เพลงฉ่อยชาววัง

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โครงการประกันรายได้ รบ.มาร์ค ตัวอย่าง สองมาตรฐาน

พิสูจน์น้ำคำ “วิชา มหาคุณ” น้ำท่วม-เอกสารหาย ? รายงาน DSI สอบทุจริตระบายข้าว รบ.มาร์ค เผยให้เห็น ข้อมูล-หลักฐาน ถึงมือ ป.ป.ช.ตั้งแต่ ปี 55!!
“วิชา มหาคุณ” กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกมายืนยันอีกครั้งว่า สาเหตุที่ทำให้ “ป.ป.ช.สอบสวนคดีทุจริตระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2552-2553 ล่าช้ามากว่า 4 ปีนั้นเป็นเพราะ เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ 2554 อันส่งผลให้ “เอกสาร” ของหน่วยงานต่างๆ “จม…น้ำ…หาย” !!! 
แม้ในความรับรู้ของประชาชนจะรู้สึกว่า มันไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ “ป.ป.ช.” ก็ยืนยันว่าเกี่ยวข้องกัน จึงทำท่าขึงขังเรียก “ข้อมูล-หลักฐาน” จาก หน่วยงานต่างๆ ทันที …แต่เป็นการกระทำภายหลัง จากที่สังคมได้ตรวจสอบพบว่า ป.ป.ช. เร่งรัดกรณีโครงการรับจำนำข้าว ด้วยการเร่งสอบสวนเพียงระยะเวลาไม่กี่สิบวัน แต่กลับนิ่งเฉย ที่จะดำเนินการสอบสวนคดีทุจริตระบายข้าว รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เกิดขึ้นมากว่า 4ปีมาก่อนหน้านี้
… สิ่งที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากสังคมไม่เรียกร้องให้มีการดำเนินการกับทั้ง 2 ฝ่ายอย่าง “เป็นธรรม” และ “เท่าเทียม” … “ป.ป.ช.” ก็ยังจะไม่มีการดำเนินการกับการทุจริตยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือไม่ ? 
…หรือหาก “ประชาชน” ไม่เรียกร้อง “ความยุติธรรม” จาก “ป.ป.ช.” คดีทุจริตรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อาจจะเงียบหาย และสุดท้าย “คนโกงบ้าน-กินเมือง” ก็รอดพ้นความผิดอีกหรือไม่ ??
ที่สำคัญคือการที่ “ป.ป.ช.” ได้ออกมาแสดงท่าที เรียกร้องให้หน่วยงานต่าง ส่งเอกสาร-หลักฐาน ให้อย่างเร่งด่วน เพื่อเริ่มกระบวนการสอบสวนคดีทุจริตระบายข้าวรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นถูกตั้งข้อสังเกตอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่ ป.ป.ช.แสดงออกมานั้น คือ “ความจริงใจ” ที่จะตรวจสอบการทุจริตระบายข้าวของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ หรือเป็นเพียงการ “แก้เขิน”  ไปวันๆ หลังถูกจับได้คาหนังคาเขาว่า มีความพยายามที่จะ “ยื้อเวลา” ในการตรวจสอบ “ทุจริตรัฐบาลประชาธิปัตย์” ให้ยาวนานออกไป…
เพราะ “คดีทุจริตระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาล” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น “กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)” ได้ดำเนินการสอบสวนและสรุปผลการสอบสวน กรณีทุจริตโครงการระบายข้าว ที่มีการกล่าวหา “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี, ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี และ พรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ในขณะนั้น มาตั้งแต่ปี 2555 และได้ส่งสรุปผลการสอบสวน พร้อมเอกสาร-หลักฐานทั้งหมดให้กับ “ป.ป.ช.” ไปแล้วด้วย
โดยตรวจสอบพบว่า “ดีเอสไอ” ได้ทำหนังสือแจ้ง “เลขาธิการ ป.ป.ช.” ที่ ยธ 0805/2390 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 เรื่องส่งเรื่องมาเพื่อพิจารณาดำเนินการ โดยส่ง 1.รายงานการสทบสวนคดีสืบสวนที่ 255/2553 พร้อมเอกสารประกอบ จำนวน 7 แฟ้ม และ 2.ซีดีบันทึกข้อมูลการส่งออกข้าวไปนอกราชอาณาจักรจากสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศกรมศุลกากร จำนวน 1 แผ่น 
พร้อมกับแจ้งว่า “ด้วยกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีการทุจริตในโครงการระบายสินค้าเกษตร (ข้าวสาร) ในสต็อกของรัฐบาลเป็นคดีสืบสวนที่ 255/2553 
จากการสืบสวนพบว่ากรณีดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการ ป.ป.ช. ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ประกอบกับเป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องที่กล่าวหาที่อยู่ระหว่างดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามเลขรับที่ 16524 เลขดำที่ 54331658 , 52631820 และ 54630201จึงขอส่งเรื่องมายังท่าน เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ผลเป็นประการใดโปรดแจ้งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษทาบในโอกาสแรกด้วย จักขอบคุณยิ่ง”
dst1
โดยสรุป “ดีเอสไอ” ได้ดำเนินการสอบสวน “คดีทุจริตระบายข้าวในสต็อกรัฐบาล” ยุค “รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เอาไว้ว่า ตรวจสอบพบ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ (กขช.) กำหนดให้ระบายสต๊อกข้าวโดยไม่ประกาศเชิญชวนเป็นการทั่วไปตามที่กระทรวงพาณิชย์ใช้มาตลอดเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ส่งออกข้าวเพียง 9 ราย และการระบายข้าวเก่าค้างสต๊อกเป็นอาหารสัตว์ก็เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งถือเป็นการเจตนาไม่ให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม 
และจากการตรวจสอบพบรายละเอียดพบว่า นายอภิสิทธิ์ มีโครงการระบายข้าวออกจากสต๊อกของรัฐบาลโดยเลือกวิธีให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวในปริมาณมากเสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาลเพื่อส่งมอบตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งวิธีการดังกล่าวต้องมีการประมูลหรือแข่งขันราคาอย่างเปิดเผย ต่อมามีการประกาศยกเลิกเนื่องจากมีการเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางมาก หากขายข้าวจะทำให้รัฐขาดทุนสูง นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เสนอให้ นางพรทิวา นาคาศัย อดีต รมว.พาณิชย์ และนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกฯขณะนั้น ให้เปลี่ยนวิธีจากการประมูลมาเป็นให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศในปริมาณมากยื่นคำเสนอขอซื้อ โดยไม่ต้องออกประกาศเชิญชวนเป็นการทั่วไปการซื้อขายจะใช้วิธีเจรจากับผู้ส่งออกเป็นรายไป โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ซื้อต้องนำข้าวออกนอกราชอาณาจักรภายใน 45 วัน
โดยระหว่างเดือน ก.ค.-ธ.ค. 2553 มีการเจรจาทำสัญญาขายข้าวกับเอกชน 9 ราย จากบัญชีผู้ประกอบการค้าข้าวจำนวน 199 ราย โดยมีการระบายข้าวออกจากสต๊อก 3.4 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 44,000 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าบริษัทเอกชนคู่สัญญาหลายรายไม่นำข้าวออกไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักรคิดเป็นปริมาณมากกว่า 9 แสนตัน หรือร้อยละ 25 ของปริมาณข้าวในโครงการระบายข้าว สันนิษฐานว่ามีการนำข้าวกลับมาขายในประเทศทำให้ราคาข้าวในประเทศตกต่ำรัฐบาลควรได้รับค่าปรับจากการผิดสัญญาไม่น้อยกว่า 2,700 ล้านบาท แต่งยังไม่มีหน่วยงานใดบังคับเอาค่าปรับกับเอกชน
นอกจากนี้การระบายข้าวค้างสต๊อกเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ได้มีการพิจารณาจำหน่ายให้บริษัท หนองลังกาฟาร์ม รายเดียวจำนวนกว่า 8,000 ตัน ในราคาตันละ 5,400 บาท มูลค่าประมาณ 47 ล้านบาท โดยผู้แทนบริษัท หนองลังกาฟาร์มดังกล่าวพบว่าเป็นที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
dst2
โดยในเอกสารประกอบ ซึ่งเป็น “รายงานการสืบสวน กรณีการทุจริตโครงการระบายสินค้าเกษตรในสต็อกรัฐบาล ที่มีการนำส่ง ป.ป.ช.พร้อม เอกสาร-หลักฐานทั้งหมดในครั้งนั้น ระบุอย่างชัดเจนใน “ข้อ 2.7 กรณีการระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติให้รับเรื่องไว้พิจารณา และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงโดยมีนายกล้าณรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ ขณะนี้กรณีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงตาม เลขดำที่ 54331658 , 52631820 และ 54630201 มี นางพรทิวา นาคาศัย , นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ , นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และนายมนัส สร้อยพลอย เป็นผู้ถูกกล่าวหา และกรณีมีพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหา คือ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีเอื้อประโยชน์ในการประมูลข้าวของกระทรวงพาณิชย์ (ข้าวเจ้า) กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการฐานร่วมกันอนุมัติให้ความเห็นชอบขายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลในราคาต่ำกว่าราคาตลาดมาก”
นอกจากนี้ใน “ข้อพิจารณาที่ 4.1 เห็นว่าเรื่องที่ทำการสอบสวนอาจเป็นคดีความผิดทางอาญาตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 และ 4.2 เห็นว่าเรื่องที่ทำการสืบสวนมีลักษณะเป็นคดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อนและมีผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 21 วรรค 1 (1) (ก) , (ข)”
ข้อมูล-หลักฐาน ทั้งหมดนี้ เอกสารระบุว่าได้มีการนำส่ง ป.ป.ช. เมื่อ 5 กรกฎาคม 2555 หลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 ตามที่ “วิชา มหาคุณ” กรรมการ ป.ป.ช. อ้าง … ไม่รู้ว่า “เอกสารหาย”  นั้น … “น้ำท่วม” แน่หรือ ???


*************************************************************************************






เปิดรายงาน “โครงการประกันรายได้ รบ.มาร์ค”พบ “ทุจริตจดทะเบียนลม 1.7ล้านไร่” ที่ดินผีงอกในทะเบียนเกษตรกร ส่อทำชาติสูญแสนล้าน..พฤติการณ์ล้างผลาญที่ “ป.ป.ช.”แกล้งเมิน!

เปิดรายงาน “โครงการประกันรายได้ รบ.มาร์ค”พบ “ทุจริตจดทะเบียนลม 1.7ล้านไร่” ที่ดินผีงอกในทะเบียนเกษตรกร ส่อทำชาติสูญแสนล้าน..พฤติการณ์ล้างผลาญที่ “ป.ป.ช.”แกล้งเมิน!!
จากกรณีที่มีการเสนอข้อมูลหลักฐาน หนังสือที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้แจ้งถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นเพื่อแจ้งเตือนการทุจริตโครงการประกันรายได้เกษตร 
โดย “ป.ป.ช.” ระบุอย่างชัดเจนว่า “มีการทุจริตและปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและกระบวนการด้วยกลวิธีที่ฉ้อฉลบิดเบือนและแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายในทุกขั้นตอน ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อประเทศมหาศาล”
กลายเป็น “หลักฐานสำคัญ” ที่ชี้ให้เห็นถึง “มาตรฐาน” ของ “ป.ป.ช.” ในการเลือกปฏิบัติ เร่งดำเนินการเฉพาะกรณีโครงการรับจำนำข้าว เมื่อเปรียบเทียบกับคดีการทุจริตการระบายข้าวของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2552-2553
ล่าสุดได้มีการตรวจสอบพบว่า กรณี “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” ของ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นั้นเกิดการทุจริตที่เรียกกันว่า “ทุจริตจดทะเบียนลม” อย่างมากมายมหาศาล และส่งผลเสียหาย เป็นภาระด้านงบประมาณของประเทศ ในระยะเวลา 2 ปีที่ดำเนินโครงการจำนวนกว่าแสนล้านบาท !!!
โดยได้ตรวจสอบพบเอกสารของ “สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี” ที่ นร 0110/4618 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็น “รายงานผลการติดตามและเร่งการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53” ต่อ “คณะรัฐมนตรี (ครม.)” โดยมีเนื้อหาระบุว่า “คณะกรรมการติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตกร” ที่มี“ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี” เป็นประธาน ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลร้อยละ 100 ในพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรที่ผลการเปรียบเทียบข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาโทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กับข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรมีความแตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 20 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 29 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี เลย กำแพงเพชร ตาก อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์และแพร่
โดยมีการตั้งคณะอนุกรรมการติดตามผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกร ในระดับพื้นที่ของทั้ง 29 จังหวัดดังกล่าวและพบมีการขึ้นทะเบียนและผ่านการประชาคม ของคณะอนุกรรมการฯ เปรียบเทียบกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม แตกต่างอย่างชัดเจนกับข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลภาพและแปรภาพถ่ายจากดาวเทียมพบว่าจากจำนวน 29 จังหวัดดังกล่าวมีจำนวนทั้งสิ้น 14 จังหวัดที่มีพื้นที่แตกต่างกันมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ คือ ลพบุรี สระบุรี สมุทรสาคร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ อุบลราชธานี และเลย สำหรับพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก จำนวน 62 จังหวัด ในการแปลตีความครั้งที่ 1 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง จำนวน 13,489,933 ไร่ ในการแปลตีความ ครั้งที่ 2 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง จำนวน 14,556,672.21 ไร่ เพิ่มขึ้นจาก ครั้งที่ 1 จำนวน 1,068,739.21 ไร่ เมื่อนำผลการแปลตีความในครั้งที่ 2 เปรียบเทียบกับข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการผ่านประชาคม ในพื้นที่ 62 จังหวัด ซึ่งมีจำนวน 16,351,790 ไร่ มีความแตกต่างกันจำนวน 1,795,117.79 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10.98
จำนวนตัวเลขความแตกต่างระหว่าง “ข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร” กับ “ภาพถ่ายดาวเทียม” สูงถึง 1,795,117.79 ไร่ หรือสูงถึงกว่าร้อยละ 10.98 นั้น คือ “หลักฐาน” ชั้นดีที่ฟ้องให้เห็นว่าเกิดการ “ทุจริตทะเบียนลม” 
การ “ทุจริตจดทะเบียนลม” ดังกล่าวนี้ คือ “จำนวนพื้นที่และผลผลิต” จากการเพาะปลูกที่ “งอก” ขึ้นมา แล้วถูกอ้างเป็นเงื่อนไขในการ “ขอรับเงินค่าชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาอ้างอิงกับราคาประกัน” จากภาครัฐที่ถือว่าสูงมากอย่างยิ่ง
ซึ่งพฤติการณ์การทุจริตดังกล่าว “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) รับรู้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้มีการรายงานกรณีดังกล่าวนี้ให้ “คณะรัฐมนตรี(ครม.)” รับทราบอยู่ตลอดเวลา
จากการตรวจสอบพบวงเงินงบประมาณพบว่า ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำเนินการ “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” ได้สร้างภาระด้านงบประมาณ 90,455.35 ล้านบาทและเป็นเงินกู้จำนวนถึง 40,000 ล้านบาท 
รวมความเสียหายที่ใช้เงินในโครงการประกันรายได้ อาจจะสูงถึง 130,455.35 ล้านบาท
ล่าสุด “ป.ป.ช.” ออกมาแสดงความตั้งอกตั้งใจจะเอาผิด “โครงการรับจำนำข้าว” โดยเฉพาะตัว “นายกรัฐมนตรี” ในฐานะหัวหน้าผู้บริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11 ให้ได้
ก็ต้องถามกลับไปยัง “ป.ป.ช.” ว่า “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีการดำเนิน “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” และพบว่าเกิดการ “ทุจริตอย่างเป็นระบบ ทุกขั้นตอน และมากมายมหาศาล” ตามหนังสือเตือนของ “ป.ป.ช.” นั้นอยู่ในฐานะ “หัวหน้าผู้บริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11 เช่นเดียวกันหรือไม่ ???
หาก “กรรม ป.ป.ช.” ไม่กล้าตอบ … “วิชา มหาคุณ” โฆษกและกรรมการ ป.ป.ช. ที่ยอมรับแล้วว่าได้เป็น ป.ป.ช.เพราะ รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มอบให้ … ตอบหน่อย !!!

โกง1

โกง2

โกง3

โกง4
**************************************************************************

เปิดหนังสือ “ป.ป.ช.”เตือน “รบ.อภิสิทธิ์”ทุจริตประกันรายได้ โกงเป็นระบบ-หาประโยชน์มิชอบทุกขั้นตอน แต่กลับไม่ยอมสอบมา 4ปี ชี้ “มาตรฐานองค์กรอิสระ” เลือกอุ้ม-เลือกข้าง-เลือกปฏิบัติ ?
โล้ชิงช้า !— 21 February 2014
เปิดหนังสือ “ป.ป.ช.”เตือน “รบ.อภิสิทธิ์”ทุจริตประกันรายได้ โกงเป็นระบบ-หาประโยชน์มิชอบทุกขั้นตอน แต่กลับไม่ยอมสอบมา 4ปี ชี้ “มาตรฐานองค์กรอิสระ” เลือกอุ้ม-เลือกข้าง-เลือกปฏิบัติ ?
“วิชา มหาคุณ” โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงล่าสุดกรณีเร่งตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว ระบุว่า “ป.ป.ช.” มีมติแจ้งข้อกล่าวหา “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี และไต่สวนข้อเท็จจริงโครงการรับจำนำข้าว โดยอ้างว่าก่อนหน้านี้ ป.ป.ช. ได้ทำหนังสือทักท้วงไปก่อนหน้านี้แล้วว่าโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาทุจริตในขั้นตอนการดําเนินการ ปยังรัฐบาลแล้ว แต่กลับยังดำเนินโครงการต่อไป จึงเป็นการจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
โดย “วิชา มหาคุณ” กรรมการ ป.ป.ช. ผู้ยอมรับว่า มาเป็น ป.ป.ช.ได้ เพราะมีการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ยังกำหนดวันจะแจ้งข้อกล่าวหากับนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 พร้อมทั้งประกาศว่า “ภายในเดือนมีนาคม จะเร่งสรุปชี้มูลถอดถอนนายกรัฐมนตรี ให้ได้” !!!
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า  “ป.ป.ช.” และ “วิชา มหาคุณ” เร่งดำเนินการกรณี “โครงการรับจำนำ” อย่างผิดปกติและมีนัยยะสำคัญ…โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ “คดีทุจริตระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2552-2553 ??
อีกทั้งเมื่อกลับไปพิจารณาข้ออ้างของ ป.ป.ช. ที่ระบุว่า ป.ป.ช. เคยทำหนังสือเตือน พร้อมแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวก่อนหน้านี้ไปยังรัฐบาลแล้ว อันเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ ป.ป.ช.มีมติแจ้งข้อกล่าวหานายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ยิ่งทำให้น่าสงสัยอย่างยิ่งต่อการ “เร่งดำเนินคดี” กับ “ฝ่ายหนึ่ง-ฝ่ายใด” เพียง “ฝ่ายเดียว” อย่างเห็นได้ชัด !
เนื่องจาก ในกรณี “โครงการประกันรายได้เกษตรกร” ของ “รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์” ที่มี “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็น “นายกรัฐมนตรี” (2551-2554) “ป.ป.ช.” ก็เคยทำหนังสือเตือนเรื่องการทุจริตและมีข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตอย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับข้ออ้างในการเร่งดำเนินคดีกับ “โครงการรับจำนำข้าว”!
จากการตรวจสอบพบว่า “ป.ป.ช.” ได้ทำหนังสือราชการถึง “นายกรัฐมนตรี” ขณะนั้น (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ที่ ปช. 0002/0110 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 เรื่อง “ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐบาล” อ้างว่า ปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับการแทรกแซงตลาดพืชผลการเกษตรกร มีปรากฎให้เห็นอยู่โดยตลอดทั้งทางสื่อมวลชนและที่เป็นเรื่องกล่าวหาร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. ทำให้เห็นได้ว่าการทุจริตที่เกิดจากการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการแทรกแซงตลาดพืชผลการเกษตรภาครัฐที่ผ่านมามีการปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการ ด้วยกลวิธีที่ฉ้อฉลบิดเบือน และแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายในทุกขั้นตอนของการแทรกแซงในแต่ละรูปแบบ การทุจริตที่เกิดขึ้นดังกล่าวหยั่งรากลึกสะสมติดต่อกันมาเป็นเวลานาน และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการสร้างภาระด้านงบประมาณในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก และการลดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกของประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพยากรของประเทศจำนวนมหาศาล…”
ปช
“ป.ป.ช.” ลืมไปหรือไม่ว่า ครั้งหนึ่งเคยทำ “หนังสือแจ้งเตือนการทุจริตคอรัปชั่นโครงการแทรกแซงตลาดข้าว” ไปยัง “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ?
หรือ “ป.ป.ช.” อาจจะลืมไปหรือไม่ว่า  ในมือ “ป.ป.ช.” ก็มี “คดีทุจริตรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2553 และ “ดีเอสไอ”ได้สรุปสำนวนการสอบสวนและส่งให้ “ป.ป.ช.” ดำเนินการเอาผิดกับ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี , ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีและพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ มาตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2555  ที่ต้องตรวจสอบอยู่ ?
ที่สำคัญ หากใช้ “มาตรฐาน” เดียวกันกับการที่ “ป.ป.ช.” ดำเนินการกับ “โครงการรับจำนำข้าว” … “คดีทุจริตรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นรัฐบาล คือ ปี พ.ศ.2551-2554 ซึ่ง “ป.ป.ช.” ก็ทำ “หนังสือเตือนการทุจริต” เช่นเดียวกัน ก็น่าที่จะดำเนินการ “สอบสวน” เสร็จเรียบร้อยไปก่อนหน้านี้นานแล้วหรือไม่ ?? 
แต่ในทางกลับกัน สิ่งที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนในวันนี้คือ “กรณีโครงการรับจำนำข้าว”… “ป.ป.ช.” กลับใช้เวลาดำเนินการไม่กี่วัน 
ขณะเดียวกัน “คดีทุจริตรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่อยู่ในมือ “ป.ป.ช.” กลับถูกดองยาว มากว่า 4 ปีต่อเนื่อง !!! 
หรือ “ป.ป.ช.” จะลืมไปว่า…คำว่า “มาตรฐาน” ที่แท้จริงแล้ว “สะกด” อย่างไร ???

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

. อ.ธิดา ประธานนปช.ได้ทำพิธีลั่นกลองรบ

ทีมข่าว นปช.
23 กุมภาพันธ์ 2557




ประธานนปช.กล่าวเปิดการประชุมของกลุ่มแกนนำ นปช.ทั่วประเทศ ที่อาคารลิปตพัลลภฮอลล์ ในสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยใช้ชื่องาน "นปช.ลั่นกลองรบ"

โดยวันนี้ 23 กุมภาพันธฺ์ ณ บริเวณอาคารลิปตพัลลภฮอลล์ ภายในสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ  (นปช.) ทั่วประเทศนัดรวมตัวกันประชุมใหญ่ ภายใต้ชื่อ"นปช.ลั่นกลองรบ"  โดยมีกลุ่ม แกนนำนปช.จากภาคต่างๆ ทยอยเดินทางไปร่วมชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งล่าสุดแกนนำ แกนนำนปช.หลายคนได้เดินทางไปถึงสถานที่นัดชุมนุมแล้ว อาทิ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. นายแพทย์เหวง โตจิราการ เจ๋ง ดอกจิก และนายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวีระการณ์ มุสิกพงศ์ และแกนนำนปช.ส่วนกลาง อีกหลายท่าน




ต่อมาเมื่อเวลา 09.30 น. อ.ธิดา ประธานนปช.ได้ทำพิธีลั่นกลองรบ เพื่อแสดงพลังพร้อมต่อสู้เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย สำหรับการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ในครั้งนี้ มีประเด็นในการชุมนุมคือการร่วมกันหารือแนวทางการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยและสนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวของมวลชนในพื้นที่ต่างๆ โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับพี่น้องแกนนำทั่วประเทศที่มาประชุมแห่งนี้



โดย อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช.ได้กล่าวว่า พวกเราต้องการให้แกนนำ นปช.จากทั่วประเทศมาร่วมแสดงความคิดเห็นหารือกันและวางแนวทางการเคลื่อนไหวต่อสู้กับเพื่อรักษาประชาธิปไตย และสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งให้เสร็จสมบูรณ์โดยเร็วที่สุด โดยเน้นการดำเนินการแบบสันติวิธี ซึ่งสิ่งนี้คือเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของกลุ่ม นปช.ในขณะนี้ ทั้งนี้ การชุมนุมวันนี้เป็นการระดมความคิดเห็นจาก นปช.ในทุกภาคทุกพื้นที่ว่าในแต่ละพื้นที่สามารถเคลื่อนไหวในรูปแบบใดได้บ้าง และดำเนินการอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้แกนนำแต่ละพื้นที่นำไปเคลื่อนไหวในพื้นที่ของตนเองต่อไป




อ.ธิดา ประธานนปช.กล่าวว่า เรามาร่วมชุมนุมกับ นปช. รอบที่แล้วประชุมต่อต้านรัฐประหาร แต่รอบนี้ในสถานการณ์ใหม่ ซึ่งฝั่งระบอบอำมาตย์เอาเท้าทุกเท้ากระทืบฝั่งประชาธิปไตย ที่แล้วมาทบทวนพี่น้องทุกคน เรามียุทธศาสตร์ 2 ขา ขา 1 อยู่ในรัฐสภา บัดนี้ถูกยึดแล้ว แล้วสภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในสภาพใช้การไม่ได้ชั่วคราว เราจำเป็นต้องต่อสู้ เรามีขาหลัก คือหลักของประชาชน เราจึงใช้ขาประชาชน ซึ่งประกอบด้วย ขาหนึ่งคือเสื้อแดง และอีกขาหนึ่งคือขาของผู้รักประชาธิปไตยทุกคน โดยมีเป้าหมายในการต่อสู้ คือ ระบอบอำมาตยาธิปไตย และระบอบประชาธิปไตย
ทั้งนี้ เป้าหมายของทางต่อสู้คือ

1. มวลชน กปปส. นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. นปช.ต้องจัดการ
2. องค์กรอิสระที่ฉ้อฉลเป็นของอำมาตย์
3. กระบวนการยุติธรรมที่ไม่ยุติธรรม
4. การใช้กำลังอาวุธโดยกองทัพไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหารโดยตรงหรือไม่ก็ตาม

โดยในวันนี้พี่น้องต้องกำหนดโจมตีว่ามียุทธศาสตร์และยุทธวิธีอย่างไร ซึ่งเรามี 4 เป้าหมายใหญ่ ต้องการวิธีการเปิดยุทธการทั้งหมด เนื่องจากทั้งหมดจะนำไปสู่สุญญากาศทางการเมือง เมื่อเรารู้เป้าหมาย โดยมี 2 ขานี้ เราต้องนำสามัคคี 2 ขา เดินหน้าสู้เพื่อประชาธิปไตย

สำหรับวันนี้เป็นวิกฤติการเมืองเฉพาะหน้า เรื่องระยะยาวเราจะเปิดเวทีสำคัญ เพราะฉะนั้นเราอยากให้เน้นยุทธศาสตร์ ยุทธวิถี ให้พี่น้องโดยสถานการณ์เฉพาะหน้า นี่ไม่ใช่เวทีปราศัยส่วนตัว แต่จะเป็นเวทีนำเสนอ คิดและเสนออย่างเป็นระบบ ขอให้พี่น้องเตรียมเอกสารไว้จำนวนหนึ่งให้พวกเรารวบรวม ขอให้มีการจัดสรรให้เหมาะสม ขอให้พี่น้องแต่ละภาคได้เจรจาต่อกัน นำเสนออย่างไร เพื่อให้เกิดพลังและผลดีให้ได้มากที่สุด ขอให้ศึกษาข้อมูลการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เนื่องจากเป็นเวลาสำคัญ พี่น้องเป็นแกนนำที่ผ่านการต่อสู้มาหลายปี

"เราจะต้องต่อสู้ สู้ต่อไปเพื่อไม่ให้การต่อสู้ที่ยาวนานต้องสูญเสียไป ขบวนการประชาธิปไตยต่อสู้แบบไม่เปลี่ยนแปลง เราสู้มา 8 ปี มาถึงวันนี้เราจะงอมืองอเท้า ยอมแพ้อันธพาลครองเมืองได้หรือไม่ เราต้องกุมหัวใจคนที่ไม่ใช่เสื้อแดงให้ได้ ต้องใช้การต่อสู้แบบมีเหตุผล เพราะเราไม่อยากสูญเสีย และจะต่อสู้จนกว่าจะชนะ" ประธานนปช. กล่าว




ขณะที่ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. กล่าวว่า แกนนำ นปช. 77 จังหวัดทั้งประเทศ วันนี้จะเป็นวันที่เรามารับฟังพี่น้องทั้งประเทศ จะพูดให้น้อยที่สุดและฟังพี่น้อง โดยจะมีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. จะนำข้อสรุปทั้งหมด นี่เป็นวันประชุม หลังจากนี้ไปจะเป็นวันต่อสู้และรบกับเครือข่ายอำมาตยาธิปไตย พี่น้องแกนนำในแต่ละจังหวัดได้ร่วมกันนำเสนอ การต่อสู้ครั้งนี้จะหนักกว่าทุกครั้งที่ต่อสู้กันมา โดยให้พี่น้องร่วมระดมความคิด จะทำอย่างไรที่จะกำจัดนายสุเทพ และผู้ที่อยู่ข้างหลังนายสุเทพ เพราะถ้าขบวนการ นปช. เราไม่ออกมาขับเคลื่อนภายในเดือน มี.ค. จะมีการล้มรัฐบาลนี้อย่างราบคาบและล้มระบอบประชาธิปไตย คนดีกลายเป็นชั่ว คนชั่วกลายเป็นดี

นายจตุพร กล่าวต่อว่า ลำพังนํ้าหน้านายสุเทพก็ไม่เท่าไหร่ บัดนี้จึงไม่จำเป็น แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่นายสุเทพอย่างเดียว แต่อยู่ที่เครือข่ายอำมาตยาธิปไตย ซึ่งเหมือนเดิม ตั้งแต่ 19 ก.ย. และปี 53 เป็นตัวละครเดิมที่นำมาเล่นบนเวทีการเมือง และขณะนี้องค์ประกอบยังเป็นคนเดิม เพราะฉะนั้นต้องต่อสู้ให้เด็ดขาด วันนี้เป็นวันระดมความคิดแลกเปลี่ยนกัน เพราะ นปช. เป็นองค์กรประชาธิปไตย พี่น้องจะได้เห็นว่าพี่น้องคิดต่างกันอย่างไร

"หลังจากวันนี้จะเดินหน้าต่อสู้จนกว่าเราจะชนะ เพราะเรามีทางเลือกสองทาง ไม่ชนะมันก็ฆ่าเรา อยู่ระหว่างความตายและชนะ เราจึงไม่มีทางเลือกอย่างอื่น เพื่อเป็นการสั่งสอนนายสุเทพที่ท้าทาย นปช. นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจะได้รู้ว่าของจริงเป็นอย่างไร จะได้รู้ว่า นปช. เป็นอย่างไร นายสุเทพก็แค่กระจอก หลังจากนี้จะไม่มีเวที แต่จะเป็นการต่อสู้แบบม้วนเดียวจบ." นายจตุพร กล่าว


ต่อจากที่ได้ฟังความเห็นและความรู้สึกของแกนนำนปช.ทั่วประเทศแล้ว เวลา 17.30 น. นายณัฐวุฒิกล่าวสรุปหลังระดมความคิดเห็นของแกนนำ นปช.ทั่วประเทศเมื่อช่วงเช้าถึงบ่ายที่ผ่านมาว่า มีคำถามจากพี่น้องจำนวนมากว่าการต่อสู้จะเริ่มขึ้นเมื่อไร และจะปลอดภัยหรือไม่ ฝ่ายอำมาตย์มีกำลังแค่ไหน และฝ่ายประชาธิปไตยมีกำลังแค่ไหน ขอเรียนว่า เราเข้าสู่สถานการณ์สู้รบทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2556 ที่เวทีราชมังคลากีฬาสถานแล้ว เราทำงานหนักและประเมินจุดอ่อน จุดแข็งของทั้งฝ่ายเราเอง และฝ่ายตรงข้าม เมื่อเห็นว่าสถานการณ์วันนี้สุกงอม จึงชวนคนเสื้อแดงมาระดมความคิดให้รอบคอบมากขึ้น ขอให้พี่น้องโปรดเข้าใจว่าสถานการณ์ขณะนี้เข้มข้นและแหลมคมที่สุดตั้งแต่มี คนเสื้อแดงเกิดขึ้นมา สิ่งที่ นปช.กำลังคิดหนัก คือ การลดช่องว่างการสูญเสียระหว่างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

"คนเสื้อ แดงไม่ได้ภาคภูมิใจกับการมีกองกำลังติดอาวุธ และทำให้ประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายเหมือนที่นายสุเทพภาคภูมิใจกับกองกำลัง ป๊อปคอร์น ซึ่งตอนนี้คนเสื้อแดงไม่อาจนิ่งเฉยโดยไม่แสดงพลังอะไรได้ เราต้องออกมาก่อน ก่อนที่จะไม่มีโอกาสออกมาอีกแล้ว สำหรับพี่น้องที่ไม่ต้องการออกมาต่อสู้ย่อมเป็นเสรีภาพ แต่พวกผมตัดสินใจแล้ว เมื่อฝ่ายตรงข้ามกดขี่ เหยียบย่ำ ถึงแม้จะสู้จนบาดเจ็บล้มตาย ก็ไม่เสียดาย คำถามใหญ่ของพี่น้องถามว่า จะสู้จริงหรือไม่ ขอยืนยันว่าจะสู้จริงและจะสู้ถึงที่สุดด้วย ซึ่งขณะนี้เราเข้าสู่สถานการณ์ต่อสู้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แม้จะไม่มีการตั้งเวทีใหญ่ในกรุงเทพฯ แต่ขอให้คนเสื้อแดงติดตามการแถลงของ นปช.ทุกวัน และแจ้งข่าวสารกันให้ตื่นตัวตลอดเวลา" นายณัฐวุฒิกล่าว


นาย ณัฐวุฒิกล่าวถึงยุทธศาสตร์ข้อเรียกร้องเฉพาะหน้าต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยว่ามี ทั้งหมด 11 ข้อ ดังต่อไปนี้

1.ขอให้น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ยืนหยัดต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และจะไม่ลาออกเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ

2.ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาจ่ายเงินจำนำข้าวแก่ชาวนาโดยเร็ว

3.ขอให้รัฐบาลเร่งรัดจับกุมแกนนำ กปปส.ทันที

4.ขอให้ นายกฯ ไม่ต้องรับทราบข้อกล่าวหาจากป.ป.ช. ที่ปฏิบัติอย่าง 2 มาตรฐาน

5.หาก มีการวินิจฉัยใดๆ ที่ขาดความยุติธรรมให้นายกฯ แสดงอารยะขัดขืน ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยนั้นๆ

6.ขอให้รัฐบาลยอมรับขอบเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไอซีซีโดยเร็ว

7.สถานการณ์ขณะนี้ชี้ชัดว่าผู้ชุมนุมกลุ่ม กปปส.มีอาวุธและทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเรื่อยมา จึงขอให้รัฐบาลอนุมัติให้เจ้าหน้าที่ติดอาวุธเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน และรักษากฎหมายอย่างเต็มที่

8.ระหว่างนี้ขอให้มีการปฏิรูปพรรคเพื่อ ไทยไปพร้อมกัน

9.ขอให้เปิดรับอาสาสมัครช่วยงานตำรวจ

10.ขอให้รัฐบาลพิจารณาสถานที่ทำงานที่จำเป็นในภาคเหนือหรือภาคอีสาน เมื่อเกิดสถานกาณณ์คับขัน และ

11.หากมีสถานการณ์เลวร้ายอย่างถึงที่สุดให้ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นต่อไป


นาย ณัฐวุฒิยังกล่าวถึงแนวทางการต่อสู้ของคนเสื้อแดง 15 ข้อ ดังนี้

1.ถ้ามีการนัดหมายเคลื่อนขบวนต่อสู้ให้คนเสื้อแดงเคลื่อนไหวแบบอิสระ เพราะศาลแพ่งได้วินิจฉัยในกรณีของกลุ่มกปปส.แล้ว ซึ่งต้องคุ้มครองแนวทางของ นปช.ด้วย

2.ให้จัดตั้งกองกำลังชายฉกรรจ์แต่ละจังหวัดไม่ต่ำกว่า 100 คน และให้มีผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้เพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชน

3.ให้ นปช.ประสานงานกับเครือข่ายประชาธิปไตยทุกกลุ่ม

4.ให้เผยแพร่รายชื่อผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตยเพื่อทำการโจมตีทั้ง ทางสังคมและเศรษฐกิจ

5.ให้ครอบครัวทหารและตำรวจเร่งทำความเข้าใจให้ออกมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

6.จัด ตั้งเครือข่ายลูกเมียของทหาร ตำรวจ เพื่อทำงานสื่อสารมวลชนในที่ตั้งของตนเอง

7.ให้ตั้งเวทีชุมนุมรอบปริมณฑล เพื่อกดดัน กปปส.ไม่ให้เคลื่อนไหวได้อย่างมีอิสระ

8.จัดตั้งหน่วยให้ความรู้ประชาชนให้การใช้คอม พิวเตอร์เพื่อเป็นนักรบไซเบอร์

9.เมื่อสถานการณ์คับขันและต้องเข้ากรุงเทพฯ ให้มีการชัตดาวน์องค์กรอิสระทั้งหมด

10.มีการจัดตั้งองค์กรเงา เช่น กรรมการสิทธิมนุษยชนเงา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเงา และที่ประชุมอธิการบดีเงา เพื่อทำหน้าที่คู่ขนานกับองค์กรหลักที่รับใช้เผด็จการ ซึ่งองค์กรเงาจะตอบโต้ทุกประเด็น

11.ตั้ง คณะกรรมการส่งเสริมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยทำหน้าที่จัดอีเวนต์ด้านวัฒนธรรม

12.รณรงค์ต่อต้านรัฐประหารเต็มรูปแบบ 13.จัดตั้งหน่วยเฝ้าระวังเพื่อดูพฤติกรรมของทหารรอบค่ายทหารในยามสถานการณ์ ตึงเครียด

14.จัดหาสถานที่หลบภัยยามที่คนเสื้อแดงเป็นฝ่ายตั้งรับหรือถอยร่น

15.ให้คนเสื้อแดงสู้อย่างเต็มที่และมีทุกสิ่งให้พร้อมสรรพ ทุกสิ่งที่ควรมี ต้องมี และจำเป็นต้องมีตามความเหมาะสมของสถานการณ์ ซึ่งแกนนำ นปช.จะนำไปพิจารณาอีกครั้ง

"การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เราคาดหวังว่าจะไม่มีการสูญเสียเพิ่มอีกซักรายเดียว ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวจะมีการประชุมภายในคณะกรรมการแกนนำ นปช.อีกครั้ง ต่อไปนี้เราจะไม่ถอยอีกแล้ว เมื่อเราสู้จนชนะ เราจะเอานายสุเทพเข้าคุก จะไม่ไล่ใครออกนอกประเทศหรือยึดทรัพย์ เพราะเราไม่ต้องการยึดอำนาจรัฐ ต้องการเพียงระบอบประชาธิป ไตย" นายณัฐวุฒิกล่าว



 

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คำต่อคำ พล.อ พัลลภ ยัน พล.อ สุรยุทธ์ ร่วมวงวางแผนล้ม ทักษิณ



“พัลลภ”ยอมแถลงเปิดใจหมด เปลือก แผนโค่นล้มระบอบทักษิณ แฉ “สุรยุทธ์” เสียสัจจะ ที่บอกจะไม่เป็นนายกฯ อ้างเข้าหา “ทักษิณ” ไม่อยากเห็นคนไทยฆ่ากัน ขอให้ “สุรยุทธ์” ลาออกจากองคมนตรี เพื่อรักษาสถาบัน


พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ให้สัมภาษณ์เปิดใจเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ถึงเหตุการณ์ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โฟนอินพาดพิง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลังร่วมวางแผนโค่นล้มระบอบทักษิณ 19 ก.ย.2549 ว่า เป็นเรื่องจริง แต่ว่าพล.อ.สุรยุทธ์ ไม่เคยเชิญตนเข้าร่วมประชุม แต่เจ้าของบ้านที่สุขุมวิท เชิญตน และประชุมร่วมกัน ซึ่งไม่ได้ประชุมแค่ครั้งเดียว แต่มีการประชุมกัน 3-4 ครั้ง ซึ่งมีการพูดคุยปัญหาของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณว่า จะให้รัฐบาลล้มไปอย่างไร โดยมี 2 แนวทาง คือ ทางด้านรัฐธรรมนูญ หรือทางด้านกฎหมาย ถ้าแนวทางแรกไม่สำเร็จก็จะทำรัฐประหาร

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นโยบายหาเสียงของ "พรรคเพื่อไทย" คือการ "รับจำนำข้าว"

นโยบายหาเสียงของ "พรรคเพื่อไทย" ที่ได้ทำ "สัญญาประชาคม" ไว้กับ "กระดูกสันหลังของชาติ" คือการ "รับจำนำข้าว" ค่ะ
การดำเนินการจำนำข้าวในช่วงแรก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ "ชาวนาไทย ได้ลืมตาอ้าปาก" มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาชาติอื่นๆ รัฐบาลเพื่อไทย ได้กำหนดราคารับจำนำข้าวไว้ที่ "เกวียนละ15,000บาท"ขาดตัวค่ะ
พรรคประชาธิปัตย์ พยายามจะโจมตีรัฐบาลว่าจำนำข้าวขาดทุน 2แสน6หมื่นล้าน รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ยืนยันว่า มันไม่มากขนาดนั้น ปีหนึ่งน่าจะอยู่ที่6หมื่นกว่าๆ หรือถ้าคิดแบบขายข้าวที่มีอยู่ได้ราคาต่ำสุดๆก็ประมาณแสนกว่าๆ
พี่น้องประชาชนเมื่อได้ฟังทั้ง2ฝ่ายเถียงกัน ว่าขาดทุนมาก หรือขาดทุนน้อย ยังไงก็เป็นผลเสียต่อรัฐบาลค่ะ เพราะประชาชนจะเข้าใจว่ารัฐบาลบริหารไม่ดี ทำให้โครงการขาดทุนไม่มากก็น้อย ซึ่งจริงๆแล้วการรับจำนำข้าวเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร รัฐจะต้องชดเชยส่วนต่างของราคาให้กับชาวนาในกรณีที่ราคาข้าวในตลาดโลก ไม่ถึงหมื่นห้า ซึ่งยังไงๆก็ไม่ถึงอยู่แล้วค่ะ

เรื่องกำไรไม่ต้องพูดถึงค่ะ ต่อให้ราคาข้าวในตลาดโลกราคาเกินหมื่นห้าขึ้นไป สมมุติอยู่ที่ 18,000-20,000 โครงการก็ไม่กำไรอยู่ดีแหละค่ะ เพราะว่าในเมื่อชาวบ้านจำนำไว้หมื่นห้า ถ้าราคาข้าวขึ้นเป็น2หมื่น กำไรก็ตกเป็นของชาวนาไม่ใช่รัฐบาลอยู่ดี เพราะชาวนาก็จะมาไถ่ข้าวไปขายเองเพราะได้กำไรมากกว่า
เพื่อความโปร่งใส และหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด รัฐบาลควรจะประกาศไปเลยว่า ราคาข้าวในตลาดโลกเท่าไหร่ ราคาที่จะรัฐจะรับจำนำในปีนี้จะเป็นเท่าไหร่ ปริมาณผลผลิตข้าวที่เข้าโครงการเท่าไหร่ ใน1ตันจะขาดทุน3พัน5พันก็ว่ากันไป หักกลบลบหนี้เรียบร้อย ต้องนำเงินภาษีอากรไปชดเชยกี่หมื่นกี่แสนล้านก็บอกไป พี่น้องประชาชนจะคิดเองว่า เห็นด้วยหรือไม่ในนโยบายจำนำข้าว ไม่ใช่ทำงานคิดนโยบายมาแทบตาย แต่กลับปล่อยให้พรรคฯอื่นมาตีกินคะแนนไปแบบนี้

พี่น้องไทยไม่ใช่คนใจไม้ไส้ระกำค่ะ กินข้าวเป็นอาหารหลักมาทั้งชีวิต ตั้งแต่เด็กจนโตมีงานทำ จะนำเงินภาษีไปตอบแทนบุญคุญพี่น้องชาวนา ที่ยังยากจนอยู่ให้ลืมตาอ้าปากได้บ้างจะเป็นไรไป บางคนที่เสียดายเงินภาษีไม่อยากให้นำไปช่วยชาวนา ในการเลือกตั้งคราวหน้าเขาก็ไม่เลือกเพื่อไทย ใครที่คิดว่าควรเป็นการตอบแทนชาวนาบ้าง แบบนี้เป็นการสมควรแล้ว เขาก็เลือกเพื่อไทย
คิดง่ายๆก็คล้ายๆกับ โครงการ30บาทรักษาทุกโรคนั่นแหละค่ะ ทำมาตั้งแต่ปี2545 เริ่มต้นปีละ4หมื่นกว่าล้าน ตอนนี้ปีละ 7-8หมื่นล้าน ทำมา10กว่าปี ใช้งบไปร่วม5-6แสนล้าน คิดแบบพรรคประชาธิปัตย์คงเรียกว่าขาดทุนครึ่งล้านๆ แต่คุณพ่อเราสอนให้คิดเสียว่า เป็นการให้โอกาสคนยากคนจน ในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ในเรื่องของการรักษาพยาบาลอย่างทัดเทียมกันค่ะ (คือไม่ใช่เป็นโรคเดียวกัน คนมีเงินอยู่รอดได้ แต่คนยากจนต้องตาย เพราะไม่มีค่ารักษาพยาบาล)

ความจริงเรื่องขาดทุนนะมีค่ะ งบที่ขาดทุนแน่ๆ แต่ประชาธิปัตย์ไม่เคยพูดถึงเลย คืองบจัดซื้อรถดับเพลิงค่ะ รถดับเพลิงที่ผู้ว่าฯกทม.ของพรรค ปชป. เปิดLCทำให้สัญญามีผลผูกพันตามกฎหมาย ศาลกำลังจะตัดสิน เอาตัวคนผิดมาติดคุก ในเดือนสิงหาคมนี้ งานนั้นเสียเงินภาษีของราษฎรไป 6พันกว่าล้าน ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์เลยแม้แต่นิดเดียว ขาดทุนแน่ๆ100%ถึงหกพันกว่าล้านค่ะ

กับอีกงบที่เรียกได้ว่าเป็นการขาดทุนแบบ "ขี้ข้าฝรั่งแกล้งโง่" คืองบ.ปรส.ค่ะ ของมูลค่า6-7แสนล้าน บังคับขายแสนกว่าล้าน แถมคนไทยด้วยกันเองห้ามซื้ออีกต่างหาก ฝรั่งซื้อไปถูกๆ นำไปปัดฝุ่นนิดหน่อย เอากลับมาขายคนไทยราคาสูงกว่าทุน200% แบบนี้สิค่ะ ขาดทุนแบบไร้คุณธรรมที่สุด

ประเด็นที่เราควรพิจารณาไม่ใช่กำไรขาดทุน จำไว้ค่ะพรรคประชาธิปัตย์ เราควรต้องดูว่าชาวนาได้ประโยชน์หรือไม่, เงินตกถึงมือชาวนามากกว่าเดิมหรือไม่ อุดการรั่วไหลไปยังผู้แสวงประโยชน์ได้ดีพอหรือเปล่า เงินที่ถึงมือชาวนาหมุนไปกี่รอบ กระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีหรือไม่ ผลรวมเป็นอย่างไร
ถ้ายังคิดที่จะบริหารประเทศแบบนักบัญชี ที่ดูบัญชีเป็นหน้าเดียว ไม่เข้าใจคำว่า"เศรษฐกิจ" และ"โอกาส" ที่เป็นความต้องการพื้นฐานของชีวิต ที่รัฐควรมีให้พี่น้องคนยากคนจน ผลเลือกตั้งกี่ครั้ง ก็ออกมา"แพ้ซ้ำซาก" แบบที่เราเห็นมาในรอบสิบๆปีแบบนี้แหละค่ะ


วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธกส เป็นผู้ที่เริ่มต้นคิดอ่านที่จะไปแสวงหาเงินกู้นี้ด้วยตนเอง ไม่มีใครบังคับ หรือกำกับการแสดง



Thirachai Phuvanatnaranubala


ข่าวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับวันนี้ คุณวรวิทย์ ผอ ออมสิน พูดว่า ออมสินให้กู้แบบอินเตอแบงค์แก่ ธกส โดยไม่มีกระทรวงการคลังค้ำประกันแก่ออมสิน

สรุปแล้ว คุณวรวิทย์ ยืนยันว่าเป็นการกู้ยืมกันระหว่างธนาคารตามปกติ ซึ่งเมื่อยืนยันอย่างนี้ ก็อาจจะช่วยกันคุณวรวิทย์ ไม่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการฝ่าฝืนกฎหมาย

คุณวรวิทย์อ้างว่าไม่รู้ว่า ธกส จะใช้เงินดังกล่าว เพื่อโครงการจำนำข้าวหรือไม่ (แต่การนำสืบ ก็คงต้องขอให้คุณวรวิทย์ ยืนยันและชี้แจงขั้นตอนการติดต่อ โดยเฉพาะมีบุคคลภายนอกเข้ามาช่วยประสานงานหรือไม่ รัฐมนตรีคลังได้ให้ดูจดหมายคอมฟอร์ตหรือไม่ ฯลฯ)

แต่ในด้านหนึ่ง เป็นการปกป้อง ออมสิน แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ยิ่งเปิดประเด็นปัญหาให้ ธกส ต้องเตรียมคำตอบไว้ให้ดี

(ก) หากเป็นเงินกู้อินเตอแบงค์ตามปกติแล้ว ก็หมายความว่า ธกส เป็นผู้ที่เริ่มต้นคิดอ่านที่จะไปแสวงหาเงินกู้นี้ด้วยตนเอง ไม่มีใครบังคับ หรือกำกับการแสดง

ถ้าอย่างนี้ ธกส ก็ต้องเตรียมคำอธิบาย ว่าในเมื่อ ธกส มีสภาพคล่องเพื่อรองรับธุรกิจอื่นๆ (นอกเหนือจากจำนำข้าว) ที่พอเพียงอยู่แล้ว เหตุใด ธกส จึงคิดอ่านที่จะต้องกู้อินเตอแบงค์เพิ่มขึ้นอีก

ซึ่งบังเอิญมีการเร่งดำเนินการ ในช่วงที่มีการเลือกตั้งอย่างนี

และบังเอิญที่ผ่านมา มีข่าวแพร่สะพัดก่อนหน้า ว่ากระทรวงการคลังได้พยายามหาแหล่งเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ ให้แก่ ธกส เพื่อใช้ในโครงการจำนำข้าว แต่ไม่สำเร็จ

การที่ ธกส เกิดบังเอิญมีความต้องการสภาพคล่องเพิ่ม เป็นกรณีพิเศษทีไม่ปกติ ทั้งที่ดูแล้วไม่น่าจะมีความจำเป็นสำหรับธุรกิจอื่นๆ และทำในช่วงเวลาที่กระทรวงการคลังประสบปัญหา มีความเกี่ยวพันกันหรือไม่อย่างไร

(ข) นอกจากนี้ ธกส ต้องเตรียมคำตอบ ว่าขบวนการติดต่อ ออมสิน เพื่อกู้อินเตอแบงค์ ดังกล่าวครั้งนี้ ใครเป็นผู้เริ่มดำเนินการ ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มต้น จนจบ เป็นไปตามขั้นตอนปกติที่ ธกส และ ออมสิน เคยใช้ในอดีตหลายสิบปีหรือไม่

มีบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ธกส หรือ ออมสิน เข้ามาร่วมในการประชุม ติดต่อ นัดแนะ หรือไม่

เจ้าหน้าที่ ธกส เคยเห็นจดหมายคอมฟอร์ตหรือไม่

(ค) และต้องเตรียมงานด้านบัญชี ให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบจาก สตง.

เนื่องจากการดำเนินโครงการจำนำข้าว ธกส ต้องแยกบัญชีออกต่างหาก จากธุรกิจอื่นๆ วัตถุประสงค์เพื่อมิให้มีปัญหาภายหลัง ในการจัดทำตัวเลขเพื่อขอการชดเชยจากกระทรวงการคลัง

และก็จะช่วยป้องกันมิให้ ธกส มั่ว โอนเอาค่าใช้จ่ายหรือภาระใด ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล เข้าไปลงบัญชีในด้านโครงการ

ดังนั้น การนำเอาเงินที่ได้จากการกู้สภาพคล่องอินเตอแบงค์ โอนข้ามห้วย จากฝั่งธุรกิจปกติ ข้ามไปฝั่งโครงการตามนโยบายของรัฐบาล น่าจะทำไม่ได้

ถ้ามีการโอนข้ามห้วย ทั้งที่ในอดีตไม่เคยมีการทำเช่นนี้มาก่อน ทั้งที่ไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติภายในของ ธกส และมาทำกันในช่วงเลือกตั้ง ก็จะสงสัยได้ ว่ามีเจตนาเพื่อทำให้เกิดผลต่อการเลือกตั้งหรือไม่

ผมแนะนำให้เตรียมคำตอบไว้แต่เนิ่นๆ ครับ เพราะอาจะมีผู้ใดเรียกให้ ธกส ชี้แจงเร็วๆ นี้ก็ได้ เช่น กรรมาธิการวุฒิสภา



**************************************************************************************


ธีระชัย ชี้ 5 ข้อ ขรก.-ผู้บริหาร ธ.ก.ส. ถูกหลอกใช้ กู้เงินจำนำข้าว 1.3 แสนล้าน


ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

ธีระชัย ชี้ 5 ข้อ ขรก. ผู้บริหาร ธ.ก.ส. ถูกหลอกใช้ กู้เงินจำนำข้าว 1.3 แสนล้าน
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  เฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala

          ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊ก แนะข้าราชการ ผู้บริหาร ธ.ก.ส. ที่พัวพันกับการกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนในโครงการจำนำข้าว เร่งทบทวนใน 5 ประเด็น เนื่องจากกำลังตกเป็นเครื่องมือของรัฐบาล
          เมื่อเวลา 21.30 น. ของวันที่ 22 มกราคม 2557 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ในหัวข้อ “รัฐบาลจะให้กฤษฎีกาตีความเพื่อกู้ 1.3 แสนล้านบาท ถามว่าจะทำให้ปลอดภัยจริงหรือ” โดยสรุปใจความได้ว่า จากข่าวที่ว่าในวันนี้ (23 มกราคม 2557) รัฐบาลจะขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความว่า การกู้ 1.3 แสนล้านบาท เพื่อจะหาเงินไปจ่ายให้แก่ชาวนา ที่ค้างจ่ายใบประทวนขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งวิธีการของกระทรวงการคลัง ในการพยายามที่จะกู้ 1.3 แสนล้านบาทครั้งนี้ มีเงื่อนงำหลายประเด็น ดังนี้
         ประเด็นที่ 1 วงเงินดังกล่าว จะใช้วิธีโยกออกมาจากโครงการลงทุนคมนาคมขนส่ง คือ รัฐบาลจะให้ชะลอการลงทุนดังกล่าวไปก่อน แล้วจะนำเงินมาใช้ในโครงการจำนำข้าวแทน ซึ่งวิธีนี้ต้องเรียกว่า จับแพะชนแกะ และถือว่าจนตรอกจนต้องมั่ว เพราะเป็นการโยกย้ายเอารายการที่เป็นการลงทุนระยะยาว ไปดำเนินการเป็นรายการที่เป็นค่าใช้จ่ายเสียแทน

          การทำเช่นนี้เป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการตั้งวงเงินกู้ จากรายการที่เป็นงบดุลเข้าลักษณะเป็นงบลงทุน ไปเป็นรายการบัญชีกำไรขาดทุนที่เข้าลักษณะเป็นงบประจำ ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่รู้ว่าถูกกฎหมายหรือไม่ แต่ไม่ค่อยเห็นเขาทำกัน ดังนั้น ย่อมไม่เป็นเรื่องปกติ แต่ส่อว่ามีเจตนาแอบแฝงบางอย่าง

         ประเด็นที่ 2 วงเงินที่กำหนดเดิมในปี 2554 จำนวน 4.1 แสนล้านบาท และที่เสนอ ครม. ในวันที่ 3 กันยายน 2556 อีก 2.7 แสนล้านบาท ก่อนหน้าที่จะมีการยุบสภานั้น ทั้งสองกรณีเป็นวงเงินหมุนเวียนซึ่งมีเป้าประสงค์จะให้รัฐบาลขายข้าวออกไป เพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนในรอบต่อ ๆ ไป แต่การกู้ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงเงินใหม่ 2.7 แสนล้านบาทนี้ กลับไม่ได้คำนึงถึงการขายข้าวเพื่อนำเงินมาหมุนเวียนเลย

          สรุปง่าย ๆ คือ ถ้าเปลี่ยนไปใช้หลักการว่า ขาดเงินเท่าไหร่ ก็กู้เพิ่มเท่านั้น จะทำให้เป้าประสงค์ที่จะให้รัฐบาลขายข้าวหมดสภาพไปโดยปริยาย แต่ในการกู้ 1.3 แสนล้านบาท โดยไม่กล่าวถึงวิธีแก้ปัญหา สืบเนื่องมากจากการที่รัฐบาลไม่ยอมขายข้าวออกไป จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการ และไม่ตรงกับเจตนารมณ์เดิมของการอนุมัติวงเงินทั้งสองครั้งดังกล่าว

         ประเด็นที่ 3 ในการเสนอวงเงินเดิมในปี 2554 จำนวน 4.1 แสนล้านบาท ได้มีการขมวดไว้ชัดเจน กำหนดเงื่อนไขให้กระทรวงการคลัง ต้องค้ำประกันหนี้ดังกล่าวแก่ ธกส. แต่ในการเสนอวงเงินใหม่ ในวันที่ 3 กันยายน 2556 อีก 2.7 แสนล้านนบาทในขณะนั้น ไม่ได้มีการระบุให้กระทรวงการคลัง ต้องค้ำประกันหนี้ดังกล่าวแก่ ธกส. แต่อย่างใด
          ต่อมา คณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะ ได้มีมติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการที่ ธกส. จะกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 2.7 แสนล้านบาทดังกล่าว และได้แจ้งให้ ครม. รับทราบ จากนั้นกระทรวงการคลังได้ทำเรื่องนี้ไปหารือ กกต. แต่ กกต. ได้มีมติว่า การดำเนินการข้างต้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องใช้ดุลพินิจเอาเอง

          ซึ่งปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในประเด็นนี้ คือ คณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะ ได้มีมติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันภายหลังจากที่ได้มีการยุบสภาไปแล้ว ดังนั้นการทำเช่นนี้ส่อเจตนาชัดเจนว่า รัฐบาลพยายามจะทำในสิ่งที่รัฐธรรมนูญห้ามไว้ โดยยืมมือของคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะในการดำเนินการ

         ประเด็นที่ 4 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแถลงว่า การกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท ไม่ใช่การที่รัฐบาลรักษาการณ์ทำให้เกิดหนี้ที่ผูกพันรัฐบาลใหม่ เพราะหนี้มีอยู่เดิมแล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าเกษตรกรที่ถือใบประทวนนั้น เป็นเจ้าหนี้รัฐบาลอยู่แล้ว และหนี้ดังกล่าวก็มีอยู่แล้ว ทั้งต่อรัฐบาลนี้และต่อรัฐบาลใหม่

          แต่กรณีมีรัฐบาลใหม่ หากรัฐบาลใหม่ไม่ต้องการดำเนินนโยบายจำนำข้าวต่อไปเหมือนเดิม รัฐบาลใหม่อาจจะเปลี่ยนแปลงวิธีดำเนินการบางอย่างก็ได้ เช่น รัฐบาลใหม่อาจจะไม่ประสงค์จะใช้เงินกู้ เพื่อชำระใบประทวนก็ได้ แต่อาจจะเน้นใช้เงิน จากการขายข้าวออกไปแทนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้

          ทั้งนี้ รัฐบาลใหม่อาจต้องการให้มีการตรวจนับสต๊อก หรือตรวจสอบขั้นตอนการรับข้าวเข้าโกดัง หรือตรวจสอบขั้นตอนการบันทึกบัญชี หรือทำเรื่องอื่นใดเสียก่อนที่จะมีการกู้ยืมเงิน 1.3 แสนล้านบาท ดังนั้น การกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาทนี้ อาจมีผลเป็นการผูกพันรัฐบาลใหม่ได้ในบางเรื่อง

         ประเด็นที่ 5 แม้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำแก่รัฐบาล แต่คำตอบสุดท้าย อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่ข้าราชการ หรือผู้บริหาร ธกส. ยอมทำตัวเป็นเครื่องมือ เข้าร่วมในขบวนการกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท  หากภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าผิด บุคคลเหล่านี้ก็ต้องร่วมรับผิดไปพร้อมกับ ครม. ด้วย ดังนั้นข้าราชการควรระมัดระวัง โดยเฉพาะการยกคำถามแก่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากไม่พูดข้อเท็จจริงและเบื้องหลังทั้งหมด อาจจะได้คำตอบที่สนับสนุนรัฐบาล

          อย่างไรก็ตาม หากมีการร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่การสืบวิธีดำเนินการที่ปรากฏว่ามีเงื่อนงำ หรือไม่เป็นไปตามครรลองปกติ เป็นเหตุให้ผลการตัดสินอาจไม่ตรงกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ยิ่งขณะนี้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ขั้นตอนการทำงานต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ข้าราชการหรือผู้บริหาร ธกส. ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นอย่างที่คาดไม่ถึง

****************************************

ธีระชัย...เป็นอย่างไรบ้างตอนนี้?

รายการ  ประจำวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังเคยพูดไว้ว่า....ให้ความสำคัญเรื่องวินัยทางการคลังเป็นอย่างมาก...ไม่ได้มีส่วนในการร่างนโยบายของพรรคเพื่อไทย  แต่ก็เห็นด้วยกับแนวความคิดเหล่านี้  เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ต้องการจะปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ....จำเป็นต้องมีการพิจารณาเรื่องความยั่งยืนทางฐานะการคลังควบคู่ไปด้วย  เพื่อประสานความใฝ่ฝันทางการเมืองให้พอดีกับความเป็นไปได้ทางวิชาการ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างข้าราชการและนโยบายของพรรค ให้มีความกลมกลืนกันให้มากที่สุด....ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างเเล้ว

Produced by VoiceTV
15 กันยายน 2554 เวลา 20:36 น.

*****************************************************

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557


ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล:ชาวนาที่ค้างใบประทวน เมื่อไหร่จะได้เงิน?

เนื้อหาว่า ขณะนี้ รัฐบาลค้างจ่ายเงิน ให้แก่ชาวนา ที่ส่งข้าวเข้าไปโกดังแล้ว และได้รับใบประทวนแล้ว แต่ไม่สามารถ ขึ้นเป็นเงินได้ โดยมีใบประทวน ค้างจ่ายกว่า 1 ล้านฉบับ ชาวนาที่ไม่ได้รับเงิน เดือดร้อนมาก ต้องไปกู้เงินนอกระบบ เสียดอกเบี้ยในอัตราสูงมาก ผลกระทบเกิดขึ้น ต่อชาวนาหลายแสนคน

เหตุการณ์ที่ผ่านมา ปรากฎว่าพาณิชย์ ไม่ยอมขายข้าวออกไป เหตุผล มีสองข้อ
ข้อหนึ่ง เนื่องจากกลัวว่า ถ้าขายออกไปมาก จะทำให้ราคาตลาดโลกลดต่ำ ซึ่งจะมีผลทำให้ การตีราคาสต๊อกข้าวในมือ จะมีมูลค่าสต๊อก ลดต่ำลงไปด้วย อีกเหตุผลหนึ่ง อาจจะเกี่ยวข้องไปถึงเรื่องที่ ปปช. กำลังตรวจสอบอยู่ ในขณะนี้

เมื่อไม่ยอมขายข้าวออกไป ก็ไม่มีเงินหมุนเวียนวนกลับ ทำให้เงินเหลือ ในวงเงินดังกล่าว ที่จะจ่ายให้แก่ชาวนา ในรอบต่อๆ ไป ร่อยหรอไปด้วย

ถามว่า มาถึงวันนี้ รัฐบาลจะสามารถกู้เงินมา เพื่อจ่ายให้แก่ชาวนา ได้หรือไม่ ? ถ้า นายกิตติรัตน์ ได้วางแผนล่วงหน้า ควรจะได้เสนอ ครม. ให้ขยายวงเงิน หมุนเวียน ให้สูงขึ้นสักจำนวนหนึ่ง เพื่อรองรับปัญหานี้ สุดท้าย มีการยุบสภาเสียก่อน จึงมีผลเท่ากับ รัฐมนตรีคลังได้จูงมือ พารัฐบาล เข้าตาจน

นายกิตติรัตน์ ยังดันทุรัง เสนอเรื่องต่อ ครม. ให้ทำเรื่องไปขออนุญาต กกต. เพื่อกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท " เรื่องนี้น่าจะยาก " เนื่องจากวงเงินเดิมกำหนดไว้ ในลักษณะ เป็นวงเงินหมุนเวียน จึงไม่มีช่องที่รัฐบาล จะกู้เงินภายในวงเงินเดิม แม้แต่น้อย จึงไม่เห็นว่า กกต. จะสามารถอนุญาตได้อย่างใด

การที่รัฐบาลเสนอเรื่องไปที่ กกต. อาจจะเป็นเพียงเพื่อ ให้ชาวนาเห็นว่า รัฐบาลได้พยายามแล้ว แต่อุปสรรคอยู่ที่ กกต. มิใช่อยู่ที่รัฐบาล มากกว่าที่จะหวังผลอย่างแท้จริง

* ถามว่า รัฐบาลจะขอให้ ธกส. ใช้เงินสภาพคล่อง เพื่อจ่ายให้ชาวนาไป บางส่วน ได้หรือไม่? ข่าวล่าสุด ทั้งผู้บริหาร และสหภาพ ธกส. ไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ ธกส. เสี่ยงที่จะขาดทุน โดยที่ไม่มีข้อผูกมัดจาก ครม. มาคุ้มครอง หากนำเงิน มาทุ่มในโครงการจำนำข้าว ก็จะเป็นอันตรายต่อ ธกส. - และหากเกิดความเสียหาย ผู้บริหาร ธกส. จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวอีกด้วย !!!

*ถามว่า รัฐบาลจะใช้ธนาคารออมสิน กรุงไทย หรือธนาคารรัฐอื่นๆ เพื่อจ่ายเงินให้แก่ชาวนาได้หรือไม่ ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่าน ธกส. - หากผู้บริหาร กรรมการ ของสถาบันการเงิน ของรัฐ ดังกล่าว เข้าไปให้กู้แก่รัฐบาล เพื่อโครงการนี้ ทุกๆ คน จะมีความเสี่ยงต่อตนเอง แบบเต็มๆ - ทั้งนี้เพราะ มาตรา 181 (4) บัญญัติไว้ให้รัฐบาลรักษาการณ์

“ ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากร ของรัฐเพื่อดำเนินการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง ” - หากรัฐบาลสั่งให้สถาบันการเงิน ของรัฐ ดำเนินการดังกล่าว ทั้ง ครม. และผู้บริหารสถาบันการเงิน ของรัฐ ก็อาจจะมีความผิดทุกๆ คน

*ถามว่า การที่ชาวนา รวมตัวกัน ฟ้องคดีรัฐบาล และพรรคเพื่อไทย จะได้เงินหรือไม่ ? หากเป็นการฟ้องศาลปกครอง ก็ไม่สามารถตัดสิน เกินไปกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้ หากเป็นการฟ้องศาลแพ่ง กว่าจะได้ผล ก็คงกินเวลาอีกนานมาก - ถามว่า หากมีการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภา 57 และถ้าหากชาวนาพากันเลือก พรรคเพื่อไทย จะได้เงินหรือไม่ หากมีรัฐบาลใหม่ เงื่อนไขที่เป็น ข้อจำกัด ก็จะหมดไป รัฐบาลใหม่ จะสามารถกู้เงินมาเพื่อแก้ปัญหาได้ทันที แต่เงื่อนเวลาอาจจะแตกต่างกัน

*หากสมมุติเล่นๆ ว่ารัฐบาลใหม่ เป็นรัฐบาลคนกลาง ไม่ว่าเกิดขึ้นเนื่องจาก นายกยิ่งลักษณ์ลาออก หรือเนื่องจากการปฏิวัติ รัฐประหาร รัฐบาลใหม่ก็คงดำเนินการได้ทันที แต่สำหรับรัฐบาลที่จะเกิดขึ้น จากการเลือกตั้งนั้น เงื่อนเวลา จะมีความแน่นอนน้อยกว่า เพราะกว่าจะเลือกตั้งกันครบถ้วน กว่าจะได้จำนวน ส.ส. มากพอ ที่จะเปิดสภา และกว่าจะฝ่าฟันการต่อสู้ในศาล ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง การนับคะแนน จะทำให้กะเวลาได้ยากกว่ามาก

*สรุปแล้ว หากรัฐบาลใหม่ เป็นรัฐบาลคนกลาง เงื่อนเวลา น่าจะแน่นอน หากเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เงื่อนเวลา จะกะยากกว่า - ที่ผมพูดทั้งหมดนี้ ไม่ได้สนับสนุนรัฐบาลแบบใดเป็นพิเศษ แต่ต้องการให้ชาวนา ทำใจยอมรับ - หรือหากไม่ทำใจยอมรับ ก็ขอให้รู้ ว่าปัญหาเกิดจากจุดใด#PDRC UTT


ที่มา :  https://www.facebook.com/thirachai.phuvanatnaranubala ใน ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล:ชาวนาที่ค้างใบประทวน เมื่อไหร่จะได้เงิน?


************************************************************************************************************************

วันอังคาร ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557, 13.27 น.

11 ก.พ.57 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง เปิดเผยในงานเสวนา "ช่วยชาวนาอย่างไร โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญและรักษาวินัยการเงินการคลัง" โดยกล่าวยอมรับว่า ขณะนี้โครงการรับจำนำข้าวมาถึงทางตัน เนื่องจากรัฐบาลไม่มีเงินมาจ่ายชาวนา และจะไปให้สถาบันการเงินกู้เพื่อมาใช้ในโครงการ แต่ปรากฏว่าสถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยกู้ได้ เพราะติดขัดในด้านกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังจะให้โรงสีเข้ามารับภาระโดยจะให้ชาวนานำใบประทวนมาขอสภาพคล่องอีก โดยจะให้มีการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่โรงสีในอนาคต ปรากฏว่าพบปัญหาที่ว่าไม่มีกฎหมายข้อไหนมารองรับที่จะดำเนินการในเรื่องของการจ่ายชดเชยดอกเบี้ยให้แก่โรงสีได้เลย
นายธีระชัย กล่าวต่อว่า ทางรัฐบาลรักษาการควรที่จะมีการเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยการขายข้าวล็อตใหญ่ ในจำนวน 2 ล้านตันต่อเดือน ซึ่งต้องไม่ใช่วิธีขายแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจีปลอม เหมือนที่ผ่านมา แต่ก็ต้องยอมรับว่าการขายแบบทีละ 2 ล้านตัน จะทำให้กดราคาตลาดโลกให้ต่ำลง แต่ก็จะเป็นเพียงระยะสั้นๆ และจะทำให้รัฐบาลขาดทุนบ้าง แต่ก็สามารถมีเงินมาจ่ายชาวนาได้

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติสุเทพ เทือกสุบรรณ ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ และครอบครัว




ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ
 สุเทพ เทือกสุบรรณ

สุเทพ เทือกสุบรรณ

สุเทพ เทือกสุบรรณ 

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ)เฟซบุ๊ก เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ (ขิง), Instagram kempromphan, namtipsy, thaitan, karesang

          ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ ภรรยาคนปัจจุบัน พร้อมครอบครัว ผู้ซึ่งเป็นกำลังใจให้ นายสุทพ แกนนำผู้ชุมนุมค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

          หากกล่าวถึงสถานการณ์บ้านเมืองอันร้อนระอุในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2556 นี้ บุคคลที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคนหนึ่ง คงหนีไม่พ้นชื่อของ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นแน่แท้ เพราะ นายสุเทพ ได้ประกาศลาออกจากการเป็น ส.ส. เพื่อลงมานำมวลชนต่อสู้กับระบอบทักษิณอย่างเต็มตัว

          วันนี้ กระปุกดอทคอม จึงขอนำประวัติของผู้คร่ำหวอดทางการเมืองมาอย่างยาวนานคนนี้ มาแนะนำให้ได้รู้จักกันอีกครั้ง...



ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ
 สุเทพ เทือกสุบรรณ  

 ประวัติสุเทพ เทือกสุบรรณ

          สุเทพ เทือกสุบรรณ เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 มีบิดาชื่อ นายจรัส เทือกสุบรรณ กำนันตำบลท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี และนางละม้าย เทือกสุบรรณ มีพี่น้องทั้งหมด 7 คนโดยนายสุเทพ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะศิลปศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Middle Tennesse State ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2518

          ภายหลังจากการจบการศึกษาระดับปริญญาโท นายสุเทพตัดสินใจเข้าสู่วงการการเมืองระดับท้องถิ่น ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งกำนันตำบลท่าสะท้อนต่อจากบิดา และสามารถเอาชนะการเลือกตั้งได้สำเร็จ เป็นกำนันดีกรีปริญญาโท ตั้งแต่อายุ 26 ปีเท่านั้น
 


 ชีวิตครอบครัวของสุเทพ เทือกสุบรรณ


ครอบครัวสุเทพ เทือกสุบรรณ

ครอบครัวสุเทพ เทือกสุบรรณ (ลูกที่เกิดจากภรรยาคนแรก)

ครอบครัวสุเทพ เทือกสุบรรณ (ลูกที่เกิดจากภรรยาคนแรก)

ครอบครัวสุเทพ เทือกสุบรรณ (ลูกที่เกิดจากภรรยาคนแรก)


          นายสุเทพ แต่งงานกับภรรยาคนแรก คือ นางจุฑาภรณ์ เทือกสุบรรณ มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือนายแทน เทือกสุบรรณ, นางสาวน้ำตาล เทือกสุบรรณ และนางสาวน้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ ต่อมา เมื่อนางจุฑาภรณ์เสียชีวิตลง นายสุเทพจึงต้องกลายเป็นพ่อหม้าย ภายหลัง นายสุเทพ จึงได้แต่งงานกับนางศรีสกุล พร้อมพันธุ์ น้องสาวของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์


แทน เทือกสุบรรณ

แทน เทือกสุบรรณ

น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ

น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ

ลูกสาวสุเทพ เทือกสุบรรณ

น้ำตาล - น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ

น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ

น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ

ครอบครัวสุเทพ เทือกสุบรรณ


        ในส่วนของลูก ๆ ของนายสุเทพนั้น นายแทน เทือกสุบรรณ ซึ่งเป็นลูกชายคนโต จบการศึกษาปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์ จากเมลเบิร์นยูนิเวอร์ซิตี้ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม และเคยตกประเด็นทางการเมืองกรณีการถือครองที่ดินบนเกาะสมุย ส่วนน้ำตาล และน้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ ไม่ได้มีบทบาทในทางการเมือง แต่เคยปรากฏตัวในแวดวงสังคมอยู่ประปราย



 รู้จัก ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ นายหญิงใหญ่แห่งบ้านสุเทพ เทือกสุบรรณ

สุเทพ เทือกสุบรรณ ศรีสกุล พร้อมพันธุ์

ครอบครัวสุเทพ เทือกสุบรรณ

ครอบครัวสุเทพ เทือกสุบรรณ
ครอบครัวสุเทพ เทือกสุบรรณ



          นางศรีสกุล พร้อมพันธุ์ ปัจจุบันอายุ 58 ปี จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในสมัยที่เรียนอยู่ นางศรีสกุล เคยได้รับตำแหน่งดาวจุฬาฯ ภายหลัง ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ ได้ลงเล่นการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2531 พร้อมกับพี่ชาย คือ นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ แต่เล่นการเมืองเพียงสมัยเดียวเท่านั้น นางศรีสกุล ก็หันหลังไปทำธุรกิจส่วนตัวด้านอสังหาริมทรัพย์แทน

          ด้านชีวิตสมรส นางศรีสกุล เคยสมรสกับ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ พรรคประชาธิปัตย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายสิทธิพัฒน์ เตชะไพบูลย์ (โขง), นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ (ขิง) และ นางสาวธีราภา พร้อมพันธุ์ (เข็ม) กระทั่งหย่าร้างกัน นางศรีสกุล จึงได้มาใช้ชีวิตกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ


เอกนัฏ พร้อมพันธุ์

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์

ลูกสาวสุเทพ เทือกสุบรรณ

เข็ม ธีราภา พร้อมพันธุ์

ครอบครัวสุเทพ เทือกสุบรรณ

ครอบครัวสุเทพ เทือกสุบรรณ


          ในจำนวนลูก ๆ ทั้ง 3 คนของนางศรีสกุลนี้ มีเพียง นายเอกนัฏ ที่เข้าสู่วงการการเมือง โดย นายเอกนัฏ จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และบริหารธุรกิจ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แล้วกลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นก็ตัดสินใจเข้าสู่การเมืองด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 29 (หนองแขม-ทวีวัฒนา) เมื่อปี 2554 จนได้รับเลือกตั้ง ถือเป็น ส.ส. ที่อายุน้อยที่สุด ด้วยวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น


 สุเทพ เทือกสุบรรณ กับเส้นทางการเมือง

          หลังจากเป็นกำนันอยู่หลายปี ในที่สุด นายสุเทพก็ตัดสินใจขยับไปสู่การเมืองระดับประเทศ ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อ ปี พ.ศ. 2522 ซึ่งนายสุเทพก็สามารถชนะใจประชาชน ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ตั้งแต่บัดนั้น จนถึงวันนี้นายสุเทพก็ได้รับเลือกเป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ติดต่อกันมากกว่า 10 สมัยแล้ว
          ส่วน การดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกของนายสุเทพ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 ในยุครัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดยนายสุเทพ ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้ดำรงตำแหน่งนี้อีกครั้งใน พ.ศ. 2535 ยุครัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยแรก นอกจากนี้ นายสุเทพ ยังดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2540 ยุครัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่สอง



 สุเทพ เทือกสุบรรณ ทรัพย์สิน เรื่อง สปก.4-01

          ถ้าใครติดตามแวดวงการเมืองมาพอสมควร คงจะจดจำเรื่อง "สปก.4-01" ได้เป็นอย่างดี จนดูเหมือนเป็นข้อครหาที่ติดตัวนายสุเทพไปเสียแล้ว เพราะมักจะถูกฝ่ายตรงข้ามหยิบยกขึ้นมาโจมตีในทางการเมืองอยู่เสมอ

          โดย เรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ นายสุเทพ ดำรงตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ สมัยที่สอง ครั้งนั้น นายสุเทพถูกนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในขณะนั้น เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่อง การทุจริตแจกที่ดินทำกินแก่เกษตรกร (สปก.4-01) จนทำให้นายชวน ต้องตัดสินใจยุบสภาก่อนที่จะมีการลงมติ และหลังจากการยุบสภาครั้งนั้น นายบรรหาร ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ก็กลับไปเป็นฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตาม เรื่อง สปก.4-01 นี้ นายสุเทพไม่เคยถูกฟ้องร้องถึงชั้นศาลแต่อย่างใด แม้ว่าจะถูกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ตาม


ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ
 สุเทพ เทือกสุบรรณ - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

 สุเทพ เทือกสุบรรณ กับบทบาทในพรรคประชาธิปัตย์

          นายสุเทพเริ่มมีบทบาทสำคัญใน พ.ศ. 2542 ด้วยการดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค ก่อนที่ใน พ.ศ. 2546 จะได้เป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นเลขาธิการพรรค ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์ มีการปรับโครงสร้างพรรคใหม่ ใช้บุคคลรุ่นใหม่ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นต้น เพื่อสู้กับพรรคคู่แข่งอย่างพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้เป็นพรรคแรก โดยที่ผลงานของนายสุเทพในช่วงแรกของการเป็นเลขาธิการพรรคนั้น เป็นผู้ที่รวบรวมข้อมูลยื่นฟ้องพรรคไทยรักไทย และทำให้พรรคไทยรักไทย ถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรค พร้อมกับตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 111 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี



 สุเทพ เทือกสุบรรณ บทบาทการจัดตั้งรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

          ภายหลังการเลือกตั้งใหญ่ พ.ศ. 2551 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี ถึง 2 ครั้งในรอบไม่กี่เดือน ได้แก่ นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จากพรรคพลังประชาชน โดยเมื่อพรรคพลัง ประชาชนถูกตัดสินยุบพรรคในเดือนธันวาคม 2551 ทำให้การเมืองไทยเกิดภาวะสุญญากาศ นายสุเทพ ก็เป็นผู้ประสานงานดึงพรรคร่วมรัฐบาลของพรรคพลังประชาชนอย่างพรรคชาติไทย พัฒนาและพรรคภูมิใจไทยมาร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์เป็นผลสำเร็จ โดยที่นายสุเทพ ก็ดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง

          ทั้งนี้ ระหว่างที่พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาล นายสุเทพก็ลาออกจากการเป็น ส.ส. ปี พ.ศ. 2552 เนื่องจากติดปัญหาการถือครองหุ้น แต่ยังคงเป็นรองนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม กระทั่งในปี พ.ศ. 2553 นายสุเทพก็ได้ลาออกจากรองนายกรัฐมนตรี เพื่อไปสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.สุราษฎร์ธานี แทนตำแหน่งที่ว่างลง ซึ่งเรื่องดังกล่าว หลายฝ่ายวิเคราะห์กันว่า ช่วงนั้นพรรคประชาธิปัตย์กำลังอยู่ในขั้นตอนที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรค นายสุเทพจึงต้องเป็น ส.ส. เพื่อที่เป็นนายกรัฐมนตรีสำรอง หากพรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบจริง แต่ผลสุดท้ายคือ ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ รอดจากการถูกยุบพรรคมาได้



 สุเทพ เทือกสุบรรณ ตำแหน่งผู้อำนวยการ ศอฉ. และการชุมนุมของ นปช.

          ในช่วงปี 2553 ที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาชุมนุมกันกลางกรุงเทพมหานครเพื่อขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ ในตอนนั้น นายสุเทพ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ได้ตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ขึ้น เพื่อรับมือการชุมนุมของกลุ่ม นปช. พร้อมกับนั่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ศอฉ. ก่อนที่ภายหลังเจ้าหน้าที่จะสามารถกระชับพื้นที่ผู้ชุมนุมที่สี่แยกราช ประสงค์ได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีคนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก

          แม้สถานการณ์การชุมนุมจะสงบลง แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะยิ่งร้อนแรงขึ้น เมื่อนายสุเทพถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตีด้วยถ้อยคำที่ว่า "สั่งฆ่าประชาชน" แต่นายสุเทพก็ตระเวนชี้แจงตามเวทีการปราศรัยต่าง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นในเหตุการณ์ช่วงนั้น กระทั่งเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 นายสุเทพ พร้อมด้วยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษสั่งฟ้องในคดีร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าคน ตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ซึ่งทั้งสองคนได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และขอต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมต่อไป


ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ
 สุเทพ เทือกสุบรรณ  

 สุเทพ เทือกสุบรรณ ลาออกจาก ส.ส. เป็นแกนนำคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

          ภายหลังจากที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ยุบสภาใน พ.ศ. 2554 และมีการเลือกตั้งใหม่ ผลปรากฏว่า พรรคเพื่อไทย เป็นฝ่ายได้จัดตั้งรัฐบาล ผลักพรรคประชาธิปัตย์ให้ไปเป็นฝ่ายค้าน ซึ่งพรรคเพื่อไทยก็ได้บริหารประเทศไปได้ 2 ปี (พ.ศ. 2556) แต่สถานการณ์ทางการเมืองก็เริ่มร้อนระอุขึ้นเรื่อย ๆ จากกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจกับนโยบายการบริหารของรัฐบาล ที่ใช้ประชานิยมเต็มรูปแบบทำให้เกิดภาวะขาดทุนทางการคลัง เช่น โครงการรับจำนำข้าว, โครงการรถคันแรก, โครงการรถไฟความเร็วสูง กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท

          อย่างไรก็ตาม ฟางเส้นสุดท้ายของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลได้แก้ไข เนื้อหา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จากที่นิรโทษกรรมแก่ประชาชน กลายเป็นนิรโทษกรรมแกนนำ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ในคดีทุจริตต่าง ๆ ส่งผลให้นายสุเทพ ได้ประกาศจัดการชุมนุมขึ้น ณ สถานีรถไฟสามเสน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2556 และในคืนนั้นเอง สภาผู้แทนราษฎรก็สามารถลงมติ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับดังกล่าว วาระ 2 และ 3 ภายในคืนเดียว เสร็จสิ้นทุกขั้นตอนภายในเวลา 04.30 น. ของวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556

          ต่อมาวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 นายสุเทพ ในฐานะแกนนำผู้ชุมนุม ได้ประกาศย้ายสถานที่ชุมนุมจากสถานีรถไฟสามเสน มาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมกับเดินหน้าคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 นายสุเทพ พร้อมกับ 8 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. และประกาศมาตรการอารยะขัดขืน เพื่อกดดันรัฐบาล เช่น การหยุดงาน การยุดเรียน การเลื่อนจ่ายภาษี เป็นต้น

          วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 นายสุเทพ ได้ประกาศยกระดับการชุมนุมขึ้น จากคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นต่อต้านระบอบทักษิณ ได้แก่ การล่ารายชื่อถอดถอน ส.ส. 310 คน ที่ลงมติให้ผ่าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม, การต่อต้านสินค้าในเครือทักษิณ และการชวนข้าราชการหยุดงานทั้งประเทศ เป็นต้น อีกทั้งยังได้ประกาศรวมพล 1 ล้านคน ล้างระบอบทักษิณ และปฏิรูปประเทศไทย ในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้


ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ
 สุเทพ เทือกสุบรรณ  

 ฉายาของสุเทพ เทือกสุบรรณ

          นายสุเทพ มีฉายาที่ค่อนข้างคุ้นหูประชาชนอยู่ก็คือ เทพเทือก ซึ่งมาจากการนำตัวสุดท้ายของชื่อ "สุเทพ" และตัวแรกของนามสกุล "เทือกสุบรรณ" มารวมกันนั่นเอง นอกจากนี้ บางครั้งก็ยังมีคนเรียกนายสุเทพว่า "กำนันสุเทพ" อีกด้วย เนื่องจากติดมาจากช่วงที่นายสุเทพเป็นกำนันสมัยลงเล่นการเมืองท้องถิ่น

          ส่วนฉายาของนายสุเทพ ตอนดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ก็ได้รับฉายาจากผู้สื่อข่าวสายทำเนียบรัฐบาล ดังนี้

           ปี 2552 ได้รับฉายาว่า แม่นมอมทุกข์ เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอภิสิทธิ์กลับบริหารประเทศได้ไม่ดีตามความคาดหวัง มัวแต่ไปเอาใจพรรคร่วมรัฐบาล สร้างความหนักอกหนักใจแก่นายสุเทพเป็นอย่างยิ่ง

           ปี 2553 ได้รับฉายา ทศกัณฑ์กรำศึก เนื่องจากทำศึกหลายด้าน ทั้งหน้าที่เป็นแม่บ้านพรรค, คดีครอบครองที่ดินเขาแพง รวมถึงคดีถือหุ้น แต่สุดท้ายนายสุเทพก็รอดมาได้ดุจดั่งทศกัณฑ์ที่ทำศึกรอบด้าน



 วาทะเด็ดของสุเทพ เทือกสุบรรณ

          นอกจาก 2 ประโยคเด็ดที่นายสุเทพ กล่าวในที่ชุมนุมว่า "หากล้มรัฐบาลไม่ได้ จะผูกคอตาย"และ "สิ่งหนึ่งที่ผมไม่เคยทำ คือ ทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดชีวิตนักการเมือง" แล้ว ในช่วงการเลือกตั้งใหญ่ พ.ศ. 2554 นายสุเทพเคยประกาศไว้ก่อนการเลือกตั้งด้วยว่า "หากพรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง ผมจะยอมมุดดิน" ซึ่งผลการเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็แพ้ให้แก่พรรคเพื่อไทย


ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ
 สุเทพ เทือกสุบรรณ  

 ตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดของสุเทพ เทือกสุบรรณ

           พ.ศ. 2524 - เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
           พ.ศ. 2524-2526 - เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
           พ.ศ. 2526-2529 - เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
           พ.ศ. 2529-2531 - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
           พ.ศ. 2535-2537 - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
           พ.ศ. 2540-2543 - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
           พ.ศ. 2551-2554 - รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง



          ทั้งหมดนี้ก็คือประวัติของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะแกนนำผู้ชุมนุมค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร การชุมนุมจะออกมาเป็นรูปแบบใด คาดว่าไม่เกินเดือนพฤศจิกายนคงจะรู้คำตอบ



สุเทพ เทือกสุบรรณ บุรุษผู้ลุกขึ้นสู้ นำประชาต้านทุนสามานย์


1463416_704724492873369_1752329404_n.jpg


เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่รู้ของ กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ ชายผู้ไม่ยอมแพ้ แม้ถูกหยัน
 
ต้นตระกูลของกำนันสุเทพ สมัยสงครามเก้าทัพ พ.ศ. 2328 เป็นทหารเอกในกรมพระราชวังบวร(วังหน้า) ยกทัพมาตีเมืองท่าทอง(ปัจจุบันคือสุราษฏร์ฯ)คืนจากพม่า ชื่อนายสม พอวังหน้าตีเมืองคืนได้ ก็มอบหมายนายสมเป็นเจ้าเมือง ต่อมาได้รับตำแหน่ง พระวิสูตรสงครามรามภักดี เมื่อเสียชีวิตลง ลูกชายคนที่4 ชื่อเดชก็เป็นเจ้าเมืองสืบต่อมา ได้รับตำแหน่ง หลวงเทพพิทักษ์สุนทร(เดช)เจ้าเมืองท่าทอง ลูกชายหลวงเทพพิทักษ์(เดช)คนโต ชื่อนายครุฑ เป็นต้นตระกูลเทือกสุบรรณ สืบต่อมาอีก 3 รุ่น ก็มาเป็นลุงกำนันสุเทพของพวกเรา

ลุงกำนันเดินแขนงอๆ เหมือนกร่างๆ เพราะตอนเด็กประสบอุบัติเหตุ ตกเกวียน แขนหัก แล้วไปรักษากับหมอพื้นบ้าน รักษาผิดวิธี แขนขวาเลยยืดได้ไม่เกิน 90 องศา เป็นเหตุให้แกไม่เชื่อหมอพื้นบ้านอีกเลย ตอนขึ้นเวทีประชาชนราชดำเนิน เขาบอกให้ยกมือขวาแบบไมโครหน่อย แกบอกว่ายกได้แค่นี้ครับ

กำนัน สุเทพสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยในขณะที่ศึกษาอยู่ได้รับการเลือกให้เป็นประธานนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และ ได้พบกับ คุณจุฑาภรณ์ ครองบุญ ภรรยาคนแรกที่นั่นเอง

กำนันสุเทพไปศึกษาต่อที่อเมริกาโดยบอกพ่อ(กำนันจรัส)ว่าได้ทุนไปเรียน แต่จริงๆมีเพียงค่าเครื่องบิน เมื่อลงเครื่องก็ไปล้างจานเพื่อ หาค่าเทอมเลย แล้วทำงานสองกะต่อวัน(16 ชั่วโมง) เช่น โรงงานชำแหละเนื้อ โรงงานทำกระเป๋า ฯลฯ โดยไม่มีวันหยุดจน สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518

หลังจากสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโทกลับมา กำนันสุเทพได้ลงสมัครรับเลือก ตั้งเป็น กำนันตำบลท่าสะท้อน ต่อจากกำนันจรัส ผู้เป็นบิดา และชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้เป็นกำนัน ขณะมีอายุเพียงประมาณ 26 ปี โดยมีวุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาโทจากเมืองนอก ขณะที่ประเทศไทยในช่วงนั้น รัฐมนตรีบางกระทรวง ยังจบการศึกษา แค่ประถมศึกษาปีที่ 4 นับเป็นกำนันปริญญาโท คนแรกของประเทศไทย

ต่อมากำนันสุเทพตัดสินใจลงเล่นการเมืองระดับประเทศ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ รองนายกรัฐมนตรี

ภรรยาคนแรกของกำนันเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งด้วยอายุเพียง 39 ปีทิ้งให้กำนันเป็นทั้งพ่อและแม่ ดูแลลูกๆ 3 คน มาโดยตลอด หลังจากภรรยาเสียชีวิต ได้ไปบวชเรียนที่สวนโมกขพลาราม 40 วัน โดยมีท่านพุทธทาส ภิกขุ เป็นอาจารย์ และ ยังคงปฎิบัติเป็น "ศิษย์สวนโมกข์" อย่างสม่ำเสมอ

สมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำนันสุเทพถูกพรรคฝ่ายค้านคือพรรคชาติไทย ที่มีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค เปิดอภิปรายเรื่องการแจกที่ดินทำกินแก่เกษตรกร หรือที่เรียกกันว่า สปก.4-01 กำนันสุเทพลาออกจากรัฐมนตรีเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหากับ ป.ป.ช โดย ป.ป.ช ในยุคนั้นได้ตัดสินเป็นเอกฉันท์ 9-0 ว่ากำนันไม่มีความผิด และไม่เคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลเกี่ยวกับกรณี สปก.4-01 แต่อย่างใด แต่ยังคงมีการนำกรณีดังกล่าว มาอ้างอิงเพื่อโจมตีทางการเมืองต่อสุเทพและพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด

กำนันสุเทพเป็นคนชอบการอ่านหนังสือเป็นอย่างยิ่ง และมีความสามารถในการอ่านหนังสือได้ทุกที่ และรวดเร็วมาก (2-3 เล่มต่อหนึ่งสัปดาห์เป็นอย่างน้อย) หนังสือที่อ่านมีทุกประเภท ตั้งแต่หนังสือวิชาการ นักสือการเมืองไปจนถึงหนังสือนิยายเด็กอย่างแฮร์รี่ พ๊อตเตอร์ เป็นที่มาของการใช้ภาษาบนเวทีปราศรัยได้อย่างถูกต้อง ส่วนหนังสือที่ชอบมากที่สุดได้แก่หนังสือนิยายกำลังภายในจีน คาดว่าจะเป็นที่มาของคำว่า "ผมขอคารวะ" ก่อนการปราศรัยบนเวทีประชาชน



เพิ่งสังเกตเห็น ไม่เสียแรงที่เชียร์ลุง

2013-11-28-09-44-26.png

สุเทพ เทือกสุบรรณ สมัยไปเรียนหนังสือในสหรัฐฯ

1483357_633615276674451_745767514_n.jpg