรากฏบนอาคารใดๆ เธอเพียงต้องการทำสิ่งที่ถูกต้อง

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02GRo99yssSZ3Ff82xNzqedM5cC4PZjQk5VVSoUM5eMov6BWL9tukPDjE63pdSpi9nl&id=100094630824382

 At 93, Dr. Ruth Gottesman has just changed the future of medicine in a single, extraordinary act. A longtime educator and widow of billionaire investor David Gottesman, she donated $1 billion to the Albert Einstein College of Medicine in the Bronx, one of the largest donations ever to a medical school. Her gift will make tuition free for all medical students, now and in the future.

This isn’t just generosity, it’s a life-changing investment in students, many of whom would otherwise graduate with over $200,000 in debt. Located in one of New York City’s poorest boroughs, the school will now offer future doctors the chance to focus on medicine, not money.

Ruth Gottesman declined to have her name on any building. She simply wanted to do what was right.