เพลงฉ่อยชาววัง

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตอบอย่างนี้เขาเรียกว่า ไร้ความละอายจริงๆ

"ประยุทธ์"ซัดผู้สื่อข่าว"อิศรา"ถามไม่ประเทืองปัญญา หลังซักปมขายที่ดิน 600 ล้านให้ บ.เครือข่าย "เจริญ"ให้ไปถามบริษัทเอง หลังสื่อจี้ปมบริษัทเพิ่งก่อตั้งได้ 7 วัน ก่อนทำสัญญาซื้อขาย 

จากกรณีที่สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 ก.ย.57 ระบุว่าบิดาได้ขายที่ดินในเขตบางบอน กรุงเทพฯ จำนวน 9 แปลงให้แก่ บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จำนวนเงิน 600 ล้านบาท โดย สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดีและบริษัทดังกล่าวก่อตั้งได้เพียง 7 วันก่อนทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับพล.อ.ประยุทธ์ 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2557 ที่ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org สอบถาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าขายที่ให้บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ เป็นวงเงิน 600 ล้านบาทจริงหรือไม่  
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องของคุณเลยนะ เอ้า คนอื่นถามมา ไม่มีเรื่องอื่นที่ประเทืองปัญญากว่านี้หรือไง”
ทั้งนี้ ขณะแถลงภาพรวมของการประชุม ครม.และนโยบายในด้านต่างๆ แก่สื่อมวลชน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า “พูดเรื่องนี้ เรื่องประเทศชาติ ยังกลับมาเรื่องพร็อพเพอร์ตี้ อีกอะไรของคุณ”

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

A Kingdom in Crisis

สงสัยกันไหม ว่าทำไมหนังสือ A Kingdom in Crisis ของ Andrew McGregor Marshall จึงถูกห้ามจำหน่ายในประเทศไทย !!

**********
แอนดรู แมคเกรเกอร์ มาร์แชว อดีตนักข่าวรอยเตอร์ แฉอำนาจการเมืองไทยใต้ลมปีกอำมาตย์เปรม ต้นเหตุของความขัดแย้งที่มีมาอย่างต่อเนื่องทั้งหมดเกิดมากว่าสิบปีในประเทศไทยไว้ดังนี้..

1. ชนชั้นหัวแถว ที่มีพลเอกเปรม ตั้งตัวเป็นผู้นำได้สร้างความขัดแย้งของการเมืองไทย ให้เกิดการต่อสู้เพื่อว่าใครจะได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อไปของไทย ตามหลักแล้วต้องเป็นบัลลังก์ของเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ เมื่อทันทีที่กษัตริย์ภูมิพลเสียชีวิตไปแล้ว แต่เปรมกลับเป็นหัวหอก สร้างสถานการณ์สร้างม้อบต่อต้านการขึ้นครองราชย์ของเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ที่ผ่านมา และพร้อมที่จะทุ่มทุกอย่าง เพื่อทำลายภาพลักษณ์ทุกอย่างของรัชทายาทพระองค์นี้อย่างต่อเนื่องและรุนแรง เปรมลากฟ้าหญิงสิรินทรให้มาเป็นคู่ท้าชิง พร้อมปั้นให้สิรินธรทะเยอทะยานขึ้นแทนพี่ชายให้ได้ กลุ่มของเปรมที่มีแกนหลักในการสืบทอดอำนาจต่อมาจากเปรมคือสุรยุทธ์จะกุมอำนาจทางทหารไว้ในฐานะประธานองคมนตรีคนต่อไป และกลุ่มทางใต้ พรรค ปชป.เดิมก็จะมีพระสุเทพเป็นผู้รับใช้เปรมในการเป็นฐานในการแสวงหาอำนาจที่กำลังจะเกิดใหม่ คนใต้พร้อมสนับสนุนเปรมให้พาฟ้าหญิงสิรินธรขึ้นเป็นใหญ่ตามที่เปรมปราถนา

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

จับตา “วงษ์สุวรรณคอนเน็กชั่น” ให้ดี

ผลการลงมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่รับพิจารณาการถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา สองสาวกระบอบทักษิณฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายและฉ้อฉลรวบรัดผลักดันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาสมาชิกวุฒิสภา(สว.)ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ออกมาโดยฝ่ายที่สนับสนุนให้รับเรื่องถอดถอนไว้พิจารณาชนะอย่างเฉียดฉิวด้วยเสียง 87 ต่อ 75 ชี้ให้เห็นสัญญาณค่อนข้างชัดเจนว่าถึงที่สุดในขั้นตอนลงมติชี้ชะตานายสมศักดิ์และนายนิคมมีแนวโน้มรอดจากการถูกถอดถอน
แม้สมาชิกสนช.ฝ่ายที่ลงมติให้รับเรื่องถอดถอนจะชนะ แต่อย่างลืมว่ามติถอดถอนในขั้นชี้ชะตาจะต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 5 ของสนช.ทั้งหมด 220 คน หรือ 132 เสียง เพราะฉะนั้นการที่ฝ่ายที่ต้องการให้ถอดถอนซึ่งมีอยู่ 87 เสียง จะได้เสียงสนับสนุนเพิ่มอีก 45 เสียง นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยเพราะ 75 เสียง ที่ลงมติตรงกันข้ามแสดงจุดยืนแน่ชัดว่าไม่ต้องการให้ถอดถอน ส่วนกลุ่ม
อีแอบอีก 58 เสียง เป็นพวกที่งดออกเสียง 15 เสียง นอกนั้นเป็นสนช.สายทหารที่จงใจไม่เข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้สนช.สายทหารและสายตำรวจก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นร่างทรงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งสนช.ทั้ง 220 คน เป็นทหารกับตำรวจกว่าครึ่ง และแม้ไม่ใช่ทหารหรือตำรวจส่วนใหญ่คสช.ก็ตั้งมากับมือ เพราะฉะนั้นคงยากจะปฏิเสธว่าสนช.ส่วนใหญ่คสช.สั่งได้
และที่เป็นสัญญาณให้เห็นเค้าลางแผนอุ้มเหล่าสาวกระบอบทักษิณชัดเจนมากขึ้นก็คือท่าทีของ 3 สมาชิกสนช.คือ นายธานี อ่อนละเอียด พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ และ พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม 75 เสียงที่ลงมติไม่ให้รับเรื่องถอดถอนด้วยเหตุผลข้ออ้างว่า เพื่อสร้างความปรองดองตามนโยบายคสช. โดยข้อน่าสังเกตคือสมาชิกสนช.ทั้ง 3 ล้วนเป็นคนใกล้ชิด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) น้องชายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ของนายทหารสายบูรพาพยัคฆ์ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. เป็นน้องคนกลาง
สมาชิกสนช.อีกคนหนึ่งซึ่งมีบทบาทสำคัญในการล็อบบี้สมาชิกสนช.ไม่ให้มีการถอดถอนนายสมศักดิ์ กับนายนิคม ก็คือ พล.อ.นพดล อินทปัญญา เพื่อนรักและที่ปรึกษาของ พล.อ.ประวิตร
พล.อ.ประวิตร แม้จะเป็นหนึ่งในแกนนำสำคัญของคสช. แต่ก็มีสายยสัมพันธ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯนักโทษหนีคุก โดยมีข่าวว่า พล.อ.ประวิตร อยู่เบื้องหลังแผนการเจรจากับฝ่ายระบอบทักษิณภายใต้ข้ออ้างเพื่อสร้างความปรองดอง
การปล่อยผี นายสมศักดิ์ และนายนิคม จึงเป็นสัญญาณแนวโน้มส่อเป็นบรรทัดฐานการถอดถอน 39 สว.และ 309 สส. ที่ร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาสว.ซึ่งจ่อคิวรออยู่ และที่สำคัญที่สุดคือการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ฐานรู้เห็นเป็นใจกับมหกรรมโกงชาติปล้นแผ่นดินโครงการรับจำนำข้าวครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ซึ่งเข้าวาระการพิจารณาของสนช.ในวันที่ 12 พ.ย.นี้
เพราะฉะนั้นต้องจับตา “วงษ์สุวรรณคอนเน็กชั่น” ให้ดี เพราะจะมีบทบาทสำคัญในแผนฮั้วกับระบอบทักษิณโดยอ้างการสร้างความปรองดองบังหน้า แล้วปล่อยให้ขบวนการชั่วร้ายที่เคยก่อกรรมไว้กับประเทศลอยนวลโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องและหลักนิติรัฐ ซึ่งนอกจากจะไม่นำไปสู่การสร้างความปรองดองอย่างแท้จริงแล้ว กลับตรงกันข้ามเพราะจะยิ่งสุมไฟสร้างความแตกแยกจากการต่อต้านของมวลมหาประชาชน และจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้นึกถึงคำพูดของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตแกนนำพรรคเพื่อไทยก่อนหน้านี้ที่ว่า รัฐประหารโดยคสช. ครั้งนี้คนที่แฮปปี้คือ พ.ต.ท.ทักษิณ

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คดีที่โดนฟ้อง 112 แล้วจำเลยชนะ



ภูมิหลังผู้ต้องหา
ผู้กล่าวหา / โจทก์
รายละเอียดการกระทำตามข้อกล่าวหา

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปเรื่อง กสทช.


สตง.ได้ตรวจพบว่า การดำเนินงานของ กสทช. ไม่สามารถบริหารจัดการด้านการเงินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
1. การบริหารการใช้จ่ายเงินรายได้ที่จัดเก็บ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลังของรัฐ อันเป็นการไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ จนทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินไม่มีประสิทธิภาพได้
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน กสทช. และการใช้จ่ายเงินขาดการควบคุมดูแลตามหลักการบริหารเงินงบประมาณที่ดี ตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ เป้นไปโดยอิสระ โดยไม่ต้องมีหน่วยงานที่มีความชำนาญ เช่น สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาความเหมาะสมของการจัดทำงบประมาณหรือการใช้จ่ายเงินเพื่อการลงทุน เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงของประเทศได้ทราบและเห็นทิศทางการพัฒนา และการใช้ทรัพยากรของชาติในทุกประเภทและทุกมิติ ทำให้การใช้จ่ายเงินขาดความรอบคอบ ไม่รัดกุม ไม่เกิดประสิทธิผล
2. รายได้ที่ได้จากทรัพยากรของชาติ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรของประชาชนชาวไทยทุกคนถูกกำหนดให้มีกลุ่มบุคคลทำการบริหารการใช้จ่าย โดยมิได้พิจารณาถึงความเหมาะสมอย่างเพียงพอและไม่มีการสอบทานการตั้งงบประมาณการใช้จ่ายจากองค์กรที่มีบุคลากรซึ่งมีความรู้และความชำนาญ จึงทำให้การใช้จ่ายเงินไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
สตง.เห็นว่าควรให้สำนักงาน กสทช. นำส่งเงินรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ จำนวน 50,862.00 ล้านบาท เป็นรายแผ่นดิน และเมื่อมีโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนก็ให้เสนอโครงการเพื่อขอรับการจัดสรรเงินต่อไป มิใช่ให้ กสทช.จัดการเองอย่างใดก็ได้ตามอำเภอใจ
3. คุณสมบัติและการได้มาซึ่งกรรมการ กสทช. เลขธิการ กสทช. และคณะกรรมการติดตามประเมินผลการประเมินผลงานปฏิบัติงาน
สตง. เห็นว่า การกำหนดอายุของผู้เป็นกรรมการใน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. อาจไม่เหมาะสมในเรื่องวัยวุฒิและวุฒิภาวะในการเข้ามาดูแลทรัพยากรของชาติที่ มีมูลค่ามหาศาลและมีความสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารและความมั่นคงของ ประเทศ นอกจากนี้ สตง.เห็น ว่ากระบวนการได้มาอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากอาจมีความไม่โปร่งใสและอาจถูกแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์ในธุรกิจ นี้ เนื่องจากการคัดเลือกกันเองก่อนจะมีการสรรหา
การได้มา - เลขาธิการ กสทช.
สตง. เห็นว่า กระบวนการได้เลขาธิการ กสทช. มา ไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากไม่มีการคานอำนาจกันระหว่าง กสทช. และเลขาธิการ กสทช. เพราะ กสทช. มีอำนาจแต่งตั้งและถอนถอนเลขาธิการ กสทช. ดังนั้น จึงควรกำหนดให้มีการสรรหาเลขาธิการ กสทช.เช่นกัน
4. ความชัดเจนเรื่องของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามประเมินผลฯ
สตง. เห็น ว่า อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามประเมินผลฯ หากไม่ชัดเจนและอาจซ้ำซ้อนกับหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบภายใน (Audit committee)
และจากการตรวจสอบการตั้งงบประมาณและการใช้จ่ายเงินพบว่า คณะกรรมการติดตามประเมินผลฯ(คณะนี้มีแค่ 5 คน) มีการใช้จ่ายเงินในปี 2556 จำนวน 52.00 ล้านบาท และมีการของบประมาณเพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามประเมิน ผลฯ ในปี 2557 จำนวน 170.00 ล้านบาท ซึ่งมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 200 จากจำนวนค่าใช้จ่ายในปีก่อน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการดำเนินการในลักษณะของสำนักงานและมีบุคลากรเป็นการเฉพาะ ซึ่งมีเนื้องานที่ซ้ำซ้อนกับการตรวจสอบภายในได้
สตง. จึงขอเสนอข้อตรวจพบดังกล่าว ให้กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (คือเสนอยุบหรือยกเลิก กสทช.นั้นเอง) พร้อมกับขอให้ คสช. แจ้งสำนักงาน กสทช. นำเงินรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ จำนวน 50,862.00 ล้านบาทส่งเป็นรายได้แผ่นดินในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงให้เสนอของบประมาณเพื่อดำเนินโครงการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ สาธารณชนในด้านการกระจายเสียงโทรทัศน์และคมนาคมอย่างคุ้มค่า ยั่งยืนและแท้จริงต่อไป

Cr: Paisal Puechmongkol

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

*** "ธีระชัย" แฉแหลก "ปิยสวัสดิ์" ร่วมมือ "แม้ว" เอื้อ "เพิร์ล ออย" ฮุบพลังงานไทย ?

*** "ธีระชัย" แฉแหลก "ปิยสวัสดิ์" ร่วมมือ "แม้ว" เอื้อ "เพิร์ล ออย" ฮุบพลังงานไทย ?
"ธีระชัย" แฉแหลก "ปิยสวัสดิ์" สมัยเป็น รมว.พลังงาน ในรัฐบาลขิงแก่ ได้เดินหน้าล็อบบี้ สนช. ให้แก้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เพื่อยกเลิกเพดานพื้นที่สำรวจ ตั้งข้อสังเกตเพื่อช่วยบริษัท "เพิร์ล ออย" ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด "ทักษิณ" ให้พ้นผิดหรือไม่ เนื่องจากถือพื้นที่เกิน 20,000 ตารางกิโลเมตร เกินจากกฎหมายกำหนดไว้ ซ้ำยังเป็นผู้เสนออนุมัติสัมปทานรอบที่ 19 - 20 ให้เองกับมือ พร้อมกับประเคนพื้นที่ให้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งที่รู้ว่าเกี่ยวโยงกับนักโทษหนีคดี เชื่อสัมปทานรอบ 21 อดีตนายกฯก็ยังคงยื่นมือข้ามประเทศเข้ามาจัดการผลประโยชน์ โดยมีผู้เกี่ยวข้องคนเดิมวนเวียนอยู่ในอำนาจ
วันนี้ (10 พ.ย.) นายธีระชัย ภูวนาถนรนุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Thirachai Phuvanatnaranubala" เกี่ยวกับเรื่องพลังงาน ดังนี้
"มีคนขอให้ผมขยายความว่า ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ที่เกิดขึ้นในปี 2550 เป็นการดำเนินการเพื่อช่วยให้บริษัทหนึ่ง (สมมุติขื่อ P O) พ้นผิด ผลจะเป็นอย่างไร
ผลก็จะเป็นความอาญานะซิครับ
ทั้งรัฐมนตรีพลังงาน และข้าราชการกระทรวงพลังงานที่ชงเรื่องเสนอ จะมีความผิดอาญา
มีเพื่อนผมที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในช่วงภายหลังการปฏิวัติรัฐประหารปี 2549 เล่าให้ฟังว่า
ในปี 2550 มีบุคคลกลุ่มหนึ่ง ในแวดวงพลังงาน ได้ขอนัดสมาชิก สนช. หลายคน เพื่อเลี้ยงอาหาร พูดคุย ล็อบบี้ ให้ช่วยสนับสนุนการแก้ไข พ.ร.บ ปิโตรเลียม ดังกล่าว
พวกเขาชักแม่น้ำทั้งห้าเพื่อพยายามแสดงความจำเป็น ที่จะต้องแก้ไขกฎหมายนี้ อ้างว่าเพื่อประโยขน์ของประเทศ
กลุ่มเพื่อนของผมเขาเห็นว่าคนที่มาล็อบบี้ดังกล่าว มีคนระดับรัฐมนตรีที่น่าเชื่อถือ และคงจะมีความรู้ลึกจริงๆ เพราะบุคคลนี้เคยทำงานราชการด้านพลังงานมานาน และเรียนจบมหาวิทยาลัยชั้นนำในอังกฤษทีเดียว
กลุ่มเพื่อนของผม จึงให้การสนับสนุนแก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดยอาศัยเชื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นสำคัญ เพราะเขาไม่ได้เจาะลึกเบื้องหลังการเสนอกฎหมายดังกล่าว
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้แจ้งข้อมูลให้เขาทราบว่ามีคนนำตาราง ที่สรุปพื้นที่สำรวจของบริษัทหนึ่ง (สมมุติชื่อ P O) ระหว่างปี 2550 จนถึงปี 2556 มาให้ผมดู
ข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าบริษัทดังกล่าว น่าจะถือพื้นที่ในปี 2549 อยู่ 11,509 ตารางกิโลเมตร หรือไม่
ต่อมาในปี 2550 ก่อนหน้าสัปทานรอบที่ 20 เพิ่มเป็น 37,227 ตารางกิโลเมตร หรือไม่
ถ้าข้อมูลถูกต้อง ก็จะแสดงว่าบริษัทนี้ ถือพื้นที่เกินกว่า 20,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นเพดานที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว ก่อนหน้าที่จะมีการแก้ไขกฎหมาย
และพื้นที่ดังกล่าว คำนวนตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท (สมมุติชื่อ P O) ในแปลงสำรวจแต่ละแปลงด้วย มิใช่เอาพื้นที่ทั้งหมดของแต่ละแปลง ที่รวมของผู้ถือหุ้นอื่นๆ
ถ้าข้อมูลนี้ เป็นจริง ก็เท่ากับว่า การแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ก็เพื่อให้บริษัทนี้ (สมมุติชื่อ P O) พ้นผิดนั่นเอง หรือไม่
ข้อมูลในปี 2550 ปีเดียวกันนี้ ภายหลังสัมปทานรอบ 20 ปรากฏว่า มีการให้สัมปทานแก่บริษัท (สมมุติชื่อ P O) เพิ่มขึ้นแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย
พื้นที่สำรวจบานตะไท ขึ้นไปเป็น 61,365 ตารางกิโลเมตร หรือไม่
(ข้อมูลที่ผมจะเรียกข้าราชการกระทรวงพลังงานมาเป็นพยาน ก็คือ จะขอให้ยืนยันว่าคำนวณจากแปลงสำรวจ B5/27, B11/38, G2/50, G1/48, G2/48, G3/48, G6/48, G10/48, G11/48, L21/50 หรือไม่)
และปี 2551 ยังเบ่งขึ้นไปอีก เป็น 67,663 ตารางกิโลเมตร หรือไม่ (ส่วนที่เพิ่มจาก L52/50 และ L53/50 หรือไม่)
เมื่อได้ฟังข้อมูลนี้ เพื่อนผมตกใจมาก คาดไม่ถึงว่าเขาตกเป็นเครื่องมือ ช่วยผ่านกฎหมายนี้
เรื่องนี้ หากเป็นจริง ก็จะเข้าขั้นปล้นชาติกลางวันแสกๆ เลวร้ายกว่าคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย
โปรดคอยติดตามตอนต่อไปนะครับ
ผมขอเพิ่มเติม เนื่องจากมีคนตั้งประเด็นว่า การที่ผู้สำรวจรายหนึ่ง ถือพื้นที่มากๆ เสียหายตรงไหน
ตั้งแต่ปี 2514 พ.ร.บ. ปิโตรเลียมกำหนดเพดานต่อรายเอาไว้ 50,000 ตาราง กม. ต่อมาลดลงเหลือ 20,000 ก็เพื่อมิให้รายใดรายหนึ่ง มีอำนาจต่อรองมากเกินไป
และที่สำคัญไม่น้อยกว่ากัน ก็เพื่อป้องกันมิให้มีการมอบสัมปทานอย่างโอเวอร์ ให้แก่รายหนึ่ง เพื่อเอาไปขายต่อ กำไรจนพุงปลิ้น
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในกรณีบริษัท (สมมุติชื่อ P O) ที่ข้าราชการ และรัฐมนตรี ประเคนพื้นที่บานทะโร่ ไปเกินกว่า 67,000 หรือไม่
เปิดโอกาสให้เขาเอาไปเซ็งลี้ต่อแบบง่ายๆ จนล่าสุด พื้นที่ลดลงเหลือเพียงระดับ 20,000 หรือไม่
ถ้าข้อมูลนี้เป็นจริง เป็นการตอกย้ำ ว่าการมอบสัมปทาน ซึ่งทำกันแบบมืดๆ เปิดช่องให้เอื้ออำนวยประโยชน์แก่บางคนได้ หรือไม่
ผิดกับระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ที่ต้องประมูลแบบสว่างๆ จะเอื้อประโยชน์ไม่ได้
นอกจากนี้ ถ้าใครเชื่อสนิทใจ ว่าในช่วงเวลารัฐบาลชั่วคราว ภายหลังปฏิวัติ ซึ่่ง ค.ร.ม. เป็นอดีตข้าราชการ ย่อมจะไม่มีทุจริตนั้น
ขอให้ตื่นได้แล้ว
และที่น่าแปลกใจอย่างไม่น่าเชื่อ ก็คืออดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ถึงแม้ถูกโค่นลง ระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ ก็ยังสามารถยื่นมือยาว เข้ามาจัดการผลประโยชน์ได้
ภายหลังปฏิวัติปี 2549 กรณีบริษัท (สมมุติชื่อ P O) แสดงถึงอิทธิพลนี้
ภายหลังปฏิวัติปี 2557 ผมก็ทราบว่ามีการยื่นมือยาวข้ามประเทศมาด้วยเช่นกัน"
ต่อมา นายธีระชัย ได้โพสต์ภาพข้อความใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียม โดยมี เอกสาร
1. พ.ร.บ. ปิโตรเลียม 2514 ซึ่งกำหนดพื้นที่สูงสุดต่อราย 50,000 ตาราง กม.
2. พ.ร.บ. หลังแก้ไขปี 2532 พื้นที่สูงสุดลดลงเหลือ 20,000 ตาราง กม.
3. พ.ร.บ. ที่แก้ไขในวันที่ 7 ตุลาคม 2550 ยกเลิกเพดานไปเลย !!!!
ท่านผู้อ่านสนใจหรือไม่ครับ ว่าใครเป็นคนเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าว
จากนั้น นายธีระชัย โพสต์ภาพ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานบอร์ด ปตท. พร้อมระบุว่า "ผมจะไม่บอกนะครับ ว่าใครเป็นรัฐมนตรีพลังงานในช่วงเวลาที่มีการแก้ไขกฎหมาย ยกเลิกเพดาน 20,000 ตาราง กม. ในวันที่ 7 ตุลาคม 2550
ท่านผู้อ่านต้องค้นคว้าเอาเองจากภาพนี้นะครับ ซึ่งผมได้มาจาก Wikipedia แต่ไม่ทราบว่าวันที่ที่แสดงอยู่นั้น ถูกต้องหรือไม่
ล่าสุด นายธีระชัย ได้โพสต์ภาพหนังสือกระทรวงพลังงาน ที่ พน 0304/3390 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2549 โดย นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสมัยนั้น เป็นผู้เสนอ ครม. ให้อนุมัติสัมปทานรอบที่ 19 แก่ 3 บริษัท โดยหนึ่งในนั้นคือ บริษัท เพิร์ล ออย (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่ามีความเกี่ยวโยงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นายธีระชัย ยังโพสต์อีกว่า "เนื่องจากข่าว Bloomberg มีการประกาศไปทั่วโลก นับเป็นเวลา ประมาณ 9 เดือน ก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2549 ที่มีการเสนออนุมัติสัมปทานรอบที่ 19
ผู้ที่เสนออนุมัติสัมปทานรอบที่ 19 จึงย่อมต้องทราบดี ว่าบางบริษัทที่เสนออนุมัตินั้น เป็นของรัฐบาลที่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคนหนึ่ง ชักนำเข้ามาทำธุรกิจพลังงานในไทย หรือไม่
และที่สำคัญ ก็คือ ผู้เสนออนุมัติสัมปทาน ทั้งรอบที่ 19 และรอบที่ 20 ด้วยนั้น เป็นบุคคลคนเดียวกัน หรือไม่
จึงส่อเค้าว่า อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคนหนึ่ง สามารถเดินเกม เอื้อมมือเข้ามาจัดผลประโยชน์พลังงานในไทย ทั้งรอบที่ 19 และ 20 ได้จริงหรือไม่
จึงมีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์พิเศษ แก่บริษัทที่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคนหนึ่ง ชักนำเข้ามาทำธุรกิจพลังงานในไทย หรือไม่
*** และที่สำคัญมากกว่านั้น ก็คือ ขณะนี้มีการประกาศ จะเปิดสัมปทานรอบที่ 21 แล้ว
โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาทั้งรอบที่ 19 และ 20 ขณะนี้ก็วนเวียนอยู่ในแวดวงอำนาจ แม้ภายหลังการปฏิวัติรัฐประหารปี 2557
*** จึงส่อเค้าว่า อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคนหนึ่ง กำลังเดินเกม ที่จะจัดผลประโยชน์พลังงาน เป็นรอบที่ สาม ซ้ำอีกหรือไม่" นายธีระชัย ระบุ
โดยก่อนหน้านี้มีข่าวความเชื่อมโยงระหว่างบริษัทสำรวจปิโตรเลียมของประเทศตะวันออกกลางกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เริ่มตั้งแต่ที่ นายโมฮัมหมัด อัลฟาเอ็ด เจ้าของห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความสนิมสนมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ก่อตั้งแฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี (ประเทศไทย) เพื่อรับสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน ก๊าซ ร่วมกับ ปตท.สผ. เมื่อปี 2541 ต่อมาในปี 2547 บริษัท เพิร์ล เอ็นเนอร์ยี่ ซื้อกิจการ แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี และเปลี่ยนชื่อเป็นเพิร์ลออย (ประเทศไทย) จากนั้นในปี 2551 บริษัทลงทุนของรัฐบาลอาบูดาบี ชื่อ มูบาดาลา เข้ามาซื้อกิจการของบริษัท เพิร์ลเอ็นเนอร์ยี่ ซึ่งในปีเดียวกันนั้น พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ได้ให้สัมภาษณ์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะลงทุนในธุรกิจพลังงาน และพบอีกว่าบริษัท เพิร์ลออย (ประเทศไทย) ได้ย้ายสำนักงานจากไทยพาณิชย์ปาร์ค พลาซา ไปอยู่อาคารชินวัตร 3
บริษัท มูบาดาลา มีผู้บริหารระดับสูงชื่อ ชีค โมฮัมหมัด บินซาเยด อัล นาร์ยาน และเป็นพี่ชายของ ชีค มานซูร์ บิน ซาเยด อัลนาห์ยาน ที่เข้าซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ในราคาประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ทั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ซื้อกิจการมาในราคาเพียง 5 พันล้านบาทเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นการชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีต่อกลุ่มธุรกิจพลังงาน