สุรชาติ บำรุงสุข พุูดถึงวิชาเปลี่ยนผ่านวิทยา ให้ภาพการเมืองไทยผนวกกระแสโลก ประชาธิปไตยสลับเผด็จการและพื้นที่สีเทา พร้อมตั้งโจทย์ให้ล่วงหน้า หลัง "เปลี่ยนผ่าน" ระลอกล่าสุด มีอะไรต้องทำ ไม่ใช่พลาดโอกาสซ้ำรอยปี 2535
24 มิ.ย. 2559 ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการเรื่อง "84 ปี 2475 อนาคตประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย" ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ สุรชาติ บำรงสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงคลื่นประชาธิปไตย 3 ระลอก บทเรียนเผด็จการทหารในละตินอเมริกา และ 10 โจทย์หลังเปลี่ยนผ่านในไทย รายละเอียด มีดังนี้
วิชาเปลี่ยนผ่านวิทยา เป็นกระแสหลักของคนยุคผม เพราะตอนไปเรียนปริญญาเอกในต่างประเทศนั้น มีโจทย์ใหญ่ติดตัวไปตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มันทำให้ต้องคิดว่าจะอธิบาย 14 ตุลา 6 ตุลาอย่างไร และจะคิดถึงอนาคตอย่างไร
ระหว่างที่นั่งดูการเมืองไทยและต้องไปนั่งใช้ชีวิตที่ “มหาวิทยาลัยชีวิต” ที่นนทบุรี ตอนนั้นไม่เห็นแสงสว่างในอนาคตของไทย แต่พอไปเรียนหนังสือต่างประเทศจึงเริ่มมองใหม่และเริ่มเห็นทฤษฎีระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งมันเป็นกระแสโลกด้วยในช่วงปลายทศวรรษ 1970 เช่น เป็นการสิ้นสุดของอำนาจนิยมในยุโรปใต้ โดยเฉพาะในสเปน, มีการถดถอยของระบอบทหารในละตินอเมริกาทั้งที่เคยเข้มแข็งที่สุดในโลก, ในเอเชียใต้อย่างปากีสถาน และเอเชียตะวันออกอย่างเกาหลีใต้ เริ่มเอาทหารออกจากการเมือง, ระบอบสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกพัง, ระบอบทหารในแอฟริกาก็พัง
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นไล่ๆ กันหมด พูดง่ายๆ ว่า หลัง 2519 ระบอบอำนาจนิยมทั่วโลกพังหมด และแนวคิดของเสรีนิยมเริ่มเฟื่องฟู
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นไล่ๆ กันหมด พูดง่ายๆ ว่า หลัง 2519 ระบอบอำนาจนิยมทั่วโลกพังหมด และแนวคิดของเสรีนิยมเริ่มเฟื่องฟู
เหล่านี้ทำให้นักรัฐศาสตร์ในขณะนั้นออกมาพูดว่า ชุดความคิดทางรัฐศาสตร์ที่เคยคิดว่าการยึดอำนาจเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองต้องคิดใหม่ เกิดเป็นทฤษฎีเปลี่ยนผ่านวิทยา ซึ่งศึกษาเงื่อนไข กระบวนการ ปัญหาอุปสรรค ความสำเร็จ และความล้มเหลว เพื่อตอบคำถามว่า ถ้าจะพาสังคมออกจากอำนาจนิยมจะมีเงื่อนไข กระบวนการหรืออุปสรรคอะไรบ้าง ถ้าย้อนกลับไปดูจะเห็นบทความเยอะมาก รวมถึงที่พูดถึงสถานการณ์ของไทยด้วย แต่งานชิ้นหนึ่งที่ถูกใช้มากในฐานะรากทางความคิด คือ Democracy’s Third Wave ของฮันติงตัน ฮันติงตันอธิบายว่าประชาธิปไตยมี 3 ระลอก
ระลอกแรก ปี 1820 มีการขยายสิทธิของผู้ชายในสังคมอเมริกา ชายทุกคนได้ออกเสียง นั่นถือเป็นจุดเริ่มต้นใหญ่ ในรายละเอียดจะเห็นการแข่งขันการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างศิษย์เก่าฮาร์วาร์ด กับศิษย์เก่าเวสต์พ้อยท์ เรียกว่าตอนนั้นทหารตกผลึกแล้วว่าต้องเข้าไปอยู่ในระบอบการเมืองเต็มรูป กระแสนี้พัดนานจนต้นศตวรรษที่ 20 จบลงในราวช่วงมุสโสลินีขึ้นสู่อำนาจในอิตาลี และตามมาด้วยฮิตเลอร์และอื่นๆ ในสภาพอย่างนี้โจทย์ประชาธิปไตยจบที่สงครามโลกครั้งที่สอง
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง เมื่อเยอรมนี-อิตาลี-ญี่ปุ่น แพ้สงคราม ทำให้ประเทศเหล่านี้เป็นประชาธิปไตย สงครามกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศกลายเป็นประชาธิปไตย น่าเสียดายที่ไทยเราไม่ได้เข้าสงคราม เราอยู่ฝ่ายอักษะโดยอยู่กับญี่ปุ่น แต่พอญี่ปุ่นแพ้ไทยกลับไม่แพ้ หากเราแพ้สงครามและต้องยอมรับข้อตกลงของอังกฤษ 1 ใน 21 ประการของข้อตกลงที่อังกฤษบีบเราหลังสงครามคือ ต้องไม่มีกองทัพ แต่อเมริกามาช่วย เราจึงไม่แพ้สงคราม
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง เมื่อเยอรมนี-อิตาลี-ญี่ปุ่น แพ้สงคราม ทำให้ประเทศเหล่านี้เป็นประชาธิปไตย สงครามกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศกลายเป็นประชาธิปไตย น่าเสียดายที่ไทยเราไม่ได้เข้าสงคราม เราอยู่ฝ่ายอักษะโดยอยู่กับญี่ปุ่น แต่พอญี่ปุ่นแพ้ไทยกลับไม่แพ้ หากเราแพ้สงครามและต้องยอมรับข้อตกลงของอังกฤษ 1 ใน 21 ประการของข้อตกลงที่อังกฤษบีบเราหลังสงครามคือ ต้องไม่มีกองทัพ แต่อเมริกามาช่วย เราจึงไม่แพ้สงคราม
คลื่นระลอกที่สอง จบลงในประมาณปี 1964 หรือ พ.ศ.2507 การทำรัฐประหารในบราซิลและเปรู ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดเสนานิยมหรืออำนาจนิยมที่ใหญ่ที่สุดในยุคสมัยของพวกเรา แล้วจบด้วยความสำเร็จส่วนหนึ่งคือ อยู่ได้นานจริงแต่ก็ไปไม่รอดในท้ายที่สุด ตอนนั้นพอละตินอเมริกาเริ่มขยายวงการรัฐประหาร เราจะเห็นรัฐประหารเกิดทั่วโลก
กระแสนี้มีมาเรื่อยๆ แล้วก็เจอปัญหาอีกในคลื่นลูกที่สามที่ยังเถียงในเชิงเงื่อนเวลากันอยู่ ฮันติงตันมองว่า การเปลี่ยนผ่านสเปน นายพลฟรังโกลงจากอำนาจ เปิดให้ประชาธิปไตยและสถาบันกษัตริย์ฟื้นตัว แต่ขณะเดียวกันกองทัพในละตินอเมริกาภายใน 30 ปีกลับไม่เหลือทหารปกครองเลยในละตินอเมริกาสักประเทศเดียว ในบริบทอย่างนี้ประชาธิปไตยลูกที่สามมากับการสิ้นสุดของสงครามเย็น เงื่อนไขการกลัวคอมมิวนิสต์หมด อันที่จริงระบอบประชาธิปไตยในไทยก็เกิดจากความกลัวคอมมิวนิสต์แล้วเอานักศึกษาเป็นเหยื่อ
กระแสนี้มีมาเรื่อยๆ แล้วก็เจอปัญหาอีกในคลื่นลูกที่สามที่ยังเถียงในเชิงเงื่อนเวลากันอยู่ ฮันติงตันมองว่า การเปลี่ยนผ่านสเปน นายพลฟรังโกลงจากอำนาจ เปิดให้ประชาธิปไตยและสถาบันกษัตริย์ฟื้นตัว แต่ขณะเดียวกันกองทัพในละตินอเมริกาภายใน 30 ปีกลับไม่เหลือทหารปกครองเลยในละตินอเมริกาสักประเทศเดียว ในบริบทอย่างนี้ประชาธิปไตยลูกที่สามมากับการสิ้นสุดของสงครามเย็น เงื่อนไขการกลัวคอมมิวนิสต์หมด อันที่จริงระบอบประชาธิปไตยในไทยก็เกิดจากความกลัวคอมมิวนิสต์แล้วเอานักศึกษาเป็นเหยื่อ
“คำถามคือ มีคลื่นลูกสี่ไหม และฮันติงตันเตือนว่าระวังกระแสตีกลับ”
สิ่งที่เห็นในสังคมไทย ถ้าเอาตัวแบบฮันติงตันมาใช้ ผมว่ากระแสคลื่นประชาธิปไตยไทยมี 3 ระลอก คือ 24 มิถุนายน 2475, 14 ตุลาคม 2516 และ พฤษภาคม 2535
ในสามระลอกเห็นอะไร ถ้าสังเกตอย่างละเอียดจะพบว่ามันไม่ใช่มาแบบคลื่นลูกใหญ่ลูกเดียวแต่มีเค้ารางมาก่อน เช่น ถ้าดู 2475 ก็อย่าดูแคลนเหตุการณ์ที่เกิดใน พ.ศ. 2427 คือ คำกราบบังคับทูลของข้าราชการทั้งที่เป็นเชื้อพระวงศ์และคนธรรมดา กับรัชกาลที่ 5 ขอให้สยามเปลี่ยนไปใช้รัฐธรรมนูญ ช่วงการเปลี่ยนแปลงนี้ของสยามไล่เลี่ยกับญี่ปุ่นและจีน ญี่ปุ่นเริ่มต้นด้วยการสร้างรัฐและปฏิรูปรัฐขนาดใหญ่ ออกแบบรัฐธรรมนูญ รัฐสภา แต่ของเราเวลาจะสร้างรัฐจริงๆ สยามเกิดเป็นประเทศเป็นรัฐสมัยใหม่เพราะเส้นเขตแดนเมื่อสมัย ร.5 เท่านั้นเอง การสร้างรัฐเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างระบอบการเมือง ช่วงที่สยามเริ่มสร้างรัฐเราดันไปสนใจเรื่องการปฏิรูประบบราชการ แต่ไม่ค่อยวิเคราะห์กันเรื่องโครงสร้างส่วนบน ผลจากการกราบบังคมทูลครั้งนั้นไม่เกิดอะไรขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้น ผมเรียกว่า รัฐประหาร 2454 หรือกบฏ รศ.130 เป็นความพยายามครั้งแรกของปีกนายทหารหนุ่ม ยศสูงสุดอยู่แค่ร้อยเอก รวมตัวกันเพียง 2 ปีและถูกจับง่ายๆ เพราะข่าวรั่ว ในกระแสระลอกคลื่น ความเปลี่ยนแปลงที่กลุ่มคนส่วนหนึ่งได้มีโอกาสไปเห็นยุโรปแล้วอยากเห็นบ้านตัวเองเจริญตามจึงเสนอให้มีรัฐธรรมนูญ
คลื่นประชาธิปไตยลูกแรกที่มีเค้ามานานนั้นประสบความสำเร็จในปี 2475 โดยคณะราษฎร แต่มันก็มีโจทย์ซ่อนอยู่เยอะมาก รัฐบาลคณะราษฎรเกิดขึ้นจริงประมาณ 16 ธ.ค.2481 เพราะ จอมพล ป. จัดตั้งคณะรัฐมนตรีได้ ถ้ามองประกอบกับกระแสโลก เราจะพบว่าช่วง 2475 นั้นมุสโสลินีขึ้นครองอำนาจมาครบ 10 ปี ยุโรปเริ่มปั่นป่วนกับกระแสสงครามแล้ว กระแสขวาขึ้นสูงและมาพร้อมกับการทวงดินแดนคืน ในไทยก็เช่นกันที่เชื่อว่าไทยมีพื้นที่มากกว่าตัวประเทศไทย จุดสูงสุดของกระแสนี้คือการที่นิสิตจุฬาและธรรมศาสตร์เดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าสู่สงคราม คลื่นประชาธิปไตยลูกแรก โจทย์ของประชาธิปไตยกลายเป็นปัญหาสงคราม
กระแสประชาธิปไตยของสยามรอบแรกอายุเพียง 15 ปี 2475-2490 แต่มรดกใหญ่เหลืออยู่ 2 อย่าง คือ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและการประกวดนางสาวไทย ที่บอกว่าจบปี 2490 เพราะคนที่เข้าร่วมรัฐประหารครั้งนั้นไม่มีใครพูดถึงอุดมการณ์ 2475 อีกเลย แต่ระบอบอำนาจนิยมแบบ 2490 สุดท้ายก็คุมไม่ได้ มีการกวาดล้างกบฏวังหลวงซึ่งจุดสุดท้ายของปรีดีและจุดจบของปีกเสรีไทยในการเมือง หลัง 2490 พวกเขาก็มีวิกฤตการณ์ไล่เรียงไปจนถึงจอมพลสฤษดิ์ จริงๆ สมัยจอมพล ป. ก็เริ่มมีกระแสความคิดแบบเปิด มรดกสำคัญคือ คำว่า ไฮด์ปาร์ก และลักษณะการปราศัยแบบนั้นที่มาจากอังกฤษ และมีความพยายามที่จะเปิดให้มีการเลือกตั้ง คำถามในทางวิชาการ คือ เราจะเรียกระบอบอำนาจนิยมที่ยอมให้มีการเลือกตั้งว่าอย่างไร
คลื่นเผด็จการ 2490 นั้นมายาว และเริ่มมาเปิดให้มีความเป็นเสรีนิดหนึ่งในการเลือกตั้งของจอมพลถนอมปี 2511 รัฐธรรมนูญที่ร่างตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์มาเสร็จยุคจอมพลถนอม ตอนจอมพลสฤษดิ์มีการตั้งพรรคการเมือง มายุคจอมพลถนอมก็มีการตั้งพรรคการเมือง พรรคสหประชาไทย แต่สุดท้าย ระบอบการเมืองที่ผู้นำทหารยอมเปิด เปิดเสร็จแล้วคุมไม่อยู่ เขามีคำตอบชัดว่า ยึดคืน เกิดขึ้นในปี 2514 ขณะที่กระแสโลกเริ่มเปลี่ยน ปัญญาชนไทยที่ไปเรียนต่างประเทศแล้วกลับมาก็มีแนวคิดเสรีนิยม สุดท้ายจบด้วยคลื่นประชาธิปไตยลูกที่สอง ในปี 2516
คลื่นประชาธิปไตยลูกที่สอง ในปี 2516 ก็เผชิญกับปัญหาใหญ่ มันแทบจะเชื่อมต่อไม่ได้กับคนรุ่นเก่า ไม่ได้รับมรดกทางความคิด สุดท้ายมันก็มีอายุเพียง 3 ปี ชีวิตของ 14 ตุลาจบที่ลง 6 ตุลา และมันจบลงอย่างชัดเจนที่สุดในการเกิดสงครามอินโดจีนในประเทศเพื่อนบ้าน อินโดจีนเปลี่ยนทั้งหมดกลายเป็นโจทย์ใหญ่ในภูมิภาค ดังนั้นคำตอบคือ ต้องจัดการกับขบวนนักศึกษา พอเปลี่ยนเป็นเผด็จการ เผด็จการก็เจอเงื่อนไขสงครามเช่นเดียวกับที่ประชาธิปไตยยุค 2475 เจอ พอมี 6 ตุลาคมคนก็เข้าป่า กระแสสงครามชุดนี้มันทำให้คิดได้ว่า ถ้าระบอบอำนาจนิยมยังเดินอย่างที่เคยเดินมา สงครามกลางเมืองเกิดแน่ๆ ดังนั้น รัฐประหารปี 2520 คือการถอดชนวนสงครามกลางเมือง เรื่องใหญ่มาก ด้วยชุดความคิดที่เชื่อว่าอุดมการณ์ขวาจัดไม่ใช่เงื่อนไขที่จะชนะสงครามคอมมิวนิสต์และจะรอดจากสงครามกลางเมือง ปีกทหารที่เชื่อแบบนี้ตัดสินใจยึดอำนาจ เปลี่ยนนายกฯ จากธานินท์เป็นเกรียงศักดิ์ ถ้าดูแล้วจะเห็นว่า ทั้งปักกิ่งและวอชิงตัน ต่างแสดงความยินดีกับรัฐประหารครั้งนั้น แล้วก็เกิดรัฐธรรมนูญปี 2521 ซึ่งอาจผูกมัดสิทธิบางอย่างแต่ก็เปิดบางอย่าง
“เราเริ่มเห็นระบอบการปกครองแบบเฉดสีเทา หลัง 2490 เราเห็นบางช่วง หลัง 14 ตุลาตัวอย่างของระบอบการปกครองที่อยู่ในพื้นที่สีเทาคือ ระบอบการปกครองที่มากับรัฐธรรมนูญ 2521”
อย่างไรก็ตาม มันก็มาจบที่ชาติชาย ชุณหะวัณ สุดท้ายสะดุดที่รัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ 2534 แต่ฝ่ายอำนาจนิยมก็ไม่สามารถจัดการตัวเองได้ จบที่พฤษภา 2535 ตอนนั้นเรามีความฝันใหญ่ที่สุด
“เราเชื่อว่าการยึดอำนาจจบแล้วในสังคมไทย เชื่อว่ารัฐประหารกุมภาปี 34 เป็นครั้งสุดท้ายของการเมืองไทย แต่ผมไม่เคยเชื่อเลย”
งานเขียนผมหลังปี 2535 พูดด้วยประสบการณ์ที่นั่งมองละตินอเมริกา สังคมไทยชอบมองประชาธิปไตยแบบอุดมคติ เราแทบไม่ยอมรับว่ามันเป็นระบอบทางการเมืองด้วยไม่ใช่แค่อุดมการณ์ ดังนั้น คำถามคือ ยุทธศาสตร์ของการทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็งทำยังไง นักเคลื่อนไหวในละตินอเมริกาถกกันเยอะมาก แต่ไม่เห็นในสังคมไทย ประเด็นเช่นนี้เคยมีอยู่ครั้งเดียวที่จุฬาฯ เป็นการประชุมใหญ่ครั้งเดียวของปีกประชาธิปไตย แต่สุดท้ายกลับไม่ได้ทำอะไรเลย นี่แปลว่าโอกาสมันผ่านไป โดยที่เราไม่สามารถบริหารจัดการ หรือโดยเราไม่เคยคิดสร้างยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง และเมืองไทยนั้นแย่ที่สุดเพราะมันอยู่ในภาวะ Mixit หรือ Military Exit (ล้อไปกับ Brexit ของอังกฤษ)
ตกลงหลัง 2475 เราเคยคิดเรื่องการบริหารจัดการกองทัพเพื่อให้กองทัพสามารถอยู่กับสังคมที่เป็นประชาธิปไตยไหม ผมคิดว่าตอนนั้นมันคงมีปัญหาอย่างอื่น หลัง 14 ตุลาเราก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก แต่พอ 2535 ที่มีโอกาสเราก็กลับปล่อยโอกาสผ่านเลยไป
ดังนั้น คลื่นประชาธิปไตยไทย 3 ลูกนี้เมื่อผ่านมาถึงรัฐประหารปี 2549 จริงๆ ผมคิดว่ามันก่อตัวหรือส่อสัญญาณตั้งแต่ 2546 เพราะมีเวทีแล้วทั้งเปิดและปิด จึงนับเป็นการล้มของระบอบประชาธิปไตยที่เกิดหลังปี 2535 การล้มลงครั้งนี้น่าสนใจ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เข้ามาอยู่เพียงไม่นาน ปีกอนุรักษ์นิยมอาจรู้สึกว่าเสียของ แต่ย้อนกลับไปดูผมคิดว่าเป็นเงื่อนไขของการเมืองโลกและไทยยืนไม่ได้ ไม่มีที่ยืนเพราะโลกเขาไม่รับ ผู้นำยุคนั้นจึงตัดสินใจออกจากอำนาจด้วยการเลือกตั้ง
ในการยึดอำนาจรอบหลัง ปี 2557 เราเห็นความเปลี่ยนแปลงเยอะมาก รอบนี้เป็นการสถาปนาระบอบอำนาจนิยมชุดใหญ่ที่สุด ผมไม่เคยคิดว่าบทความที่เขียนล้อเรื่อง สฤษดิ์สองหรือสฤษดิ์น้อย จะกลายเป็นจริง อาการหลายอย่างคล้ายกันมาก การรัฐประหารรอบนี้มีเงื่อนไขพิเศษหลายอย่างบวกกับสภาวะที่ผู้นำทหารไทยที่เชื่อว่า ถ้าโลกกดดันไทยก็มีทางออก เพราะปักกิ่งกับมอสโกไม่เคยส่งเสียงหลังรัฐประหารรอบนี้เลย เขาเชื่อว่าบริหารแรงกดดันได้ มิติทางเศรษฐกิจก็น่าสนใจ ตอนนี้ประชารัฐทำให้ผมนึกถึงรัฐนิยมของจอมพล ป. ผมว่าเขาคิดว่าเขาพยายามสถานปนาระบอบอำนาจนิยมที่ยั่งยืนและมีอายุยาวนาน ผมไม่แน่ใจว่าเขาเห็นบทเรียนในละตินอเมริกาไหม ทหารที่นั่นพยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ว่าต้องการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ ล้างคอร์รัปชันและสร้างมิติใหม่ทางสังคม เป็นบทบาททหารกับการพัฒนา แต่สุดท้ายพวกเขาจบลงด้วยเงื่อนไขของตัวเอง เมื่อให้คำสัญญามากแล้วทำไม่ได้ กลายเป็นปมวิกฤตเศรษฐกิจชุดใหญ่ พาหลายประเทศเข้าสู่ IMF บวกกับเงื่อนไขสงครามเย็นจบ ไม่มีคอมมิวนิสต์ให้กลัวแล้ว
ดังนั้น ความน่าสนใจคือ วิธีการอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เรื่องใหม่มีอย่างเดียวคือ ในการเปลี่ยนผ่านหลายรอบ ชนชั้นกลางไม่เอาทหาร ทำไมรอบนี้เอาทหาร หรือชนชั้นกลางไทยเป็นตัวอย่างของอีกหลายประเทศทั่วโลก ที่พอเปลี่ยนผ่านเสร็จก็เริ่มกลัวรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้วสุดท้ายก็ไปอุ้มรัฐบาลทหารกลับสู่อำนาจใหม่อย่างอาหรับสปริง หรือว่าประชาธิปไตยเป็นกระแสที่วน หรือประชาธิปไตยในคลื่นลูกที่สามมันเดินไปได้แค่ครึ่งเดียว ไม่พาไปสู่ลูกที่ 4
การเปลี่ยนผ่านที่ไม่จบเป็นการปกครองที่อยู่ในพื้นที่สีเทาและกำลังรอการเปลี่ยนผ่านอีกหน ถ้าเปลี่ยนผ่านรอบแรกจบมันจะเดินไปสู่การสร้างเงื่อนไขประชาธิปไตยให้เป็นเกมเดียวของการแข่งขัน
ถ้าเราย้อนดูทั่วโลก การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองไม่ว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ล้วนอยู่ใน 3 เส้นทางใหญ่
1. การออกจากระบอบทหาร ซึ่งเงื่อนไขคือทหารยอมรับไหมว่าอยู่ภายใต้แรงกดดัน ถ้ายอมรับก็จะเกิด และทหารปีกปฏิรูปเมื่อรู้ว่ากองทัพแบกการเมืองไม่ไหว ในปรากฏการณ์ทั่วโลกปีกนี้จะตัดสินใจกดดันให้ระบอบทหารที่เป็นรัฐบาลถอยออกจากการเมือง นี่คือเงื่อนไขของเหตุการณ์วันที่ 20 ตุลา 2520 เงื่อนไขนี้เกิดในละตินอเมริกา
2. เป็นสิ่งที่เกิดในละตินอเมริกาแต่ไม่เกิดในไทย นั่นคือ มีการเจรจากันระหว่างปีกประชาธิปไตยกับทหาร แล้วตัดสินใจร่วมกัน
3.การลุกฮือของประชาชน
สิ่งที่เราตอบไม่ได้คือ แล้วอนาคตไทยอยู่ในหนทางไหน เราเห็นเงื่อนไขการเปลี่ยนผ่านแบบการกดดันกันเอง และการลุกฮือ แต่ยังไม่เคยเห็นการเจรจาสองฝ่าย เป็นไปได้ไหม หรือสังคมไทยแตกแยกเกินกว่าเจรจา ถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็รออย่างเดียว ย้อนกลับไปดูภาพข่าวที่ยูเครน การชัตดาวน์กรุงเทพฯ กับยูเครนมันก็คล้ายกัน
1. การออกจากระบอบทหาร ซึ่งเงื่อนไขคือทหารยอมรับไหมว่าอยู่ภายใต้แรงกดดัน ถ้ายอมรับก็จะเกิด และทหารปีกปฏิรูปเมื่อรู้ว่ากองทัพแบกการเมืองไม่ไหว ในปรากฏการณ์ทั่วโลกปีกนี้จะตัดสินใจกดดันให้ระบอบทหารที่เป็นรัฐบาลถอยออกจากการเมือง นี่คือเงื่อนไขของเหตุการณ์วันที่ 20 ตุลา 2520 เงื่อนไขนี้เกิดในละตินอเมริกา
2. เป็นสิ่งที่เกิดในละตินอเมริกาแต่ไม่เกิดในไทย นั่นคือ มีการเจรจากันระหว่างปีกประชาธิปไตยกับทหาร แล้วตัดสินใจร่วมกัน
3.การลุกฮือของประชาชน
สิ่งที่เราตอบไม่ได้คือ แล้วอนาคตไทยอยู่ในหนทางไหน เราเห็นเงื่อนไขการเปลี่ยนผ่านแบบการกดดันกันเอง และการลุกฮือ แต่ยังไม่เคยเห็นการเจรจาสองฝ่าย เป็นไปได้ไหม หรือสังคมไทยแตกแยกเกินกว่าเจรจา ถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็รออย่างเดียว ย้อนกลับไปดูภาพข่าวที่ยูเครน การชัตดาวน์กรุงเทพฯ กับยูเครนมันก็คล้ายกัน
ถ้าการเปลี่ยนผ่านเกิด ไม่ว่าด้วยเงื่อนไขอะไร สิ่งที่จะถูกทิ้งไว้เป็นปัญหามีอยู่ 10 ประการ ซึ่งเราเห็นได้จากบทเรียนของละตินอเมริกา
1. เราจะจัดการรัฐธรรมนูญในบ้านอย่างไร ฝ่ายอำนาจนิยมห่วงการสูญเสียอำนาจ ในวิชาเปลี่ยนผ่านวิทยา มองว่า ฝ่ายนั้นกลัวการจัดสรรใหม่ พูดง่ายๆ เชื่อว่ากระบวนการสร้างประชาธิปไตยเป็นกระบวนการจัดสรรใหม่เปิดพื้นที่ให้ชนชั้นล่างและชนชั้นอื่นเข้ามา ถ้าจะให้รัฐธรรมนูญเป็นเงื่อนไขของการประนีประนอมทางการเมืองก็ต้องคิดใหม่ แต่ถ้ายังจะเป็นการผูกขาด คำตอบอยู่ในความขัดแย้งใหญ่ในอนาคต
2. ต้องคุยเรื่องการกำหนดรูปแบบและเงื่อนไขการปกครองในอนาคต ในละตินอเมริกาเขากลัวสงครามกลางเมือง ในการออกแบบเขาจึงคิดไปไกลเพื่อรองรับสถานการณ์สงคราม เขาคิดละเอียด แต่ต้องยอมรับว่าบ้านเราไม่ค่อยคุย
3. อะไรคือภารกิจของทหาร ในรัฐธรรมนูญ
4. จะเอาอย่างไรกับกฎหมายความมั่นคงและการรองรับสถานการณ์พิเศษ
5. อำนาจและขอบเขตของกฎหมายทหาร เช่น ศาลทหาร จะออกแบบอย่างไร ในละตินอเมริกาออกแบบตัวนี้ชัด
6. จัดการปัญหามรดกของระบอบเผด็จการ จะทำอย่างไรกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น
7. ปัญหาบทบาทของฝ่ายค้าน
8. ขอบเขตอำนาจการสั่งการของผู้บังคับบัญชาทางทหารอยู่ในระดับใดที่ไม่เป็นความผิดทางกฎหมาย
9. การปรับบทบาทของกองทัพในสถานการณ์ความมั่นคงใหม่ เช่น การก่อการร้าย เรียกว่าต้องปฏิรูปงานความมั่นคง
10. ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทางการเมือง
1. เราจะจัดการรัฐธรรมนูญในบ้านอย่างไร ฝ่ายอำนาจนิยมห่วงการสูญเสียอำนาจ ในวิชาเปลี่ยนผ่านวิทยา มองว่า ฝ่ายนั้นกลัวการจัดสรรใหม่ พูดง่ายๆ เชื่อว่ากระบวนการสร้างประชาธิปไตยเป็นกระบวนการจัดสรรใหม่เปิดพื้นที่ให้ชนชั้นล่างและชนชั้นอื่นเข้ามา ถ้าจะให้รัฐธรรมนูญเป็นเงื่อนไขของการประนีประนอมทางการเมืองก็ต้องคิดใหม่ แต่ถ้ายังจะเป็นการผูกขาด คำตอบอยู่ในความขัดแย้งใหญ่ในอนาคต
2. ต้องคุยเรื่องการกำหนดรูปแบบและเงื่อนไขการปกครองในอนาคต ในละตินอเมริกาเขากลัวสงครามกลางเมือง ในการออกแบบเขาจึงคิดไปไกลเพื่อรองรับสถานการณ์สงคราม เขาคิดละเอียด แต่ต้องยอมรับว่าบ้านเราไม่ค่อยคุย
3. อะไรคือภารกิจของทหาร ในรัฐธรรมนูญ
4. จะเอาอย่างไรกับกฎหมายความมั่นคงและการรองรับสถานการณ์พิเศษ
5. อำนาจและขอบเขตของกฎหมายทหาร เช่น ศาลทหาร จะออกแบบอย่างไร ในละตินอเมริกาออกแบบตัวนี้ชัด
6. จัดการปัญหามรดกของระบอบเผด็จการ จะทำอย่างไรกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น
7. ปัญหาบทบาทของฝ่ายค้าน
8. ขอบเขตอำนาจการสั่งการของผู้บังคับบัญชาทางทหารอยู่ในระดับใดที่ไม่เป็นความผิดทางกฎหมาย
9. การปรับบทบาทของกองทัพในสถานการณ์ความมั่นคงใหม่ เช่น การก่อการร้าย เรียกว่าต้องปฏิรูปงานความมั่นคง
10. ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทางการเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น