เพลงฉ่อยชาววัง

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

**สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน***

**สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน***
(เก็บตกจากในห้อง Line)
หลักสูตร.FEF#3
วันพุธที่ 18 มีนาคม 2558 ช่วง Trend Economics โดยดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ (รองผู้อำนวยการ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง) จัดโดย.สถาบัน CEDI ม.กรุงเทพ
• สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
- เศรษฐกิจไทยตอนนี้โตน้อยมากเมื่อเทียบกับศักยภาพที่เป็นไปได้
- การส่งออกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีน้ำหนักมาก (75%) ในโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เมื่อภาคส่งออกที่เป็นสัดส่วนใหญ่ไม่โตเท่าที่ตั้งเป้าไว้จึงส่งผลให้เศรษฐกิจไทยแผ่ว
- จากที่เราคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะโตขึ้นด้วยการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ แต่ตัวเลขค่าใช้จ่ายภาครัฐทั้งจากการลงทุนและค่าใช้จ่ายอื่นรวมกันไม่ถึง 15% ของ GDP เศรษฐกิจจึงไม่น่าจะฟื้นได้เร็วจากการกระตุ้นองค์ประกอบนี้อย่างเดียว
- ภายนอกประเทศดูสัดส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเมื่อเทียบกับ GDP เปรียบเสมือนเวลาดูคนที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ ต้องดูด้วยว่าส่วนต่างที่ขาดดุลนั้นเป็นสัดส่วนเท่าไรเมื่อเทียบกับรายได้ของคนๆ นั้น
- ปราการด่านสุดท้ายของตัวชี้วัดเสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศคือทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องของประเทศ องค์ประกอบส่วนนี้ทำให้เศรษฐกิจไทยมั่นคงมาก ไม่ถูกลดระดับความน่าเชื่อถือในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาแม้ว่าจะเกิดเหตุวุ่นวายในบ้านเมืองมากมาย ต่างจากตอนปีพ.ศ. 2540 ที่ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงมาก แม้ว่าส่วนอื่นจะยังดูดีก็ไม่ทำให้ดูน่าเชื่อถืออีกต่อไป ค่าเงินบาทจึงอ่อนตัวลงมาก
- หากดูเสถียรภาพภายในประเทศ ดูที่อัตราว่างงาน, NPL (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) ของธนาคาร และสัดส่วนหนี้สาธารณะเมื่อเทียบกับ GDP
- ขณะนี้ ประเทศไทยมีกำลังแรงงาน (อายุ 15-60 ปี)39.7 ล้านคนจากประชากรไทย 65 ล้านคน มีคนว่างงาน 3 แสนคนซึ่งถือว่าน้อยมาก คิดเป็นไม่ถึง 1% จึงเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยดูมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
- ปัจจุบัน NPL ของธนาคารอยู่ที่ 2% และยังมีปราการด่านสุดท้ายอีกอย่างหนึ่งที่เพิ่มความน่าเชื่อถือคือ ข้อกำหนดที่ให้ธนาคารต้องมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง มาตรฐานโลกกำหนดที่ 8%มาตรฐานธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ที่ 8.5%ตัวเลขจริงของธนาคารปัจจุบันอยู่ที่ 16% ถือว่าธนาคารไทยเข้มแข็งมาก
- สำหรับหนี้สาธารณะ มาตรฐานโลก OECD หรือยุโรปกำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะเมื่อเทียบกับ GDPอยู่ที่ 60% มาตรฐานธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ที่ 60% เช่นเดียวกันตามมติคณะรัฐมนตรี ตัวเลขจริงของประเทศอยู่ที่ 46% ถือว่ายังมั่นคงมาก แต่ในอนาคตอาจจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการดำเนินนโยบายของภาครัฐในด้านต่างๆ
- สรุปคือ เศรษฐกิจไทยปัจจุบันพึ่งพาภาคส่งออกเยอะ ขณะที่ภาคส่งออกไม่ดี การบริโภคในประเทศมีปัญหาแต่ยังไม่สายเกินแก้ เศรษฐกิจจึงแผ่ว แต่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังดีอยู่
• แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะสั้น
- ดร.เอกนิติย้ำ “ท่ามกลางวิกฤติ มีโอกาส”
- เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเปราะบาง สหรัฐมีสัญญาณฟื้นตัว ญี่ปุ่นดูดีขึ้นจากการออกนโยบายช่วงก่อนแต่ยังคงชะลอตัว ขณะที่จีนและยุโรปดูไม่ค่อยดี สำหรับ CLMV ขยายตัวในอัตราเร่ง
- การเงินโลกผันผวน ดอลลาร์แนวโน้มจะแข็งขึ้นและดอกเบี้ยอยู่ในขาขึ้น ภาคส่งออกต้องระวัง ยูโรและเยนมีแนวโน้มอ่อนลง และประเทศเหล่านี้น่าจะออกมาตรการเพื่อพยายามดูแลเศรษฐกิจตัวเองอย่างถึงที่สุด
- การใช้จ่ายในประเทศปรับตัวดีขึ้น จากการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ และการบริโภคและการลงทุนที่ฟื้นตัวจากปีก่อนๆ

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประวัติชีวิตและความสำเร็จ ‘ลี กวน ยู’ อดีตนายกฯ คนแรกของสิงคโปร์ผู้ล่วงลับ



อดีตนายกฯ สิงคโปร์ ลี กวน ยู ถึงแก่อสัญกรรมแล้วในช่วงเช้าวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ศิริอายุรวม 91 ปี นายลี กวน ยู ปกครองสิงคโปร์ในช่วงระหว่างปี พ.ศ 2502 – 2533 รวม 31 ปี และยังถือเป็นเสาหลักทางการเมืองของสิงคโปร์จนถึงปัจจุบัน

นายลี กวน ยู หรือแฮรี่ เป็นชาวสิงคโปร์รุ่นที่สี่ บรรพบุรุษอพยพมาจากมณฑลกวางตุ้งของจีนเมื่อราว 160 ปีก่อน เขาศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ที่ประเทศอังกฤษในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับปริญญาด้านกฏหมายจากมหาวิทยาลัย Cambridge

ลี กวน ยู เริ่มต้นเส้นทางการเมืองในปี พ.ศ 2497 ด้วยการก่อตั้งพรรค People’s Action Party หรือ PAP และได้รับเลือกเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาในอีก 1 ปีต่อมา ในปี พ.ศ 2502 พรรค PAP ชนะเลือกตั้งได้เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล และนายลี กวน ยู ได้ดำรงตำแหน่งนายกฯ คนแรกของสิงคโปร์ ต่อเนื่องมาจนถึง ปี พ.ศ 2533 รวมเวลา 31 ปีที่เขาอยู่ในตำแหน่ง

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรื่องนางเดียร์ สุภาพร มิตรอารักษ์ เขียนบทโดย นกหวีดไฮโซ

เรื่องนี้ยิ่งกว่านิยาย ช่อง 3 ... ตอน 3 เรื่องนางเดียร์ สุภาพร มิตรอารักษ์ สาวเสน่ห์แรง มีผัว 3 คน ต้องเลิกราหมด เพราะติดพนันงอมแงม สีกากี ดาวเงินมงกุฎครอบโดนไล่ออก ยังสุดมันส์ มีกิ๊กคนใหม่ ชื่อนายวสุ เอี่ยมละออ ชื่อเล่น "แก่น" คนเหนือ จาวเจียงใหม่ ที่อยู่ปัจจุบัน ชัยนาท พบรักกันในไลน์ "กลุ่มเรารักษ์ประชาธิปไตย" อาชีพเป็นช่างภาพ ทีวี ช่อง DNC 24 โดนรวบตัว มีส่วนร่วมด้วยการ เป็นเส้นทางผ่าน ของเงินค่าจ้างจาก เอนก ซานฟราน ถึงนางเดียร์

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

ระลึกการทลายคุกบาสตีย์ 14 กรกฎาคม 1789


ระลึกการทลายคุกบาสตีย์ 14 กรกฎาคม 1789เส้นทางสถาปนาประชาธิปไตยของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ชาวปารีสหัวรุนแรงที่เรียกว่าพวกซองกูลอต (sans-culottes) ยกขบวนประมาณ 800 คนไปที่คุกบาสตีย์ (Bastille) ซึ่งใช้เป็นที่ขังนักโทษการเมือง เหตุการณ์การทลายคุกบาสตีย์ (Fall of the Bastille) นี้ซึ่งต่อมาถือเป็นวันเริ่มต้นเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นวันชาติฝรั่งเศสในปัจจุบัน


เพื่อรักษาความสงบทั้งในเมืองและชนบทระหว่างที่ 5-11 สิงหาคม ค.ศ. 1789 สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติออกพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับรวมเรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาเดือนสิงหาคม (August Decrees)" ระบุถึงการยกเลิกระบบฟิวดัล (ศักดินาสวามิภักดิ์) ศาลต่างๆ มีการปรับปรุงกฎหมายอาญาโดยใช้หลักมนุษยธรรมมากขึ้นด้วยการยกเลิกการทรมานและตัดอวัยวะ นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1792 รัฐบาลปฏิวัติเริ่มนำเครื่อง "กิโยติน (guillotine)" มาใช้เป็นเครื่องประหารเพื่อให้สิ้นชีวิตโดยเร็วและเจ็บปวดน้อยที่สุด สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติต้องการให้คริสตจักรฝรั่งเศสพ้นจากการควบคุมดูและของสำนักสันตะปาปาที่ปรุงโรม และประกาศใช้ พระราชบัญญัติธรรมนูญสงฆ์ใน ค.ศ. 1790 บังคับให้พระปฏิญาณว่าจะรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศ


ในระยะแรกของการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1789 นั้น มีเป้าหมายอยู่ที่การสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่อเกิดความวุ่นวายและการต่อต้านการปฏิวัติโดยราชวงศ์และพันธมิตรราชาธิปไตยในยุโรป ในที่สุดจึงประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 ตามมาด้วยการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในปีถัดมา นำไปสู่การยุติระบอบราชาธิปไตย และสถาปนาระบอบสาธารณรัฐขึ้นเป็นครั้งแรกในทวีปยุโรป และหลังจากนั้นกระแสปฏิบัติประชาธิปไตยก็แพร่สะพัดไปทั่วยุโรป แต่ความผันผวนของสถานการณ์ การพลิกฟื้นกลับไปกลับมาของขั้วอำนาจ 2 ฝ่าย ก่อให้เกิดความรุนแรงและการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ยุคแห่งความหวาดกลัว (Reign of Terror)" ระหว่างเดือนมีนาคม ค.ศ. 1793 ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1794 หรือ "ยุคแห่งความเหี้ยมโหด"


ทั้งนี้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1794 ที่ถือว่าเป็น ช่วงเวลาแห่ง "ความน่าสะพรึงกลัวสูงสุด (Great Terror)" ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นเมื่อมีการออกกฎหมาย ระบุว่าศัตรูของประชาชนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลปฏิวัติแห่งกรุงปารีส และถูกพิพากษาจากการวินิจฉัยโดยคณะลูกขุน จำเลยจะไม่ได้รับสิทธิของคำปรึกษา แก้คดีและคำตัดสินก็มีเพียงให้ปล่อยตัวหรือให้ประหารเท่านั้น ภายใน 9 สัปดาห์ที่ใช้กฎหมายนี้จำนวนพลเมืองที่ถูกศาลปฏิวัติตัดสินประหารมีจำนวนมาก กิโยตินทำงานไปเกือบ 2,000 ครั้ง


วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

อุตส่าห์เอารถถังออกมา แต่สุดท้าย กลับไปแย่งงานเทศกิจ




ไม่มีการปฏิวัติ ( Revolution ) และรัฐประหารที่ไหนในโลก

ยึดอำนาจได้สำเร็จแล้ว ใช้อำนาจนั้นมาทำเรื่องขยะ
ไม่มีกองกำลังปฏิวัติไหน ที่เขาเข้าไปจัดการตลาดสด ตลาดนัด
ไม่มีกองทัพไหนที่ได้อำนาจสูงสุดแล้ว ไปจัดการลอตเตอรี่
............................................................................................
เรื่องที่เขาทำคือ ยึดคืนทรัพยากร อันเป็นอธิปไตยทางเศรษฐกิจของชาติคืน
ยึดทรัพย์นักการเมืองทั้งหมดที่โกงและเคยโกง 
จัดการหัวขบวนการเผด็จการ หัวหน้าขบวนการที่สร้างความแตกแยก
เขาจะจัดการนายทุนที่ดิน นายทุนที่ขูดรีดประชาชน
ใช้กองทัพเข้าปกป้องอธิปไตยเหนือดินแดน ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา
ให้มันรู้ให้ชัดว่า เหนือปราสาทเขาพระวิหารนั้น ที่ของใคร
หากมันอ้างสัญญาสยามฝรั่งเศส ก็เอาอนุสัญญาโตเกียวเพ่นกะบาลมันเลย
หากไม่ทำอย่างนี้ จะปฏิวัติไปเพื่ออะไร
............................................................................................
ไม่มีกองทัพปฏิวัติที่ไหนในโลก 
ที่เที่ยวไล่จับเอาผิดคนที่เป็นหางแถวของขบวนการ
หรือฝ่ายข่าวกรองของท่านไม่รู้ว่าใครเป็นตัวการใหญ่ 
เด็ดที่หัวมัน หางมันก็ไม่มีพิษสงอีกต่อไป หรือคิดไม่เป็น
............................................................................................

อุตส่าห์เอารถถังออกมา แต่สุดท้าย กลับไปแย่งงานเทศกิจ

วันดีคืนดีก็แย่งงานตำรวจจราจร จัดระเบียบวินรถตู้ มอร์เตอร์ไซด์
เมื่อพอมีผลงานมั่ง ก็หันมาจัดงานอีเว้นท์ ตลาดน้ำ
กองทัพตกต่ำถึงขนาดนั้นเลยหรือ ?
ศัตรูของกองทัพ คือพวกที่บ่อนทำลายความมั่นคงของรัฐ
ในอธิปไตยเหนือดินแดนและในเศรษฐกิจ
ซึ่งมันมีทั้งต่างชาติ และพวกขายชาติรวมหัวกัน
จนทำให้ประชาชนเดือดร้อนทั้งแผ่นดิน
ที่สุดประชาชนก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือเอาชนะฝ่ายตรงข้าม 
ในแย่งชิงพื้นที่อำนาจและผลประโยชน์
โดยฝ่ายการเมืองที่มีส่วนในเรื่องนี้อย่างชัดเจน
ใครยังมองว่าโลกนี้สวย แต่เราว่ามันผิดเพี้ยนถึงขั้นวิปริตไปแล้ว
Cr: ธเนศ หัศบำเรอ

ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ
กระแสที่ไหลคดเคี้ยวไปตามคลอง
เป็นเพราะคลองมันคด
หากคลองมันตรง น้ำก็ไหลตรง
.....................................................................
อย่าโทษประชาชน
เพราะประชาชนไม่ได้ทำให้คลองมันคด
83 ปีที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่เพราะประชาชน
Cr: ธเนศ หัศบำเรอ

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

บัลลังก์เลือด กษัตริย์ "คยาเนนทรา"ก่อนผลิกแผ่นดิน "เนปาล" เป็นสาธารณรัฐ

ทำไมราชวงศ์ชาห์อันเป็นศูนย์รวมใจเนปาลทั้ง ชาติถูกโค่นล้มลงไป
ความศรัทธาในตัวพระองค์เสื่อม ถอยลง หลังพระองค์ทรงเข้าแทรกแซงการเมือง โดยยึดอำนาจเบ็ดเสร็จมาจากรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้ง
ฉาก สุดท้ายของพระราชวงศ์ชาห์แห่งเนปาลเป็นไปอย่างอัปยศ รัฐบาลใหม่ของเนปาลเตือนให้กษัตริย์คยาเนนทราต้องออกจากพระราชวังในวันที่ 28 พฤษภาคม2551 หลังสมัชชาแห่งชาติเปิดประชุมครั้งแรก พร้อมคำประกาศเลิกสถาบันกษัตริย์ ถือเป็นการสิ้นสุดทั้งราชวงศ์ชาห์แห่งเนปาลที่ปกครองประเทศมายาวนานถึง 239 ปี และระบอบกษัตริย์ในประเทศนี้ไปพร้อมๆ กัน

พระองค์ทรงมีพระราชขัตติยะมานะ เพราะเลยเส้นตายของรัฐบาลสาธารณรัฐล่วงไปถึง 11 มิถุนายน 2551 กษัตริย์คยาเนนทราจึงพร้อมด้วยพระราชินีของพระองค์เสด็จออกจากพระราชวัง เพื่อไปประทับ ณ พระตำหนักนิรมาลนิวาส พระตำหนักส่วนพระองค์ โดยมีชาวเนปาลที่ต่อต้านพระองค์มากลุ้มรุมส่งเสียงโห่ไล่ และเต้นรำเฉลิมฉลองกันสุดเหวี่ยง

ราชวงศ์ชาห์ ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ชาวเนปาลเคยนับถือดั่งเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ได้กลายเป็นตำนาน หลังสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกาศให้เนปาลเป็นประเทศสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการ ในการประชุมนัดแรกในวันที่ 28พฤษภาคม 2551

ชะตากรรมของอดีตกษัตริย์ คยาเนนทราหลังจากนั้นก็คือ การไฟฟ้าของเนปาลได้จัดส่งบิลไปเก็บค่าไฟฟ้าที่คิดค้างไว้ราว 40 ล้านบาท โดยบอกว่าทรงติดไว้นับแต่ปี2548เป็นต้นมา

และไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะถูกล้มล้าง พระองค์ได้ไปปรากฎตัวต่อสาธารณชนอย่างที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยครั้ง โดยทรงเข้าร่วมพิธีทางศาสนาที่วัดแห่งหนึ่งทางใต้ของกรุงกาฏมาณฑุ เพื่อทำพิธีเชือดแพะบูชายัญ หวังจะต่ออายุพระราชวงศ์ ทว่าไม่เป็นผลใดๆ


วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

ถ้าศาลล้มละลายกลาง ไม่ยินยอมให้มีการฟื้นฟูกิจการ สหกรณ์เครดิตฯ คลองจั่น

D-day 20 มี.ค. นี้ มีเสียว !!..... ถ้าศาลล้มละลายกลาง ไม่ยินยอมให้มีการฟื้นฟูกิจการ สหกรณ์เครดิตฯ คลองจั่น เป็นเรื่องใหญ่ สหกรณ์กว่า 400 แห่ง มีอันจะต้องล้มตามไปด้วย รวมทั้งผลกระทบต่อ ความเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ อาจเกิดเหตุการณ์ ที่สมาชิกแห่ถอนเงินจาก สหกรณ์ทั่วประเทศ ที่มีวงเงินหมุนเวียน ในระบบสหกรณ์กว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นผลให้สหกรณ์ล้มทั้งระบบ เป็นโดมิโน ก่อให้เกิด วิฤกติการเงินต้มยำกุ้ง ปี 2540
ความเป็นไปได้ว่า ศาลฯ จะไม่อนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการ ‪#‎ถ้ามาจากการทุจริต‬ส่วนใหญ่จะต้องเป็นเหตุที่สมควร และมีช่องทาง ในการฟื้นฟูกิจการ ถ้าศาลให้โอกาสฟื้นฟูกิจการ ประเด็นหลัก คือ สหกรณ์ฯ คลองจั่น จำกัด ยังไม่ได้เป็นนิติบุคคล ตามกฎกระทรวง ศาลจึงไม่อาจพิจารณาสั่งรับ คำร้อง ขอของเจ้าหนี้ได้ และในการร้องขอฟื้นฟูกิจการ สหกรณ์ฯจะต้องมีการเจรจา กับเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ก่อน เพราะ อาจมีผู้ร้องคัดค้านได้ อีกทั้ง สหกรณ์ฯ จะต้องสามารถชี้แจง แหล่งที่มาของเงินหรือทุน ที่ระดมมาใช้ในการฟื้นฟูกิจการ ที่มีความแน่นอน และน่าเชื่อถือ
ทั้งนี้ คดีสหกรณ์ฯคลองจั่น มีผู้เสียหาย หมายถึง เจ้าหนี้ที่ถือหุ้น และฝากเงินรวมกันกว่า 5 หมื่นราย มีหนี้ถึงปัจจุบัน คิดเป็นต้นเงิน 21,000 ล้านบาทเศษ ขณะที่มีเพียงเจ้าหนี้รายเดียวที่ยื่นคำร้องต่อ ศาลล้มละลายกลาง
ช่างน่ามหัศจรรย์ การทุจริตยักยอกเงินฝาก ของสมาชิกกว่า1.5 หมื่นล้านตั้งแต่ปี 2552 แต่ไม่มีการดำเนินการฟ้องร้องคดีอาญา
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการขอฟื้นฟูกิจการ
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/2 เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 90/4 อาจร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ ไม่ว่าลูกหนี้จะถูกฟ้องให้ล้มละลายแล้วหรือไม่
กระบวนพิจารณาส่วนใดที่มิได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติในหมวดอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 90/6 คำร้องขอของบุคคลตามมาตรา 90/4 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึง
(1) ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
(2) รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่รวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท
(3) เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
(4) ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทำแผน
(5) หนังสือยินยอมของผู้ทำแผน
แผนอาจเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล เจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้ก็ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นผู้ร้องขอ จะต้องแนบรายชื่อ และที่อยู่ของเจ้าหนี้อื่น เท่าที่ทราบมาพร้อมคำร้องขอ ถ้าลูกหนี้เป็นผู้ร้องขอ จะต้องแนบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ รายชื่อและที่อยู่โดยชัดแจ้งของเจ้าหนี้ทั้งหลาย มาพร้อมคำร้องขอ
มาตรา 90/12 ภายใต้บังคับของมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลา ดำเนินการตามแผน หรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จ ตามแผนหรือวันที่ศาล มีคำสั่งยกคำร้องขอ หรือจำหน่ายคดี หรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจกา รหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามความในหมวดนี้

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

พระเจ้าอู่ทองคือขอมที่หนีตายมาจากนครวัด...หลักฐานที่มัดแน่นอย่างกระชับ.

ผู้เขียน   คนถางทาง
ข้าพเจ้าได้เขียนบทความไว้มากหลายเพื่อแสดงหลักฐาน เหตุผล สนับสนุนแนวคิดว่าพระเจ้าอู่ทอง..ผู้สร้างกรุงอยุธยาเป็นขอมที่อพยพหนีมาจากนครวัด

คราวก่อนข้าฯได้เขียนสรุปแบบรุ่มร่าม ทำให้อ่านยาก  บัดนี้จักได้แสดงหลักฐาน เหตุผล อีกครั้งหนึ่งที่กระชับมากขึ้นและเป็นลำดับมากขึ้น รวมทั้งปรับสำนวนใหม่ให้อ่านง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อมูล ข้อโต้แย้งใหม่ๆ นำเสนอเพิ่มเติมด้วย

๑)  ขอมถูกฆ่าที่นครวัด...ที่มาของพระเจ้าอู่ทอง
เมืองพระนคร ถูกครองโดยกษัตริย์สาย “วรมัน” มาอย่างต่อเนื่องถึง ๒๘ องค์  เป็นเวลากว่า ๕๐๐ ปี จู่ๆ ในปี คศ. 1336 ก็สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย กษัตริย์องค์ต่อๆ มาไม่มีคำว่า “วรมัน” ต่อท้ายอีกเลย ...แต่จนบัดนี้ก็ไม่มีใครสงสัยเรื่องนี้กันเลย ..ไม่ว่าฝรั่งหรือไทย หรือ เขมร

ในปี คศ. 1336  (ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยาเสร็จ 14 ปี) เมืองพระนครได้กษัตริย์ใหม่มีนามว่า ตระซอกเปรแอม (แปลเป็นไทยว่า พระเจ้าแตงหวาน) ..ไม่มีวรมันต่อท้าย ...ถือเป็นการสูญพันธุ์ของ “ขอมวรมัน” แต่บัดนั้น

 ข้าพเจ้าวิเคราะห์ว่า พ.แตงหวาน คือหัวหน้าทาส ที่นำพวกทาสซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของเมืองยึดอำนาจมาจาก “ขอมวรมัน” แล้วฆ่า/ขับไล่ขอมวรมันออกไปจากเมืองจนหมดสิ้น ... แต่เนื่องจากตนไม่ใช่หน่อเนื้อเชื้อพันธุ์เดียวกับพวกวรมัน แต่เป็นเชื้อชาติอื่น ก็เลยยกเลิกธรรมเนียมการตั้งชื่อเป็น “วรมัน” ที่ยืนยาวมากว่า 500 ปี

การวิเคราะห์ของข้าพเจ้านี้ไปตรงกับพงศาวดารเขมร ฉบับ “นักองค์เอง” เข้าอย่างจัง (นักองค์เองนี้หน่อเนื้อกษัตริย์เขมร ที่หนีภัยการเมืองมาพึ่งพระบารมี ร ๑ ของเรา จากนั้นส่งไปครองเขมร)

 พงศาวดารฉบับนี้บันทึกว่า.ต้นตระกูลเขมรมาจาก ตระซอกเปรแอม (พระเจ้าแตงหวาน) นี่เอง (อ้างใน..”วัฒนธรรมขอมกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา”, อุดม เชยกีวงศ์, สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา, ๕๒๘ หน้า,พศ. ๒๕๕๒, หน้าที่ ๑๖๓)

ต้องถามว่า ถ้าเขมรเป็นทายาทของ “ขอมวรมัน”  มีหรือที่นักองค์เองจะพลาดจนไม่ยอมพาดพิงไปถึง  แต่ด้วยความภูมิใจในเลือดเขมรที่ปลดแอกจากความเป็นทาสของพวกขอมวรมันได้ ก็เลยระบุไปแบบพาซื่อและตามจริงว่าพวกตนเป็นหน่อเนื้อของ ตระซอกเปรแอม

สรุปในท่อนนี้คือ เขมรไม่ใช่ขอมแต่เป็นพวกที่มาฆ่าขอมและไล่ขอมออกไปจากนครวัดต่างหาก
พวกขอมนี้คงถูกพวกเขมรเรียกว่า “เสียม” (สยาม) พอเขมรไล่เสียมออกไปได้ก็เลยเรียกเมืองพระนครว่า “เสียมเรียบ” แปลว่า สยามราบ หรือ สยามหมดเรียบ